ประชากรไทย 15% เป็นผู้สูงวัย เกิน 80% มีเงินออมไม่พอใช้หลังเกษียณ

ไทยกำลังก้าวสู่สังคมสูงวัย ทั้งประเทศมีผู้สูงอายุมากถึงประมาณ 15% จากการสำรวจของศูนย์วิจัยธนาคารออมสินพบว่าคนไทยมีชีวิตหลังเกษียณเงินไม่พอใช้ ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง

ภาพรวมการออมของไทยขยายตัวชะลอลง เงินฝากขยายตัวลดลง ขณะที่การออมเพื่อการลงทุนในกองทุนและเงินสำรองประกันภัยขยายตัวขึ้น เนื่องจากผลตอบแทนสูงกว่า 

ภาพรวมเงินฝากและเงินออมเพื่อการลงทุน ประกอบด้วย 

  • เงินฝากสะสมในสถาบันรับฝากเงินอยู่ที่ 18.0 ล้านล้านบาท (58.7%) (ขยายตัว 3.4%)
  • เงินออมเพื่อการลงทุน 9.9 ล้านล้านบาท (32.0%) (ขยายตัว 9.0%)
  • เงินสำรองประกันภัย 2.7 ล้านบาท (9%) (ขยายตัว 7.4%)

ไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ตามเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติ (UN) กำหนดไว้ว่า สังคมสูงวัยคือสังคมที่มีประชากรอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ซึ่งไทยมีสูงถึง 9.9 ล้านคน หรือประมาณ 14.9% (ข้อมูลจากธนาคารออมสิน) สูงกว่าเกณฑ์ที่ UN กำหนดคือ 10.0% ถึงจะถือว่าเป็นสังคมสูงวัย 

ภาวะสังคมสูงวัย ส่งผลกระทบให้แรงงานลดลง การบริโภคลดลง ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ของไทยมีเงินออมไม่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิตหลังการเกษียณอายุ ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง การส่งเสริมการออมและการวางแผนการเงินจะเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

สังคมสูงวัย ภาพจากรัฐบาลไทย

ศูนย์วิจัยฯ ได้ทำการสำรวจพฤติกรรมการออมของประชาชนฐานรากคือกลุ่มประชาชนที่มีรายได้ไม่เกิน 15,000  บาท ทั่วประเทศจำนวน 2,186 ตัวอย่าง พบว่า

  • 61.6% กลุ่มตัวอย่างมีเงินออม เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 32.2%
  • 79% ผู้มีเงินออม มีการออมแบบรายเดือน จำนวนเงินออมเฉลี่ยอยู่ที่ 1,000 บาทต่อเดือน

ถือว่าภาพรวมการเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1 เท่าตัว แต่จำนวนเงินออมเฉลี่ยต่อครั้งลดลง

เป้าหมายในการออมเงินของประชาชนฐานราก ประกอบดัวย

  • เก็บไว้ใช้ยามเกษียณ 45.0%
  • ทุนประกอบอาชีพ และเพื่อที่อยู่อาศัย 13.6% (ซึ่งมีสัดส่วนเท่ากัน)
  • ซื้อยานพาหนะ 12.3%

ลักษณะการออมและการลงทุนในปัจจุบันของประชาชนฐานราก 

  • ลูกจ้างประจำ จะออมกับหน่วยงาน/บริษัท เช่น 
    • จ่ายเงินสมทบ เข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
    • ประกันสังคมฯ 
    • ฝากกับธนาคาร
  • กลุ่มอาชีพอิสระ
    • ฝากกับธนาคาร
    • เก็บไว้ที่บ้าน
    • เล่นแชร์

อุปสรรคสำคัญที่ประชาชนฐานรากไม่สามารถออมเงินได้

  • ไม่มีเงินเหลือไว้ออม 82.7%
  • มีเหตุจำเป็นต้องใช้เงิน 55.5%
  • มีภาระหนี้สิน 28.0%

เงินสำรองของประชาชนฐานราก หากเกิดเหตุฉุกเฉินต้องหยุดงาน หรือไม่มีรายได้

  • ไม่มีเงินสำรองฉุกเฉิน 33.7% (น่าเป็นห่วง)
  • มีเงินใช้จ่ายไม่เกิน 1 เดือน 33.3%
  • มีเงินใช้จ่ายไม่เกิน 3 เดือน 28.5%

ถ้ามีเหตุฉุกเฉิน (ไม่มีรายได้) ประชาชนฐานรากจะทำอย่างไร?

  • ขอยืมเงินจากคนในครอบครัว ญาติ คนรอบข้าง 83.4%
  • ขายทรัพย์สินของตนเอง 34.1%
  • จำนอง/ จำนำทรัพย์สินของตนเอง 33.1%

ที่มา – รัฐบาลไทย 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
สนใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การทูต การเมือง ประชาธิปไตย เสรีภาพ ความยุติธรรมและความเท่าเทียม ชอบอ่าน ชอบเขียน ชอบสืบค้นข้อมูล ชอบทำคอนเทนต์