“ธุรกิจคอนเทนต์ มีการแข่งขันสูงมาก การจะเป็นผู้นำวันนี้ก็ไม่ง่าย ต้องการสร้างแพลตฟอร์มของคนไทย เพื่อส่งออกคอนเทนต์ไทย วัฒนธรรมไทย ต้องพัฒนาเพื่อเพิ่มความพึงพอใจของ Users เพราะนี่คือหัวใจของธุรกิจ” วินท์รดิศ กลศาสตร์เสนี President TrueID ย้ำถึงธุรกิจคอนเทนต์ในปัจจุบัน
ที่มาที่ไปก่อนจะมาทํางานที่ TrueID?
วินท์รดิศ กลศาสตร์เสนี กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการทําธุรกิจออนไลน์มาจาก 3 ส่วน ส่วนแรกคือความชอบ ส่วนที่ 2 คือความชํานาญ และสุดท้ายนั้นคือความฝัน ผมเองจบด้าน Information Technology หรือ IT 10 กว่าปีแรกของการทํางาน ทํางานสายเทคมาตลอด ก็สั่งสมประสบการณ์เรื่องเทคโนโลยี เมื่อประมาณปี 2010-2011 ตอนนั้น Netflix เพิ่งจะเริ่ม 3 ปีเอง เราก็เลยเกิดความฝันว่า เราอยากจะสร้าง benchmark คล้ายๆ กับเซอร์วิส ผมก็เลยออกมาจากไมโครซอฟท์ แล้วก็มาสร้างบริษัทเองทางด้าน VDO streaming ซึ่ง ณ เวลานั้น เป็นอะไรที่ใหม่มาก ต้องยอมรับว่าโลกยังดูทีวีเป็นหลัก จนถึงจุดหนึ่งที่ผมได้โอกาสไปร่วมงานกับ Discovery ซึ่งก็เป็นแบรนด์มีเดียแบรนด์ใหญ่เจ้าหนึ่งของอเมริกา ไปเป็นสตาร์ทอัพสร้างธุรกิจ OTT ซึ่งกลายเป็น MAX ที่เรารู้จักกันวันนี้
พอมาถึงจุดที่เราโชคดีมากก็คือ ได้โอกาสเจอผู้บริหาร และ Founder ของ TrueID ต้องการสร้างแพลตฟอร์มของคนไทย เพื่อผู้บริโภคไทย เพื่อจะนําส่งออกสิ่งที่สําคัญอันดับต้นๆ ก็คือ คอนเทนต์ไทย วัฒนธรรมไทย ที่สามารถจะ impact คนทั้งประเทศ และกลับมาอยู่กับครอบครัวที่เมืองไทย นั่นคือเหตุว่า ทําไมถึงได้มาดู TrueID ประมาณสักปีครึ่งที่ผ่านมา
TrueID มีบริการอะไรบ้าง?
TrueID เป็นแพลตฟอร์มคนไทย เวลาเรามอง TrueID เราไม่สามารถจะบอกได้ว่า TrueID เป็นแพลตฟอร์มที่ทําเรื่องแค่ VDO streaming แต่เราอยากขยายความบริการอื่นๆ ซึ่งเป็นบริการที่ถูกสร้างมาตั้งแต่เริ่ม ถ้าถามคนที่ใช้บริการทรู หลายๆ คนจะบอกว่าผมมาเข้า TrueID เพราะต้องการ Privilege หลายอย่างที่ทรูให้ ผ่านทรูเรดการ์ดผ่านทรูแบล็กการ์ด คนหลายคนต้องบอกว่าจํานวน 1 ใน 3 ของ users เรา เข้ามาเพื่อหา Privilege ต่างๆ ภายในทรู นั่นเป็นหนึ่งใน used case ใหญ่ที่สุดของการใช้ TrueID
ส่วนที่ 2 ด้วยความที่เรามีคอนเทนต์เยอะ เราก็สามารถสร้าง community ของคนที่ชอบคอนเทนต์เหมือนๆ กัน 2 ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดใน community ของคนดูกีฬา ดูฟุตบอล ทุกๆ match เราจะมีการที่ทําเรื่อง live commenting ก็คือ สามารถ text คุยกันระหว่างมีการแข่ง อีก used case หนึ่งที่ผมว่าน่าสนใจก็คือ เรามี community ที่ใหญ่มากของธรรมะ ด้วยการที่ทรูทําสามเณรปลูกปัญญามานาน กลายเป็น community ที่คนเหนียวแน่นมาก
ข้อที่ 3 คือวิดีโอ เรามีคอนเทนต์มากมายที่เรามี ทั้งจัดสร้างเอง เรามีการซื้อลิขสิทธิ์เพิ่มจากคู่ค้าทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เราเองก็เอาคอนเทนต์ของบริษัททรูวิชั่นส์เข้ามาบรอดแคสต์อยู่บนแพลตฟอร์ม TrueID ลักษณะหรือพฤติกรรมของคนอยู่ใน TrueID จะขึ้นอยู่กับบริบทของคนๆ นั้น ณ เวลานั้นด้วย เพราะว่าเรามีลูกค้าที่ใช้ทั้ง 3 ส่วนนี้มากเหมือนกัน
ธุรกิจคอนเทนต์ ต้องยอมรับว่ามีการแข่งขันสูงมาก สิ่งที่สะท้อนคือ Content Cost การลงทุนคอนเทนต์มันก็สูงขึ้นตาม อันนี้ก็จะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ถือว่ามีความยากมากในธุรกิจนี้ คือถ้าต้องการจะเป็นผู้นํา ไม่ต้องเอาระดับโลกนะ เอาแค่ในประเทศเรา วันนี้ก็ไม่ง่าย เพราะว่าทุกคนก็เล็งเห็นเลยว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มียุทธศาสตร์ที่สําคัญในการที่จะเป็นคอนเทนต์ซัพพลายเออร์ใหม่ของโลก ต่อจากสิ่งที่เกาหลีเป็น ณ วันนี้ ต้องยอมรับว่า OTT นี้ ถ้ามองในอุตสาหกรรมโดยตรงของ Content Business นี้ YouTube คือโฆษณา เอาคอนเทนต์มาใครก็สามารถโพสต์คอนเทนต์ได้ แล้วส่วนใหญ่เป็นเกี่ยวกับการหารายได้ผ่านโฆษณา Netflix เป็นช่องหนึ่งที่เอาคอนเทนต์ตัวเองใส่ แล้วต้องมีการ subscribe คนจึงสามารถดูได้ใช่ไหม เขาจะไม่ค่อยมีการรวมๆ กันสักเท่าไร ต้องยอมรับว่าในเอเชียเราค่อนข้าง evolve กว่าเยอะ ประเทศที่ชัดที่สุดเริ่มจากจีน การที่จีนมี application ที่เป็น tech company ใหญ่ๆ 3-4 เจ้า ทําให้มีความเป็นลักษณะซุปเปอร์แอป WeChat มีทุกๆ service ที่อยู่ใน WeChat ตั้งแต่ streaming ยัน e-commerce ยัน delivery ยันทุกๆอย่างที่เราจะสรรหาได้ ซึ่ง TrueID จะมีความคล้ายคลึงกับโมเดลอย่าง WeChat มากกว่า ดังนั้นการที่มีหนึ่งบริการที่สามารถทําได้หลายๆอย่าง เพื่อ serve need ของผู้บริโภคเป็นจุดยืนที่เราอยากทํา และเป็นสิ่งที่เราทํามาตลอด แต่แน่นอนเราก็ยังมีสิ่งที่อยากทําเพิ่มอีกมหาศาล
TrueID สร้างรายได้จากอะไรบ้าง?
ธุรกิจ OTT ทั้งหมด 80-90% ส่วนใหญ่คือ advertising base ถามว่าที่เราทําก็ไม่ต่างกันเท่าไร แต่วัตถุประสงค์เราค่อนข้างชัดเจน เพราะว่าอันหนึ่งที่แตกต่างชัดเจนคือ ถ้า OTT ฝรั่งส่วนใหญ่เขามี objective ชัดเจน ก็คือว่าถ้าไม่เป็นโฆษณา subscription เขาใช้โมเดลคือการที่เขาสามารถเอาคอนเทนต์ของเขา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเจ้าของคอนเทนต์เอง หนึ่งเซอร์วิสหนึ่งคอนเทนต์สามารถ 10 ประเทศ 100 ประเทศ What ever ตามแล้วแต่ ขณะเดียวกัน เราต้องการให้ประชากรไทยทั้ง 70 ล้านคน สามารถเข้าถึงคอนเทนต์ที่มีคุณภาพได้ โดยที่ไม่ต้องจ่ายตังค์ นั่นคือวัตถุประสงค์หรือ vision แรกก่อนเลย ของ TrueID เพราะฉะนั้นการที่มี Free Tier คือ การที่มีโฆษณา วัตถุประสงค์คือเราต้องการให้คนเข้าถึงเยอะที่สุด แล้วก็สะท้อนถึงทําไมเราถึงเป็นแพลตพอร์ม ที่มีคนดูเยอะ เพราะไม่มีการคิดตังค์ คิดตังค์ไปคิดที่ฝั่งโฆษณา ที่แบรนด์ ที่ agency แทน แต่เราก็มีทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่ไม่อยากดูโฆษณาทําอย่างไร ก็สามารถ subscribe ได้
หลายๆ คนน่าจะอยากรู้และอยากฟังจาก TrueID เรื่องของข้อพิพาทกับ Regulator ที่เป็นข่าวเมื่อไม่นานมานี้?
ผมเองก็เป็นคนดูภาคธุรกิจ ผมเชื่อว่าไม่ต้องเอาสตาร์ทอัพหรอก ไม่ว่าธุรกิจไหนก็ไม่อยากจะมีเรื่องหรือมีข้อพิพาทกับผู้คุมกฎ หรือผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองอยู่แล้ว ผมว่าไม่มีใครอยากมีอยู่แล้ว เพราะว่ามันไม่ได้ช่วยเอื้อในอะไรเลย แต่ความเป็นจริงคือ พอมีเรื่องจริงๆ เราเริ่มได้เอกสาร จริงๆต้องบอกว่าเราได้เอกสารจากคู่ค้าเรานะพอคู่ค้าส่งมาเราก็ตกใจ เราก็เลยทําหนังสือเหมือนกัน ทําหนังสือไปที่ กสทช ถึง 2 รอบด้วยกัน แต่ก็ไม่ได้รับ feedback อะไร แต่พอเริ่มมี impact จริงๆ กับธุรกิจ เราเองในฐานะผู้ให้บริการที่มีลูกค้า 30 กว่าล้านคน ทุกเดือน รวมถึงคู่ค้าของเรา เราต้องการให้ความมั่นใจว่าเราไม่ได้ทําผิดในเชิงกฎหมาย
แน่นอนความเชื่อถือ trust เป็นสิ่งสําคัญในการสร้างทําธุรกิจ เราก็เลยจําเป็นที่จะต้องเอาเข้าสู่การฟ้องร้อง แต่จริงๆ อย่างที่ผมเรียน มันไม่ได้เป็นสิ่งที่เราอยากจะทํา แต่เรามองว่า เรามี obligation ในการเป็นแพลตฟอร์มต่อผู้บริโภค และต่อคู่ค้าเรา ทําให้เราต้อง take action ตรงนั้นไป
“ตอนนี้ process ที่อยู่ในศาล แล้วก็สิ่งที่มีการพิจารณาผลคดีไปแล้ว แต่ fact คือว่า ตอนที่เราได้รับเอกสารตัวนี้ มีวิธีเดียวที่จะทําได้ คือเราก็ฟ้องคนที่ลงนาม ซึ่งวันนั้น คือเป็นรักษาการรองเลขาฯ ของ กสทช แต่พอมันเข้าสู่กระบวนการในการสืบพยานในส่วนของศาล ปรากฏว่าคนที่ลงนามไม่ได้เป็นคนสั่งการ เราก็เลยต้องเปลี่ยนจากการที่ฟ้องคนนั้นไปเป็นคนที่สั่งการ ก็จะเห็นเลยว่า fact ไม่ใช่สิ่งที่เรา pinpoint คน แต่คือการทําตามขั้นตอน”
ผมว่าวัตถุประสงค์เรา คือการที่อยากจะสร้างสรรค์ร่วมมากกว่า สิ่งที่ทําวันนี้คือการที่แค่ต้องการเน้นว่าเราไม่ผิด เราอยากจะให้มี fair competition แต่จุดประสงค์เราหลักคือว่า ข้างหน้าเราจะไปกันได้อย่างไร ผมว่าสิ่งหนึ่งที่เป็นสิ่งที่หลายคนยังสงสัย ก็คือว่า ธุรกิจ OTT ยังไม่มีกฏหมายครอบคลุม แต่สิ่งที่ค่อนข้างยิ่งสะท้อนความเป็นจริงมากก็คือว่า พอไม่มีการควบคุม การที่เราเป็นบริษัทไทย เราเองก็อยากจะอยู่ภายใต้ความคุ้มครอง แต่ก็ควรจะมีความคุ้มครองที่มี benefit ชัดเจน
วันนี้ ความคลุมเครือของการคุ้มครอง ทําให้การคุ้มครองไม่มีความเท่าเทียม เพราะว่าบริษัทฝรั่ง แพลตฟอร์มฝรั่งไม่ได้อยู่ในการคุ้มครอง แพลตฟอร์มไทยมองว่า วันนี้การคุ้มครองก็ไม่ได้ มีเอื้อของธุรกิจเลย ดังนั้นต้องกลับมาที่ว่าประเทศและเจ้าของนโยบาย ผู้คุมกฎทั้งหลาย มองธุรกิจนี้สําคัญขนาดไหน จะ impact อย่างไร เราเองในฐานะที่เป็น startup platform ใหญ่อันดับต้นๆ ของเมืองไทย เรายินดีและพร้อมที่จะเข้าไปร่วมเสวนาให้ความรู้ ให้จุดที่บาลานซ์ในการได้รับความสนับสนุน
ในขณะเดียวกัน ปกครองถึงเรื่อง privacy เรื่องของการที่ผู้บริโภคควรจะพึงได้ในการที่มีการคุมกฎตรงนี้ เราพร้อมและยินดีเสมอในเรื่องนี้ เพราะว่า แพลตฟอร์มไทยวันนี้มีน้อยมาก ไม่ใช่แค่ในอุตสาหกรรมคอนเทนต์ ทุกๆอุตสาหกรรม เราต้องการเป็นปลายน้ำหรือคนกลาง หรือต้นน้ำของธุรกิจ เรารู้อยู่แล้วว่าธุรกิจวันนี้คนกลางโดนบีบ มันจะไม่มีแล้ว งั้นภาครัฐและภาคเอกชนต้องการเป็นปลายน้ำคอยแต่ได้รับในส่วนของการเป็นผู้บริโภคที่ดี หรือต้องการเป็นต้นน้ำของธุรกิจและสร้างสรรค์อุตสาหกรรม ซึ่งสามารถ impact อีกหลาย industry ทั้งหมดเลย ทุกอย่างสามารถสื่อสารด้วย คอนเทนต์ มันคือทําไมทุกบริษัทเทคถึงทําคอนเทนต์ เพราะเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจโลกที่ใหญ่กว่า content business มาก
TrueID มีแผนพัฒนาคอนเทนต์ และแพลตฟอร์มอย่างไรบ้าง?
หนึ่งในสิ่งที่เราให้ความสําคัญมาก คือการพัฒนาเพื่อเพิ่มความพึงพอใจของ user วันนี้ผู้บริโภคทุกคนมีความ unique ของเขา งั้นแพลตฟอร์มอย่างเราจําเป็นต้องเข้าถึงและรู้ insight ของคน ด้วยจุดหมายคือเพิ่มความพึงพอใจของเขาในการใช้งานของเรา ไม่ว่าจะเป็นการดูคอนเทนต์ที่เขาชอบ การใช้บริการด้านอื่น การอยู่กับ community ของเขา
ส่วนที่ 2 ที่เราต้องบอกว่าเป็น priority อีกอย่างหนึ่งที่สําคัญ คือการสร้าง ecosystem หรือ แพลตฟอร์ม ของไทยไปสู้ในธุรกิจ commerce ที่เรียกว่า social commerce แต่เป็นรูปแบบที่ unique กับประเทศ โดยใช้แพลตฟอร์ม TrueID เพราะแน่นอนวันนี้ สิ่งที่ disrupt แม้กระทั่ง global player คือ TikTok จากเมื่อก่อน short form เป็นสิ่งที่แบบไม่ได้มีใคร วันนี้ทุกคนมี short form มันเกิดจาก TikTok ถ้าเราจะไปก็อปปี้ TikTok เราก็คงสู้เขาไม่ได้ งั้นสิ่งหนึ่งที่เราพยายามทําคือ หาจุดลงตัวของ ecosystem ของ TrueID ร่วมกับพันธมิตรของเรา สร้างแพลตฟอร์มที่สามารถตอบโจทย์คนไทยได้ดีกว่าสิ่งที่แพลตฟอร์มต่างชาติทําวันนี้
เพราะฉะนั้นเกมนี้ ไม่ใช่เกมส์มอง short term มันคือการสร้างนวัตกรรมใหม่บนสิ่งที่เริ่มเห็นแล้วว่านี่คือโลกกําลังเปลี่ยนไป เพราะว่าโลก คอนเทนต์กับโลกขายของ มันเริ่มใกล้กันมาก แทบจะเป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ไม่มีใครเคยเห็นเลย งั้นวันนี้สิ่งที่เราทํา เราเริ่มมองไปถึงว่า ในยุคต่อไปโดยที่มี AI มาเป็นตัวกลาง ตัวแปลหลักสําคัญของธุรกิจ เราจะเป็นผู้นําได้อย่างไร แน่นอนงั้นรากฐานการพัฒนาเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจเป็นอย่างไร เรามุ่งทําทุกวันคือ product development มันไม่มีวันหยุด เพราะนี่คือหัวใจของธุรกิจ
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา