Tencent ลงทุนอะไรไปแล้วบ้าง หรือว่าการลงทุนเหล่านี้คือไม้ตายสุดท้ายของบริษัท

ถึงแม้ว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมาของ Tencent จะเป็นช่วงเวลาที่ไม่ค่อยดีของบริษัทเท่าไหร่นัก แต่การลงทุนของบริษัทที่มีหลากหลายรูปแบบอาจเป็นไพ่ใบสุดท้ายของบริษัท สามารถนำไปต่อยอดในการลงทุนอื่นๆ ได้ แม้ว่าจะโดนข้อครหาว่าหมดไอเดียในการพัฒนาเทคโนโลยีก็ตาม

ภาพจาก Shutterstock

Tencent บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของจีนได้ลงทุนไปกับสตาร์ทอัพ รวมไปถึงบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งเป็นเม็ดเงินมูลค่ามหาศาลในช่วงที่ผ่านมา โดยข้อมูลจาก Nikkei บริษัทมีสัดส่วนเงินลงทุนมากถึง 28% ของสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นที่มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ถึงแม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะมีข่าวว่าบริษัทเทคโนโลยีของจีนไม่ว่าจะเป็น JD.com ไม่เว้นแม้แต่คู่แข่งอย่าง Alibaba จะเริ่มลดเม็ดเงินในการลงทุนสตาร์ทอัพลง อย่างไรก็ดีเม็ดเงินที่ลงทุนไปแล้วก็นับว่าเป็นจำนวนที่มากอยู่ดี

มารู้จักกับ Tencent ได้จากบทความของ Brand Inside

เคราะซ้ำกรรมซัดในปีนี้

Tencent ถือว่าเป็นบริษัทที่โชคไม่ค่อยดีเท่าไหร่นักในปีนี้ นับตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมามูลค่าตลาดของบริษัทได้หายไปเป็นมูลค่ากว่า 5 แสนล้านบาท โดยสาเหตุหลักๆ คือรายได้หลักของบริษัทซึ่งพึ่งพากับเกมออนไลน์ในประเทศจีนเริ่มประสบปัญหาเมื่อรัฐบาลจีนเริ่มที่จะควบคุมเรื่องนี้อย่างจริงจัง ซึ่งเราได้เห็นการลงมือแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของบริษัทเช่น การเล่นเกมต้องลงทะเบียนด้วยชื่อจริงๆ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของกำไรบริษัทที่ลดลงครั้งแรก ทำให้บริษัทต้องปรับแผนธุรกิจครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการที่เน้นลูกค้าองค์กรมากขึ้น ปรับแผนการทำธุรกิจหลายๆ อย่าง และต้องเริ่มตอบสนองต่อนักลงทุนมากขึ้นด้วย หลังจากที่นักวิเคราะห์เริ่มมีมุมมองไม่สดใสเหมือนในอดีต

ทางการจีนเริ่มเข้มงวดกับการเล่นเกมมากขึ้น ซึ่งกระทบกับ Tencent แบบเต็มๆ (ภาพจาก Shutterstock)

แผนการลงทุนของบริษัทที่ลงทุนไปเรื่อยๆ?

Pan Luan คอลัมนิสต์ของ CNN มองว่า กลยุทธ์การลงทุนในบริษัทต่างๆ ของ Tencent คือ “ไม่มีแผนการในการลงทุน” โดยมองว่าในช่วงที่ผ่านมายักษ์ใหญ่รายนี้ได้ลงทุนไปหมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพที่กำลังเติบโตซึ่งดูเป็นที่ถูกใจ นอกจากนี้ยังมีบริษัทอื่นๆ ที่ไม่ใช่บริษัทเทคโนโลยีด้วย

การลงทุนของ Tencent มีทุกรูปแบบมีตั้งแต่ลงทุนตั้งแต่บริษัทเริ่มต้น ไล่ไปจนถึงก่อนที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ ส่วนทางด้านสัดส่วนการลงทุนของบริษัทมีแทบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อยในบริษัทนั้นๆ รวมไปถึงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่

Tencent ลงทุนอะไรไปบ้างแล้ว

ข้อมูลจาก Crunchbase ปัจจุบัน Tencent ได้ลงทุนกับสตาร์ทอัพ รวมไปถึงบริษัทเทคโนโลยีประมาณ 270 บริษัท ถือว่าเยอะมากๆ Brand Inside รวบรวมบริษัทที่น่าสนใจ ซึ่ง Tencent ได้ลงทุนในช่วงที่ผ่านมา

  • Tesla บริษัทลงทุนประมาณ 5%
  • Spotify บริษัทลงทุนประมาณ 9%
  • Snap บริษัทลงทุนประมาณ 15%
  • SEA เจ้าของ Shopee รวมไปถึง Garena โดยบริษัทเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นรายใหญ่
  • Meituan-Dianping สตาร์ทอัพส่งอาหารที่พึ่งจะ IPO ไปสดๆ ร้อนๆ
  • We Doctor สตาร์ทอัพทางด้านสุขภาพ ซึ่ง IPO ไปในปีนี้
  • China Literature แอพอ่านนิยายชื่อดัง ซึ่ง IPO ไปในปีนี้
  • Nio สตาร์ทอัพรถยนต์ไฟฟ้า โดยคาดว่าจะเป็นคู่แข่งของ Tesla
  • Uber
  • Lyft
  • Go-Jek
  • Ola
  • Riot-Games
  • Flipkart E-commerce รายใหญ่ซึ่งเป็นคู่แข่งในประเทศอินเดียของ Amazon
  • YG Entertainment ค่ายเพลงใหญ่ของประเทศเกาหลี

ล่าสุดยังมี Tencent Music Entertainment ซึ่งบริษัทกำลังเตรียมที่จะ IPO โดยตั้งเป้าระดมทุนให้ได้ประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐอีกด้วย

SEA หนึ่งในบริษัทที่ Tencent ลงทุนแล้วประสบความสำเร็จในการ IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ (ภาพจาก SEA Group)

ไม่ใช่แค่บริษัทเทคโนโลยี

นอกจากนี้บริษัทยังได้ลงทุนในบริษัทอื่นๆ นอกจากบริษัทเทคโนโลยีด้วย ไม่ว่าจะเป็น

จะเห็นได้ว่าการลงทุนของ Tencent มีมากมายจริงๆ และมีหลากหลายอุตสาหกรรมที่ลงทุนอีกด้วย

China Unicom เป็นหนึ่งในบริษัทที่ Tencent เองลงทุนด้วย (ภาพจาก Shutterstock)

ไพ่ใบสุดท้าย?

ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้รับเสียงตอบรับที่ไม่ค่อยดีนักจากนักลงทุน นักวิเคราะห์ รวมไปถึงสื่อ ว่าบริษัทอาจหมดความคิดในการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ไปแล้ว และกำลังจะกลายเป็นบริษัทที่เน้นด้านลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพหรือแม้แต่บริษัทเทคโนโลยีอื่นๆ แทน

แต่ก็ไม่แน่ว่าการลงทุนในบริษัทเหล่านี้อาจเป็นไพ่ไม้ตายใบสุดท้าย ซึ่งบริษัทหลายๆ แห่งที่ Tencent ลงทุน (และหลายๆ แห่งบริษัทเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ด้วย) สามารถผลักดันให้เข้าตลาดหลักทรัพย์เพื่อที่จะปลดล็อกหรือขายทำกำไรจากการลงทุนและนำเงินไปลงทุนต่อยอดกับบริษัทอื่นๆ แทน

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
Content Writer ที่สนใจในเรื่องของตลาดทุนทั้งในและต่างประเทศ กลุ่ม TMT (Technology, Media, Telecom) การควบรวมกิจการ (M&A) นโยบายทางเศรษฐกิจของไทยและต่างประเทศ รวมถึงสิ่งละอันพันละน้อยทางธุรกิจที่น่าสนใจ