สำรวจข้อมูลผู้ก่อตั้งสตาร์ตอัพไทยปี 2016 โดยสมาคม VC ไทย

Cover-Thai-Startup-Founders-Survey-2016

สมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Thai Venture Capital Association) หรือสมาคม VC ไทย สำรวจข้อมูลของผู้ก่อตั้งสตาร์ตอัพในประเทศไทยจำนวน 30 ราย เพื่อเก็บเป็นสถิติให้เห็นแนวโน้มของธุรกิจสตาร์ตอัพในไทย

ข้อมูลของ “ผู้ก่อตั้งสตาร์ตอัพ” (Startup Founders)

  • เพศ: ชาย 93.3% หญิง 6.7%
  • อายุ: กลุ่มที่เยอะที่สุดคือ 30-39 ปี (60%) ตามด้วย 26-29 ปี (30%)
  • ระดับการศึกษา: ปริญญาโท 50% ไล่เลี่ยกับปริญญาตรี 46.70%
  • ประวัติการทำธุรกิจ: เคยทำธุรกิจประสบความสำเร็จมาก่อน 23.30%, เคยทำธุรกิจแต่ล้มเหลว 16.70%, เคยทำธุรกิจทั้งสำเร็จและล้มเหลว 36.70%, ไม่เคยทำธุรกิจมาก่อนเลย 20%
  • อาชีพก่อนมาทำสตาร์ตอัพ: เจ้าของธุรกิจ 46.70%, พนักงาน/ลูกจ้าง 33.30%, ธุรกิจของครอบครัว 13.30%, เพิ่งจบการศึกษา 3.30%
  • พื้นเพการศึกษา (เฉพาะของ CEO): วิศวกรรม (30%), วิทยาศาสตร์ (16.70%), ธุรกิจ-การเงิน (30%), เศรษฐศาสตร์ (10%)
  • เหตุผลหลักที่มาเปิดสตาร์ตอัพ: หาโอกาสธุรกิจ (60%), ต้องการแก้ปัญหาที่ตัวเองพบ (56.70%)

รายชื่อสตาร์ตอัพที่สมาคม VC สำรวจข้อมูลรายชื่อสตาร์ตอัพที่สมาคม VC สำรวจข้อมูล

ข้อมูลของตัวบริษัทสตาร์ตอัพที่สำรวจ

  • ประเทศที่จดทะเบียนนิติบุคคล: ไทย 66.70%, สิงคโปร์ 23.30%, สหรัฐอเมริกา 6.70%
  • ระดับการรับเงินทุน: Series B 6.70%, Series A 23.30%, Pre-Seed/Seed/Pre-series A มากที่สุดคือ 70%
  • กลุ่มอุตสาหกรรมของสตาร์ตอัพ: ไลฟ์สไตล์ มากที่สุด 33.30%, ตามด้วยคอมเมิร์ซ 23.30%, FinTech 17%
  • ประเทศที่ทำตลาด: ไทยอย่างเดียว 60%, ไทยและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 30%, ไทยและประเทศอื่นนอกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10%
  • จำนวนผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท: กลุ่มที่พบมากที่สุดคือ 2-3 คน (50%), 4 คนขึ้นไป (36.70%), ทำคนเดียว (13.30%)
  • ผู้ก่อตั้งยังอยู่กับบริษัทครบทุกคนหรือไม่: ยังอยู่ (73.30%), ไม่ครบแล้ว (26.70%)
  • มีผู้ร่วมก่อตั้งเป็นคนสายเทคนิคหรือไม่: มี (83.30%) ไม่มี (16.70%)
  • เคยเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสตาร์ตอัพของรัฐบาลหรือไม่: เคยและไม่เคย อย่างละเท่ากัน 50%
  • วิธีการหาระดมเงินทุนก้อนแรก: เงินส่วนตัว (bootstrap) 50%, เครือข่ายคนรู้จัก (26.70%), หาจากงานอีเวนต์ (16.70%)

มุมมองต่อวงการสตาร์ตอัพไทย

  • ปัญหาที่สำคัญที่สุดของสตาร์ตอัพไทย: ขาดแคลนวิศวกร (76.70%), ภาครัฐยังไม่เข้าใจ (40%), โครงสร้างพื้นฐาน (40%), ขาดแคลนเงินทุน (33.30%)

ตัวเอกสารฉบับเต็ม ดูได้จากสไลด์ด้านล่าง

Thai Startup Founders Survey 2016 from Thai Venture Capital Association

ข้อมูลจาก Thai Venture Capital Association

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา