เศรษฐกิจไทยแย่ลงตั้งแต่ต้นปี 2019 ทั้ง GDP โตต่ำ 3% เครื่องยนต์หลักอย่างการส่งออกติดลบต่อเนื่อง 5 เดือนแล้วภาครัฐที่เร่งการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทยจะได้ผลไหม?
งบลงทุนด้านคมนาคมขนส่ง 3 ล้านล้านบาท ประเทศไทยจะได้อะไรบ้าง?
พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส สายงาน Global Business Development and Strategy ธนาคารกรุงไทย บอกว่า เมื่อเครื่องยนต์เศรษฐกิจอย่างการส่งออกของไทย ติดลบต่อเนื่อง GDP เติบโตช้าลง ทำให้ความหวังของประเทศอยู่ที่การลงทุนของภาครัฐ เพราะเมื่อภาครัฐมีความชัดเจนเรื่องการลงทุน จะดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากเอกชน และเงินลงทุนจากต่างประเทศได้ด้วย
ดังนั้น 5 ปีที่ผ่านมา 2015-2019 รัฐบาลไทยตั้งงบการลงทุนด้านคมนาคมขนส่ง 76 โครงการ วงเงินรวม 3 ล้านล้านบาท ได้แก่
- รถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง วงเงิน 1.1 ล้านล้านบาท
- รถไฟขนส่งมวลชน 12 เส้นทาง วงเงิน 669,348 ล้านบาท
- รถไฟทางคู่ 13 เส้นทาง วงเงิน 545,966 ล้านบาท
- ถนนทางหลวงพิเศษและทางพิเศษ 11 เส้นทาง วงเงิน 368,991 ล้านบาท
- ระบบขนส่งทางอากาศ 11 โครงการ วงเงิน 153,597 ล้านบาท
- รถไฟชานเมือง 4 เส้นทาง วงเงิน 68,386 ล้านบาท
- ระบบทางน้ำ 9 โครงการ วงเงิน 56,416 ล้านบาท
- สิ่งอำนวยความสะดวกทางถนน 9 เส้นทาง วงเงิน 25,029 ล้านบาท
- การพัฒนารถโดยสารสาธารณะ 2 โครงการ วงเงิน 2,202 ล้านบาท
- ระบบบริหารจัดการการขนส่งสาธารณะ 1 โครงการ วงเงิน 737 ล้านบาท
งบลงทุน 3 ล้านล้านบาทจะเข้าสู่เศรษฐกิจไทยเมื่อไร?
มานะ นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการฝ่าย สายงาน Global Business Development and Strategy ธนาคารกรุงไทย บอกว่า ต้องยอมรับว่าแรงกระตุ้นจากภาครัฐยังมีจำกัด แม้จะมีมาตรการช่วยเหลือผู้มี
ในครึ่งปีหลัง 2019 นี้ตามแผนงานของภาครัฐคาดว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนด้านคมนาคม 200,000 ล้านบาท แต่จากการศึกษาเจาะลึกของธนาคารฯ คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายจากภาครัฐเพียง 77,000 ล้านบาท คิดเป็น 0.1% ของ GDP ไทยเท่านั้น ถือว่าน้อยกว่าแผนงานที่รัฐบาลตั้งไว้ แต่ก็คาดว่าในปีถัดๆ ไปเม็ดเงินลงทุนฯ และการเบิกจ่ายของภาครัฐจะเพิ่มขึ้น
แต่ต้องจับตามองงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ที่จะต้องอนุมัติในปีนี้ ซึ่งแนวโน้มอาจจะเบิกจ่ายไม่เต็มที่ในช่
“เม็ดเงินจากการลงทุนโครงการมีแนวโน้มช้ากว่าประมาณการ เพราะหลายสาเหตุ เช่น ติดปัญหา EIA (Environmental Impact Assessment Report-การทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม) ติดปัญหาการเวนคืนที่ดิน”
อย่างไรก็ตามครึ่งปีหลังนี้จากเม็ดเงินลงทุนของภาครัฐก้อนใหญ่ของภาครัฐ ส่วนใหญ่ประมาณ 50,000 ล้านบาทจะกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่กรุงเทพ ภาคกลางตอนบน และภาคกลางตอนล่าง ส่วนอีก 3 ปีข้างหน้าเม็ดเงินลงทุนด้านคมนาคมของภาครัฐจะหันไปเน้นที่พื้นที่ภาคกลางตอนบน ภาคกลางตอนล่าง และภาคเหนืออีสานตอนล่าง
ทั้งนี้คาดการณ์ว่าปี 2020 เศรษฐกิจไทยจะเติบโตที่ 3.6% โดยมีปัจจัยฉุดรั้งการเติบโต ได้แก่ หนี้ครัวเรือนสูง และมีปัจจัยบวกคือ การลงทุนเอกชน การลงทุนภาครัฐ และการส่งออกคาดว่าจะเติบโต 2.5% จากปี 2019 คาดว่าจะติดลบที่ 0.8%
สรุป
ความหวังของไทยในปีนี้มาจากการลงทุนภาครัฐ เพราะเมื่อการเมืองยังไม่ชัดเจน การส่งออกได้รับผลกระทบจาก Trade war ประเทศไทยยังมีหนี้ครัวเรือนสูง แต่หากภาครัฐลงทุนได้ทันเวลา ผสมกับมาตรการดูแลผู้มีรายได้น้อยที่ออกมาก่อนหน้า หลายฝ่ายมองว่าจะทำให้ประชาชนหลายพื้นที่ในไทยจะมีรายได้มากขึ้น และทำให้เครื่องยนต์การบริโภคภาคเอกชนซึ่งรวมถึงประชาชนใช้จ่ายมากขึ้น และช่วยฉุดเศรษฐกิจไทยให้ดีขึ้นบ้าง
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา