4 แบงก์ไทยมีรายชื่อติดในเอกสารลับ FinCEN ที่แฉอาชญากรใช้โอนย้ายเงินไปทั่วโลก ฟอกเงิน ฯลฯ

เอกสารที่เครือข่ายผู้สื่อข่าวสืบสวนสอบสวนนานาชาติได้รับเกี่ยวกับข้อมูลธุรกรรมทางการเงินที่น่าสงสัยนั้นมี 4 สถาบันทางการเงินของไทยติดอยู่ด้วย ซึ่งธุรกรรมน่าสงสัยหลายๆ อย่างอาจเกี่ยวกับอาชญากรโอนย้ายเงินไปทั่วโลก รวมไปถึงการฟอกเงิน

US dollar ดอลลาร์สหรัฐ
ภาพจาก Shutterstock

เครือข่ายผู้สื่อข่าวสืบสวนสอบสวนนานาชาติ (ICIJ) ได้เผยแพร่เอกสารและข้อมูลระหว่างปี 2543-2560 ที่หลุดออกมาจากหน่วยงานสืบสวนอาชญากรรมทางการเงินสหรัฐฯ หรือ FinCEN ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวนี้มีหน้าที่ต่อต้านการก่ออาชญากรรมทางการเงิน โดยขึ้นตรงกับกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ซึ่งเอกสารดังกล่าวนี้เป็นรายงานธุรกรรมทางการเงินที่น่าสงสัยมากกว่า 2,000 ฉบับให้กับทาง FinCEN

เอกสารรายงานธุรกรรมทางการเงินมากกว่า 2,000 ฉบับนั้นมีมูลค่ารวมกันราวๆ 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ จำนวนธุรกรรมที่น่าสงสัยนี้มากกว่า 18,000 ธุรกรรม โดยหลายๆ ธุรกรรมทางการเงินใหญ่ๆ นั้นสถาบันการเงินทั่วโลกปล่อยให้มีธุรกรรมผิดปกติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • JPMorgan ยอมให้มีการโอนเงินระดับ 1,000 ล้านเหรียญโดยไม่ตรวจสอบที่มาก่อน ก่อนที่จะมาพบทีหลังว่าเป็นเงินนั้นมาจากกลุ่มอาชญากรที่ FBI ต้องการตัวมากที่สุด
  • Barclays สถาบันการเงินในอังกฤษกลายเป็นแหล่งโยกย้ายเงินของคนใกล้ตัวประธานาธิบดีปูติน เพื่อหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตรจากสหรัฐ โดยเม็ดเงินนั้นมาจาก
  • HSBC ยอมให้ธุรกรรมทางการเงินหลายๆ ครั้งที่ผิดปกติผ่านไปอย่างง่ายดาย
  • China Investment Corporation ที่ยอมให้ธุรกรรมแปลกๆ ส่งต่อไปยังสถาบันการเงินในทวีปยุโรป เช่น ลัตเวีย ที่เคยมีข่าวสถาบันการเงินหลายๆ แห่งพัวพันการฟอกเงินของอาชญากรในรัสเซีย

ความหล่ะหลวมของกระบวนการตรวจสอบของสถาบันการเงินหลายๆ แห่ง ทำให้อาชญากรสามารถโยกย้ายเงินที่มาจากธุรกิจที่ผิดกฎหมายไปใช้ทำอย่างอื่นได้ เช่น การนำเงินจากการค้ายาเสพติด ค้าประเวณี ไปใช้ในธุรกิจอื่นๆ ต่อ หรือนำเงินเหล่านี้ส่วนหนึ่งไปใช้ในกระบวนการสนับสนุนกระบวนการอื่นๆ เช่น การคอร์รัปชั่น จนไปถึงการสนับสนุนผู้ก่อการร้าย

สำหรับในประเทศไทยมีสถาบันการเงิน 4 รายที่ติดในเอกสารดังกล่าวมีธุรกรรมส่งเงินออกนอกประเทศไทยอยู่ที่ 31.75 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 985 ล้านบาท ขณะที่เม็ดเงินปริศนาเข้ามาในประเทศไทยอยู่ที่ 9.558 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยธุรกรรมรวมนั้นมีอยู่ 92 ธุรกรรมที่น่าสงสัย

ขณะที่จำนวนธุรกรรมการเงินมากที่สุดในข้อมูลที่หลุดออกมานั้นคือสหราชอาณาจักร มีมากกว่า 3,000 ธุรกรรม รองลงมาคือไซปรัส

ที่มา – BBC, DW

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
Content Writer ที่สนใจในเรื่องของตลาดทุนทั้งในและต่างประเทศ กลุ่ม TMT (Technology, Media, Telecom) การควบรวมกิจการ (M&A) นโยบายทางเศรษฐกิจของไทยและต่างประเทศ รวมถึงสิ่งละอันพันละน้อยทางธุรกิจที่น่าสนใจ