เศรษฐกิจไทยน่าห่วง: การผลิต-ส่งออก แรงขับสำคัญที่กำลังถูกโควิดรอบใหม่ฉุดรั้งการเติบโต

ขาลงเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ภาคการผลิต การส่งออก แรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทยที่เสี่ยงชะลอตัวจากโควิด-19 รอบใหม่ในต่างประเทศ ส่วนกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศอาจซบเซาไปต่อไม่ไหว

เศรษฐกิจไทย Q2 โตได้จากการส่งออก แต่ในประเทศซบเซา

วิจัยกรุงศรี รายงานว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 เติบโตได้ดีกว่าที่คาดอยู่ที่ 7.5% (จากการรายงานของสภาพัฒน์ฯ) ดีกว่าที่วิจัยกรุงศรีเคยคาดการณ์ไว้ โดยปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 เติบโตได้ดี เป็นผลมาจากการส่งออกที่เติบโต 30.7% และภาครัฐมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 2.5% รวมถึงเป็นการเติบโตจากฐานที่ต่ำในปีที่แล้ว

อย่างไรก็ตามแม้ว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 จะเติบโตได้ที่ 7.5% แต่หากเทียบกับไตรมาส 1 จะพบว่าเศรษฐกิจไทยเติบโตเพียง 0.4% เท่านั้น

อีกสิ่งที่น่ากังวลแม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะดูเหมือนเติบโตได้ดี แต่อุปสงค์ในประเทศ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจในไตรมาส 3 มีแนวโน้มซบเซาลง

ภาคการส่งออกแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยตกอยู่ในความเสี่ยง

จากการคาดการณ์ของวิจัยกรุงศรี ว่าจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่อาจแตะระดับ 26,000 คน ในช่วงต้นเดือนกันยายน และจำนวนผู้เสียชีวิตจะอาจสูงสุดในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนกันยายน ดังนั้นจึงคาดการณ์ว่ารัฐบาลอาจมีการผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ในช่วงปลายเดือนกันยายน ซึ่งจะเป็นผลทำให้อุปสงค์ในประเทศ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจในไตรมาส 3 มีแนวโน้มซบเซาลงด้วย

นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ยังอาจได้รับผลกระทบจากภาคการผลิต และภาคการส่งออกจากความเสี่ยงที่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่แพร่สู่ภาคอุตสาหกรรมเป็นวงกว้างมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานจำนวนมาก ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ โลหะ และพลาสติก

หากไม่สามารถควบคุมการระบาดในคลัสเตอร์โรงงานได้ คาดว่าผลกระทบด้านแรงงานอาจบั่นทอนผลผลิตภาคอุตสาหกรรรมและภาคส่งออก ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาส มีแนวโน้มอ่อนแอลง

เช่นเดียวกันกับความต้องการของประเทศคู่ค้าที่อาจชะลอตัวลง เพราะหลายประเทศกำลังเจอกับสถานการณ์โควิด-19 ระบาดรอบใหม่ เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังจึงมีแนวโน้มอ่อนแอลงจากครึ่งปีแรกอย่างชัดเจน

ภาคอุตสาหกรรม ความเชื่อมั่นต่ำสุดในรอบ 14 เดือน

ด้านความเชื่อมั่นอุตสาหกรรม ในช่วงเดือนกรกฎาคม ลดต่ำลงที่สุดในรอบ 14 เดือน โดยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 78.9 ต่ำที่สุดในรอบ 14 เดือน นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 โดยเป็นการปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 แล้ว โดยมีปัจจัยสำคัญจากสถานการณ์โควิด-19 ที่กระจายไปทั่วประเทศ ทำให้ภาครัฐต้องขยายพื้นที่ และมาตรการล็อคดาวน์เพื่อควบคุมโควิด-19

ตัวเลขการเติบโตที่อาจไม่สะท้อนสถานการณ์จริง

ข้อมูลจากวิจัยกรุงศรี สอดคล้องกับข้อมูลของ SCB EIC ที่ระบุเช่นกันว่า ตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจไทย 7.5% เป็นตัวเลขที่สูงไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงเพราะเป็นการเติบโตจากฐานเดิมที่ต่ำกว่าปกติ และการเติบโตนี้เกิดจากเม็ดเงินที่ได้จากการส่งออกของต่างชาติ และเม็ดเงินจากภาครัฐ ส่วนภาคเอกชนได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างรุนแรง จนเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ส่วนเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านในอาเซียน จะพบว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยที่ 7.5% นับว่าอยู่ในระดับที่ต่ำ เพราะประเทศอื่นๆ เศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 2 เติบโตได้ดีกว่าไทยมาก โดยเฉพาะ 3 ประเทศดังต่อไปนี้

ที่มา – วิจัยกรุงศรี

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา