คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เห็นชอบร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ ฉบับสมบูรณ์ภายใต้แนวคิด “ล้มแล้วลุกไว” เป้าหมายเพื่อให้คนสามารถยังชีพอยู่ได้ มีงานทำ กลุ่มเปราะบางได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง สร้างอาชีพและกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น เศรษฐกิจประเทศฟื้นตัวเข้าสู่ภาวะปกติและมีการวางรากฐานเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่มี 3 มิติการพัฒนา
โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ครั้งที่ 3/2563 ร่วมกับ ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมมนตรี วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เผยผลการประชุม ดังนี้
- การเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
- ความก้าวหน้าการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศผ่านระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ
- การจัดตั้งศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- หลักสูตรยุทธศาสตร์ชาติ ให้มีการขยายผลการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Massive Open Online Course: MOOCs) วิชายุทธศาสตร์ชาติสำหรับกลุ่มเป้าหมายนิสิต นักเรียน นักศึกษา นอกจากนี้ ต้องเร่งสร้างการตระหนักรู้ให้กับข้าราชการทุกระดับต่อไป เพื่อให้การแปลงยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติสามารถเป็นไปได้อย่างบูรณาการต่อไป
3 มิติการพัฒนา ให้ประเทศมีการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ประกอบด้วย
- มิติการพร้อมรับ (cope)
- การปรับตัว (Adapt)
- การเปลี่ยนแปลงเพื่อพร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน (Transfrom)
เพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสสำหรับพัฒนาประเทศต่อไป ซึ่งจะทำให้ประเทศมีการพัฒนาที่สดุลและยั่งยืนภายใต้หลัก 3 ขั้นการพัฒนา ได้แก่ การอยู่รอด, พอเพียง และยั่งยืน
โดยประเด็นการพัฒนาประกอบด้วย 4 ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษในระยะ 2 ปีข้างหน้า ได้แก่ (1) เสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ลดความเสี่ยงพึ่งพาต่างประเทศ, (2) ยกระดับขีดความสามารถของประเทศ รองรับการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว ส่งเสริมอุตสาหกรรมและบริการที่มีโอกาสและศักยภาพภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงและบริบทใหม่, (3) พัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตคนให้เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ และ (4) ปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ ให้สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลต่อศักยภาพของประเทศ
ที่มา – ทำเนียบรัฐบาล
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา