KResearch ชี้ไทยได้ประโยชน์จากสงครามการค้าเล็กน้อย ต้องเร่งทำ FTA เพื่อดึงเงินลงทุนมากกว่านี้

บทวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ไทยได้ประโยชน์จากสงครามการค้าเล็กน้อย และประเทศที่ได้ประโยชน์มากกว่าคือมาเลเซีย และเวียดนาม นอกจากนี้ในบทวิเคราะห์ยังแนะนำให้ไทยเร่งการทำ FTA กับประเทศอื่นๆ เพื่อที่จะไม่ให้สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน

Bangkok Port ท่าเรือ กรุงเทพ
ภาพจาก Shutterstock

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ออกบทวิเคราะห์ที่ชี้ให้เห็นว่า ไทยนั้นได้ประโยชน์จากสงครามการค้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในช่วงที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน แต่สิ่งที่สำคัญที่จะฟื้นภาคการส่งออกของไทยหลังจากนี้นั้น ไทยจะต้องเพิ่มความตกลงทางการค้า หรือ FTA ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะฟื้นตัวของการส่งออกของไทย รวมไปถึงยังนำเม็ดเงินการลงทุนจากต่างประเทศมาที่ไทยด้วย

ในบทวิเคราะห์ได้ชี้ถึงภาคการส่งออกของไทยในช่วง 2-3 ปีท่ีผ่านมาเผชิญอุปสรรคหลายอย่าง เช่นเดียวกับประเทศ อื่นๆ ในภูมิภาค โดยที่ไทยได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ซึ่งส่งผลทำให้ตัวเลขการส่งออกของไทยช่วงที่ผ่านมาถดถอยมาโดยตลอด

ขณะที่การระบาดของ COVID-19 กลับได้ซ้ำเติมความเสียหายให้ภาคการส่งออกไทยรุนแรงข้ึนอีกครั้ง ทำให้การส่งออกไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปีน้ีหดตัวถึง 7.3% เมื่อเทียบกับปี 2019 ที่ผ่านมา ทั้งนี้เมื่อไทยมีมาตรการปิดเมืองและควบคุมการระบาดของ COVID-19 ประสบผลสำเร็จในหลายประเทศ ความต้องการในตลาดโลกนั้นเริ่มมีสัญญาณดีขึ้นและหนุนให้การส่งออกในทวีปเอเชียฟื้นตัวตามไปด้วย อย่างไรก็ดีระดับการฟื้นตัวของแต่ละประเทศกลับไม่เท่ากัน โดยที่ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ฟื้นตัวได้ช้า

บทวิเคราะห์ได้กล่าวถึงสาเหตุสำคัญของภาคการส่งออกไทยที่ฟื้นตัวได้ช้า เช่น

  • โครงสร้างสินค้าส่งออกไทยเป็นปัจจัยหลักทำให้ภาคการส่งออกฟื้นตัวช้า จากสินค้าเช่น ยานยนต์และอะไหล่ยานยนต์ ที่ในช่วงของ COVID-19 ความต้องการลดลง ขณะที่สินค้าสำคัญอย่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของไทยในช่วงการล็อกดาวน์นั้นกลับเติบโตอย่างมาก จากปัจจัยของการทำงานที่บ้าน อย่างไรก็ดีสัดส่วนของสินค้าประเภทนี้ของไทยถือว่ามีเพียงแค่ 14% จากการส่งออกทั้งหมดเท่านั้น ขณะที่ฟิลิปปินส์มีสัดส่วนมากถึง 49% มาเลเซีย 34% เวียดนาม 37%
  • ความต่อเนื่องของนโยบาย ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญจากการลงทุนของต่างชาติ โดยที่ผ่านมาเราจะเห็นบริษัทจากต่างประเทศย้ายฐานการผลิตออกจากไทยเป็นจำนวนมาก และในบทวิเคราะห์ยังชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมานมากกว่าทศวรรษ ไทยยังคงอยู่ในวังวนของการเปลี่ยนแปลง ทำให้การดำเนินนโยบายท่ีไม่ต่อเนื่องไม่เป็นผลดีต่อการลงทุนจากต่างชาติ ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน และการเติบโตของการส่งออก นอกจากนี้ยังรวมไปถึงอุปสรรคด้านข้อระเบียบต่างๆ ที่ประเทศอื่นๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่น เวียดนาม
  • การขาดแคลน FTA กับประเทศต่างๆ ในบทวิเคราะห์ได้กล่าวถึง FTA ที่ไทยได้ทำข้อตกลงคือ FTA กับประเทศญี่ปุ่นในช่วงปี 2007 แต่ถ้าหากคิดรวม FTA ที่ไทยได้ทำกับประเทศต่างๆ กว่า 13 ฉบับจะมีผลกับประเทศ 18 ประเทศเท่านั้น แตกต่างกับ FTA ของเวียดนามที่ทำเพียงแค่ 12 ฉบับแต่มีผลมากถึง 53 ประเทศ ทำให้ส่งออกสินค้าได้มากกว่า

นอกจากนี้ในช่วงที่สงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน มีความรุนแรงนั้น ประเทศไทยไม่ได้ถูกมองเป็นเป้าหมายหลักของการย้ายฐานการผลิตจากจีน ในบทวิเคราะห์ยังแสดงข้อมูลว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาไทยกลับไม่ได้รับผลประโยชน์ในฐานะผู้ส่งออกสินค้าทดแทนประเทศจีนไปยังสหรัฐฯ ในช่วงสงครามการค้า แต่กลับเป็นเวียดนามและมาเลเซียที่ได้ประโยชน์ โดยเปรียบเทียบการนำเข้าเครื่องจักรและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของสหรัฐฯ และสินค้าที่สหรัฐฯ กำหนดภาษีนำเข้าจากจีนในช่วงก่อนและหลงัสงครามการค้าพบว่า สหรัฐฯ ได้ลดการนำเข้าสินค้าจากจีนและมานำเข้าสินค้าจากหลายๆ ประเทศในเอเชียทดแทน

สำหรับทางออกในเรื่องนี้นั้นศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ไทยจะต้องเร่งการเจรจา FTA กับประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ไม่ว่าจะเป็น สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป กลุ่มประเทศนอร์ดิก เช่น เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซแลนด์ นอรเ์วย์ และสวีเดน เพื่อดึงดูดการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า รวมถึงโครงการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยสนับสนุน ให้มีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
Content Writer ที่สนใจในเรื่องของตลาดทุนทั้งในและต่างประเทศ กลุ่ม TMT (Technology, Media, Telecom) การควบรวมกิจการ (M&A) นโยบายทางเศรษฐกิจของไทยและต่างประเทศ รวมถึงสิ่งละอันพันละน้อยทางธุรกิจที่น่าสนใจ