อาการหนัก! ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมต่ำสุดในรอบ 17 เดือน ผลิตรถยนต์หดตัวสุดในรอบ 5 ปี

ผลการสำรวจ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2562 อยู่ที่ 91.2 ปรับตัวลดลงจากระดับ 92.1 ในเดือนกันยายน ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 17 เดือน นับตั้งแต่มิถุนายน 2561 เป็นต้นมา 

สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม พบว่า ผู้ประกอบการยังคงมีความกังวลกำลังซื้อในส่วนภูมิภาคที่ยังชะลอตัว และผู้ประกอบการ SMEs ประสบปัญหาด้านการเงิน 

เนื่องจากสถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น รวมทั้งสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนยังคงยืดเยื้อ การแข็งค่าของเงินบาททำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง

ผลการสำรวจครั้งนี้ สำรวจจากผู้ประกอบการ 1,211 รายทั่วประเทศในเดือนตุลาคม 

  • ผู้ประกอบการ 75.1% ยังคงกังวลปัญหาสภาวะเศรษฐกิจโลก
  • 58.4% มีความกังวลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อเหรียญสหรัฐ)

ในมุมผู้ส่งออก ผู้ประกอบการมีความกังวลลดลง 

  • ราคาน้ำมัน
  • การเมืองในประเทศ
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 43.8, 36.5 และ 21.0 ตามลำดับ

ในเดือนนี้ ผู้ประกอบการส่งออกมียอดขายและคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับผลดีจากการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเพื่อใช้ในเทศกาลช่วงปลายปีโดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่นและอาหาร ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐผ่านโครงการชิมช้อปใช้ส่งผลดี ต่อยอดขายสินค้าอุปโภค บริโภค

ดัชนีฯ คาดการณ์​ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลง อยู่ที่ระดับ 102.9 ลดลงจากระดับ 103.4 ในเดือนกันยายน 

สุรพงษ์​ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

นอกจากนี้ ยังเผยตัวเลขการผลิตรถยนต์ในประเทศประจำเดือนตุลาคม พบว่า 

  • ยอดขายอยู่ที่ 77,121 คัน ลดลง 11.3% 
  • รถกระบะขนาด 1 ตัน ที่เป็นตัวบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจในต่างจังหวัด ลดลง 13.10% 
  • รถยนต์นั่งลดลง 7.60%
  • รถ PPV หรือรถครอบครัว ซึ่งเป็นคนกลุ่มมีเงิน ลดลง 25.5%

ยอดส่งออกมีจำนวน 85,552 คัน 

  • ลดลง 8.34%
  • ยอดการผลิตรถยนต์ทั้งระบบ หดตัวมากถึง 22.5% จากปีก่อน และมากที่สุดในรอบ 5 ปี 
  • ผลิตได้ 152,787 คัน

สุรพงษ์​ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าว สาเหตุหลักมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และการเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน หลังหนี้ครัวเรือนพุ่งสูง 

ขณะที่ตลาดส่งออกได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ส่งผลให้ตลาดรถยนต์หดตัวมากกว่า 5% แต่ยังหวังว่าปลายปีนี้ที่จะมีงานมอเตอร์เอ็กซ์โปร์ ยอดขายในประเทศจะพลิกกลับมาเป็นบวกได้ 

เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความไม่แน่นอน ปัญหา Brexit รวมทั้งการที่ไทยถูกสหรัฐฯ ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) กำลังมีผลบังคับใช้ปี 2563 ทำให้สินค้าส่งออกของไทยราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง 

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ดังนี้

  1. ให้ความรู้ผู้ประกอบการเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือบริหารจัดการความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ที่แบงก์ชาติประกาศเรื่องปรับปรุงกฎเกณฑ์เพื่อเอื้อให้เงินทุนไหลออกและลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาท
  2. เร่งการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย- EU
  3. เร่งการลงทุนภาครัฐเพื่อให้เกิดการลงทุนต่อเนื่องของภาคเอกชน อันจะส่งผลต่อห่วงโซ่มูลค่าของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) 
  4. ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการใช้จ่ายในประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อชดเชยภาคการส่งออกที่ชะลอตัวจากผลกระทบของเศรษฐกิจโลก
  5. เร่งการเจรจาขอคืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) กับสหรัฐฯ​

ที่มา – สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, Trinity Securities, BEC Tero

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา