[สรุป] เคล็ดลับวางแผนลดหย่อนภาษี ปีนี้ต้องซื้ออะไรบ้าง?

เข้าช่วงสิ้นปี ใครที่รู้ตัวว่ารายได้ต้องเสียภาษี มาหาทางลดหย่อนภาษี เก็บเงินไว้ใช้ชีวิตกันดีกว่า ว่าแต่ปี 2018 นี้มีรายการลดหย่อนภาษีอะไรบ้าง?

เครื่องคิดเลขของ Casio

เช็คภาษี-สิทธิลดหย่อนได้ง่ายนิดเดียวแค่คลิก!

ก่อนจะต้องกรอกภาษีในเว็บของภาครัฐ แนะนำว่าให้ลองกรอกไปที่เว็บไซด์คำนวนลดหย่อนภาษีที่มีมากมายเช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)บลจ.กสิกรไทย และเว็บไซต์  iTax

หลักการพื้นฐานที่ต้องรู้ในการวางแผนภาษีคือ เมื่อรวบรวมเอกสารรายได้-รายจ่าย-ลงทุน ฯลฯ ไว้แล้ว ต้องคำนวนว่ารายได้ทั้งปีอยู่ที่เท่าไร เช็คว่ารายการที่ใช้ลดหย่อนภาษี (รายจ่าย เงินลงทุน สิทธิ ฯลฯ) มาลบรายได้ทั้งหมด ทำให้ฐานรายได้ที่ต้องเสียภาษีลดลง ดังนั้นก็จะเสียภาษีแค่ส่วนที่เหลือ (ภาษีเสียตามฐานรายได้)

การลดหย่อนภาษีแบ่งเป็น 4 หมวดใหญ่

  1. ภาระส่วนตัว ได้แก่
    ค่าใช่จ่ายส่วนตัว        – 60,000 บาท
    ค่าลดหย่อนคู่สมรส     – 60,000 บาท (ต้องยื่นแบบลดหย่อนภาษีคู่กัน)
    ค่าลดหย่อนบุตร         – 30,000 บาท/คน ถ้าเป็นลูกตามกฎหมาย ไม่จำกัดจำนวนบุตร
    ค่าลดหย่อนคลอดบุตร  – จ่ายตามจริงไม่เกิน 60,000 บาท
    ค่าลดหย่อนพ่อแม่       – 30,000 บาทต่อคน (แต่พ่อแม่ต้องมีรายได้ในปีภาษีนั้นไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีลูกแค่คนเดียวที่ใช้สิทธิ์นี้ได้)
    ค่าอุปการะคนพิการหรือทุพพลภาพ  – 60,000 บาทต่อคน

    ภาพจาก Shutterstock
  2. ประกันชีวิตและการลงทุน ได้แก่
    เบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่       – จ่ายตามจริงไม่เกิน 15,000 บาท
    กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF – ซื้อได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 500,000 บาท
    เงินประกันสังคม                     – ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 9,000 บาทเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปหรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิต ที่คุ้มครองมากกว่า 10 ปีขึ้นไปไม่เกิน 100,000 บาท และรวมกับเบี้ยประกันสุขภาพ 15,000 บาท 2 ส่วนนี้รวมกันแล้วสามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาทรายการลดหย่อนไม่เกิน 500,000 บาท ได้แก่
    เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ – ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บาท
    กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ /กบข. /กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน – ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 500,000 บาท
    กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF – ไม่เกิน15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 500,000 บาท
    กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) – จ่ายตามจริงไม่เกิน 13,200 บาท

    ภาพจาก Shutterstock
  3. การใช้จ่ายต่างๆ
    ดอกเบี้ยเพื่อที่อยู่อาศัย   – จ่ายตามจริงไม่เกิน 100,000 บาท
    ค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิต – สามารถลดหย่อนได้ 1 เท่าของที่จ่ายจริง
    ค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยวไทย 55 เมืองรอง – จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
    เงินลงทุนในธุรกิจ startup – ลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
  4. หมวดการบริจาค
    เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา และสังคม – ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย
    เงินบริจาคให้สถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูง – ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย
    ส่วนเงินบริจาคทั่วไปและเงินบริจาคน้ำท่วม – จ่ายตามจริงไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและลดหย่อน
    ในอนาคตเราจะเห็น การบริจาคเงินให้โรงพยาบาล ก็สามารถลดหย่อนภาษีได้

นอกจากนี้มีส่วนที่ยกยอดมาจากก่อนหน้าคือ โครงการบ้านหลังแรกเมื่อปี 2558-2559  สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดปีละ 120,000 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี ใช้สิทธิได้เฉพาะคนที่ซื้อบ้านหลังแรกตั้งแต่วันที่ 13 ต.ค. 2558 – 31 ธ.ค. 2559

สรุป

เหตุที่คนไทยควรยื่นภาษีเพื่อให้รัฐได้มีข้อมูลว่าเรามีรายได้อย่างไร และรับสามารถออกนโยบายต่างๆ ได้ตรงตามความต้องการของแต่ละกลุ่ม แต่ถ้ารัฐยังไม่แสดงศักยภาพว่าภาษีที่เก็บไปสามารถเกิดประโยชน์สู่สังคมได้จริง มนุษย์เงินเดือนและคนที่จ่ายภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็อาจไม่รู้สึกแฮปปี้ที่ต้องจ่ายภาษีให้คนหลบเลี่ยงภาษีอยู่ดี

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา