เรียนรู้การทำธุรกิจหนังสารคดี Documentary Club: เริ่มต้นจากศูนย์ สู่การปรับตัวช่วงโควิดระบาดหนัก

ปี 2021 ครบ 6 ปีเศษของการเดินทาง Documentary Club
นับตั้งแต่ฉายหนังครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2557

เริ่มเปิดตัวในเดือนสิงหาคมด้วยการใช้วิธีระดมทุนจากแพลตฟอร์มเทใจ.com จากนั้นเดือนพฤศจิกายนได้เอาหนังเรื่องแรกมาฉาย เรื่อง Finding Vivian Mier เป็นหนังสารคดีที่เกี่ยวกับช่างภาพหญิงสาว พี่เลี้ยงเด็กที่มีผลงานทิ้งไว้มหาศาล

ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ Documentary Club
ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ ผู้ก่อตั้ง Documentary Club

ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ เล่าให้เราฟังว่า การระดมทุนเพื่อก่อตั้ง Documentary Club นั้นถือว่าประสบผลสำเร็จ เพราะเริ่มต้นจากทุนที่เป็นศูนย์ หลังจากประกาศว่าจะทดลองทำ 1 ปีก่อน เพราะไม่รู้ว่าจะธุรกิจจะไปต่อได้หรือไม่ เธอใช้โมเดลระดมทุนของเมืองนอก Kickstarter บริจาค 500 บาท ได้รับฟรีตั๋วหนัง 2 ใบ มีคนช่วยระดมทุนค่อนข้างมาก 

ย้อนไปตั้งแต่ช่วงแรกๆ เธอตั้งเป้าว่าจะระดมราวหนึ่งล้านบาท ซื้อหนัง 7 เรื่องเป็นเวลา 1 ปี ปรากฎว่าเวลาผ่านไปแค่เพียงเดือนกว่าๆ จากสิงหาคมถึงต้นตุลาคม ได้ยอดระดมทุนมาราวสี่แสน พอเห็นว่ามีคนสนับสนุนมาได้ครึ่งทางแล้ว เธอเริ่มรู้สึกว่า สี่แสนบาทก็เริ่มต้นได้แล้ว จากนั้น จึงพูดคุยกับโรงภาพยนตร์ SF Cinema ก็เห็นพ้องด้วย เธอจึงประกาศว่าเรื่องแรกมาแล้ว โดยมี SF ให้พื้นที่ฉาย “เราคุยกันว่าหนังสารคดีจะเข้ามาเปิดตลาด หาโรงที่เขายินดีจะให้ทดลอง เขามีนโยบายเปิดพื้นที่ให้หนังนอกกระแส มีเงิน มีพื้นที่ฉาย ไม่ต้องรอให้ครบล้านบาท” 

เธอใช้เรื่องวิเวียนฯ เป็นเรื่องแรกเพราะรู้สึกว่าตอนนั้น หนังสารคดี คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับภาพสารคดีทีวีแบบฟอร์แมตทีวี โปรดักชั่นไม่มาก คุ้นเคยกับสารคดีสัตว์โลก-วิทยาศาสตร์ คนดูหนังทั่วไปไม่ได้สัมผัสบ่อย แต่ปรากฎว่าหนังวิเวียนมหัศจรรย์มาก คนดูน่าจะสัมผัสง่าย ภาพถ่ายของเขาทำให้ผู้คนตื่นตาตื่นใจ หนังเรื่องนี้น่าจะมีองค์ประกอบทำให้คนดูเข้าถึงได้ง่ายและเข้าใจได้ง่าย จึงประสบความสำเร็จสูง พอหนังเรื่องนี้ฉาย มีคนสนใจ รายได้ดี จึงหยุดระดมทุนเพราะเกรงใจ และเห็นว่ามีเงินก้อน หนังประสบความสำเร็จพอสมควรแล้ว มาครึ่งทางก็นับว่าพอแล้ว

Documentary Club
หน้าเว็บไซต์ Documentary Club

ตลาดหนังไทยไม่ค่อยหลากหลาย โรงภาพยนตร์เยอะ แต่มีหนังให้ดูมีกี่แบบ

หนังสารคดีที่เลือกมานี้ เธอชอบดูหนังแนวนี้อยู่แล้ว ก่อนทำ documentary club ก็ทำนิตยสารไบโอสโคป ทำหนังนอกกระแสมาก่อน ตลาดหนังในไทยไม่ค่อยหลากหลาย ความหลากหลายลดลงเรื่อยๆ มีพื้นที่ในการดูหนังมากขึ้น แต่ตัวเลือกในการดูหนังน้อยลง ตอนทำไบโอสโคป ก็ทำแนวนี้อยู่บ้าง เธอพบว่า มีความเคลื่อนไหวของหนังแนวต่างๆ ในประเทศอื่นๆ จากคนทำคอนเทนต์เป็นดิสทริบิวเตอร์หนังเอง ก็เห็นว่าภาพกลุ่มไหนที่ไม่มีในกลุ่มนี้ ภาพชัดเจนเป็นเรื่องที่น่าทดลอง

โดยหลักแล้ว เธอทำคนเดียว ก่อนหน้านั้นทำไบโอสโคปเยอะ เริ่มทำ doc club เองง่ายๆ เธอเลือกทำคอนเทนต์ที่เอื้อต่อการทำคนเดียว คิดและเขียนไปเรื่อยๆ ตอนเริ่มต้นเธอไม่ค่อยมั่นใจนักว่าธุรกิจจะมีทิศทางแบบไหนต่อไป สิ่งที่ทำได้ คือต้องใช้งบให้น้อยที่สุด ไม่มี่ค่าใช้จ่ายตายตัว ไม่มีออฟิศ ไม่หาพนักงานประจำ เธอมองว่า การเริ่มทำธุรกิจด้วยทุนของคนอื่น อย่าสร้างความเครียดให้กับตัวเองด้วยงบประมาณที่เป็นค่าใช้จ่ายตายตัว 

สำหรับการทำ doc club เธอมองว่ามันค่อนข้างเหนื่อยในแง่ของปริมาณงานที่ค่อนข้างเยอะ พอทำแล้ว โชคดีเริ่มเป็นที่รู้จัก ตอนหลังก็เริ่มมีทีมงานเข้ามา ช่วงโควิดระบาดรอบแรก มีการ Work from home มีพนักงานประจำสี่คน distribute หนังในพื้นที่คนอื่นเป็นงานหลัก ส่วนงานพื้นที่ตัวเองเป็นงานรอง เช่น อยากมีกิจกรรมเสวนาวิชาการ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีคนให้พื้นที่ได้ตลอด ตอนนี้ออกจาก Warehouse แล้ว ก็หยุดโปรเจคนี้ไป 

บรรยากาศหลังฉายหนังเรื่องแรก ค่อนข้างประสบความสำเร็จแบบเซอร์ไพรส์ ถูกพูดถึงว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับตลาดหนัง มีกลุ่มหนังสารคดีมาปักธงในโรงแล้ว ตอนแรกฉายแบบจำกัดรอบ ด้วยการเริ่มจากโปรเจคร่วมกันกับ SF ก่อน คือ Doc Holiday ฉายเฉพาะวันเสาร์ อาทิตย์ วันละ 1 รอบ 1 สาขา ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เซอร์ไพรส์ ที่นั่งถูกจองเต็ม ถือว่าเริ่มต้นมาค่อนข้างดี 

หลังจากหนังเรื่องวิเวียนฯ ก็ถูกพูดถึงในบรรดาสื่อมวลชน รวมถึงตัวหนังก็พูดถึงกันดีมาก เริ่มเห็นอนาคตว่าธุรกิจมันไปได้ หลังจากนั้นก็ทำต่อเนื่อง มีทั้งหนังที่ประสบความสำเร็จและไม่สำเร็จ ความเป็นหนังสารคดีมีจุดแข็งคือเป็นเรื่องจริง หลายเรื่องสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงช่วงเวลานั้นในโลก เกี่ยวเนื่องกับคนไทย ที่ดูแล้วนึกถึงตัวเอง แต่ละช่วงจะมีหมุดหมายที่เป็นปรากฎการณ์เป็นช่วง 

ก้าวข้ามเรื่องไม่มีต้นแบบ ไม่มีใครเคยทำ บุกเบิกเอง

ก้าวผ่านความยากที่ไม่เคยมีคนทำมาก่อน ในแง่ดีคือเป็นสิ่งที่เธอบอกตัวเองได้ว่า สิ่งนี้จะไม่สำเร็จหรือสิ่งนี้จะสำเร็จแน่ ในตลาดหนัง จะมีความคุ้นเคยของคนที่ทำงานดิสทริบิวประมาณหนึ่ง วิธีคิดบางอย่างที่ไม่จำเป็นต้องเป็นอย่างนั้น เราเริ่มมาด้วยความถ่อมเนื้อถ่อมตัว เราระดมทุน พูดแต่ต้นว่า หนึ่งล้าน 7 เรื่องเจ๊งแล้วเลิกนะ เราก็พยายามทำให้มันยั่งยืน ซื้อหนังเห็นว่ามันทำได้และเอามาทำต่อ ทำไปคิดไปเรื่อย เราอยู่ในจุดที่เซฟพอสมควร ถ้าสำเร็จ เราก็ประคองมันไป ถ้าไม่สำเร็จ ก็คงไม่ทุกข์ทรมานมากเพราะเราได้พยายามแล้ว

ตั้งแต่ทำไบโอสโคปก็สนใจประเภทนี้อยู่แล้ว ใครคิดโมเดลใหม่ในโลก ดิสทริบิวใหม่ หาวิธีทำหนังใหม่ สร้างพื้นที่ใหม่ๆ ก็มีคนอื่นที่เค้าทำได้ในโลกนี้ จึงไม่ใช่เรื่องเกินความคาดหมายนัก

การเดินทางของ Documentary Club ผ่านมาแล้วหลากหลายมิติ

doc club ทำมาแล้วทั้งค่ายหนัง ค่ายจัดจำหน่ายหนัง ทำหนังสารคดี และหนังฟิคชั่นนอกกระแส เอาหนังเข้ามา หาที่เผยแพร่หนัง โมเดลอาจจะเป็นในโรงหรือที่อื่นๆ 

ถ้าเป็นแบบเดิม คือการเอาหนังเข้ามา เข้าโรงฉาย หรือขายแพลตฟอร์มให้ทีวี ออนไลน์ แต่ doc club เป็นองค์กรเล็ก หนังเล็ก ชอบฟิล์มคลับ คลับภาพยนต์ คนดูหนังด้วยกัน หนังของเราขายทั้งทางทีวี ทางออนไลน์ ขายทั้งในพื้นที่ร้านหนังสือซึ่งก็มีอยู่ทั้งที่ภูเก็ต สงขลา หาดใหญ่ เชียงใหม่ ม.บูรพา ใครอยากขายหนังก็มาคุยกันได้

บรรยากาศก่อนเจอโควิดระบาดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ค่อนข้างซบเซาลงบ้าง มีแพลตฟอร์มออไนลน์เยอะขึ้น เช่น เน็ตฟลิก พฤติกรรมคนดูเปลี่ยนไปเยอะ หนังของ doc club เป็นหนังฟอร์มเล็ก ถ้าคนไม่ดู ก็จะไม่ใช้ความพยายามมาก แพลตฟอร์มออนไลน์ทำให้ดูหนังง่ายขึ้น ความจำเป็นในการดู doc club ก็น้อยลง 

ความเห็นส่วนตัวของเธอมองว่า โรงหนังเครือใหญ่ก็กระทบหนังบ้านเรา เช่น หนังมาร์เวล แทบทุกโรงเทให้คนดูหนังแบบนี้หมด ถ้าจะไปดูหนังต้องไปดูหนังแนวนี้ ตลาดถูกทำให้เปลี่ยนเยอะ ธุรกิจก็แผ่วลง แต่ก็มีอีเวนท์ที่ให้ฉายในที่อื่นๆ ในแบบอื่นๆ ได้ทำเทศกาลหนังกับคนอื่นบ้าง 

ช่วงโควิด คนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คือโรงหนัง สภาพการณ์ของ doc club ไม่ได้ต่างจากก่อนหน้านี้ มีแพลตฟอร์มออนไลน์ที่จริงจังขึ้น ขายสิทธิหนังในฟรีทีวีที่มีไทยพีบีเอส ช่องเยาวชน ช่วงโควิดเราก็ผ่านไปได้ doc club ใช้ TVOD (Transactional Video on Demand) คือใช้แพลตฟอร์ม Vimeo ขายหนังให้ดูเรื่องละ 1.99 เหรียญสหรัฐ ของเราเรียกว่า doc club on demand จ่ายเฉพาะเรื่องนั้น ไม่ได้ผูกพัน ไม่ได้มีภาระหนักมาก เป็นก้อนรายได้ที่สำคัญสำหรับช่วงโควิด ถ้าจะแนะนำหนังจาก doc club มีหลายเรื่องแนะนำให้ดู ดังนี้

Where to Invade Next

ในเรื่องนี้ในแง่ของ ไมเคิล มัวร์ เขามีชื่อเสียง เป็นคนทำสารคดีโฉ่งฉ่าง เอาตัวเองไปเป็นซับเจ็คในเรื่อง บางคนไม่ชอบหนังเขาเลย นอกจากหนังมีอารมณ์สนุก สร้างปรากฎการณ์ ตัวหนังจะพาไปดูคุณภาพชีวิตที่รัฐที่มีระบบรัฐสวัสดิการด้วย

หนังถูกพูดถึงในวงเสวนา 20 ครั้ง ประเด็นมีความหลากหลาย หนังฉายมาห้าปีแล้ว ตอนนี้ หนังที่คนทำเรื่องการศึกษา สวัสดิการ ในแง่ที่เราทำ doc club ไม่ใช่แค่หนังที่ดูสนุก แต่มันสมกับเป็นหนังสารคดี มันสร้างบทสนทนาเวลาไปฉายและสร้างบทสนทนาในอเมริกาด้วย ถือว่าบรรลุ สำหรับการทำ doc club 

The Kingmaker

เป็นหนังที่ถูกที่ ถูกเวลา สร้างความรู้สึกร่วมกับคนดูได้ค่อนข้างเยอะ มีบริบทใกล้เคียงกับสังคมไทยที่กำลังเปิดรับเรื่องการศึกษาระบอบผเด็จการ มีความคล้ายคลึงกับสังคมไทย ตะวันออกเฉียงใต้กับไทยมีความคล้ายคลึงกัน เหมาะสำหรับคนที่อยากศึกษาประวัติศาสตร์การเมือง

หนังเรื่องนี้เป็นสารคดีที่ดังในต่างประเทศ พูดถึงตั้งแต่ต้นปี 2020 สารคดีเล่าเรื่องสนุก ระทึกใจ เป็นบริบทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาร์กอสเป็นที่สนใจ หนังกลับมาเปิดใหม่ ทำรายได้ดีมาก ขนาดกลับมาเปิดพฤษภาคม หนังทำเงินสูงสุดของเราระดับท็อป 

ประเด็นในเรื่องถูกพูดถึงเยอะ คนพูดถึงเรื่องเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิ ถูกเทียบเคียงกับไทยเยอะมาก ถ้าคุณไปม็อบก็ต้องดูหนังเรื่องนี้ เมื่อประมาณสิงหาคมที่ผ่านมา มีพื้นที่ทางภาคใต้ที่เขาจะเอาไปฉาย ก็มีตำรวจบอกในพื้นที่บอกว่า เห็นโปสเตอร์แล้วไม่สบายใจ ขอให้ไม่ฉายได้ไหม? ก็เลยงดฉายไปเฉพาะช่วงนั้น หลังจากนั้นก็มีกลุ่มคนนำไปฉายที่อื่น 

Burning

เป็นหนังเกาหลีใต้ นอกจากภาพยนตร์ ถ้าเราคุ้นเคยเรื่อง Parasite มันมีความอาร์ต เข้าถึงยากกว่าหนังแบบบองจุงโฮ ทำจากเรื่องสั้นของมูราคามิ เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ ไม่พูดถึงเรื่องชนชั้น หนังมหัศจรรย์มาก ดูแล้วหลอน ในการเป็นดิสทริบิวเตอร์ หนังเกาหลีกำลังเจ๊งในบ้านเรา ตอนนั้น อย่าไปคาดหวังมาก แต่ปรากฎว่าประสบความสำเร็จ มีคนพูดถึงมาก มีคนเอาไปทำเป็นมีม เรื่องสั้นของมูราคามิ บาร์นเบิร์นนิ่ง มือเพลิง

Heartbound

เป็นสารคดีเดนมาร์ก แต่เป็นเรื่องคนไทย คนทำหนังเป็นนักนมานุษยวิทยา สามีเป็นผู้กำกับ สังคมเดนมาร์กมีหมู่บ้านเมียไทย ผู้หญิงอีสานแต่งงานเป็นเมียไทยอยู่ที่นั่น เค้าย้อนกลับมาทำความรู้จัก  คนนี้เป็นคนคอยหาผัวฝรั่ง คนที่แวดล้อมป้าสมมมายมีทั้งที่โคราช ขอนแก่น ตอนแรก ไม่ไว้ใจว่าฝรั่งจะเล่าถึงแง่ไหน แต่เขาเล่าในแง่ที่เข้าใจมนุษย์ด้วยกัน 

เป็นตัวอย่างของการทำหนังสารคดี ที่ต้องใช้ชีวิตกับซับเจค เคยมีสารคดีชุดคลาสสิคที่ว่า คนเลี่ยนแปลงทุกเจ็ดปี ทำตั้งแต่อายุเจ็ดขวบ สิบสี่ ยี่สิบเอ็ด จน ห้าสิบหกปี มันเห็นช่วงชีวิตมนุษย์ เห็นความเปลี่ยนแปลง ที่มันสะเทือนใจ เด็กคนนี้เคยพูดว่าจะโตมาจะเป็นเช่นนั้นเช่นนี้แต่บั้นปลายกลับไม่ได้มีชีวิตตามนั้น บางคนก็ตกระกำลำบาก

ในแง่มานุษยวิทยามันเป็นการสังเกตชีวิตคนระยะยาวนาน พื้นฐานคนทำหนังเขาเป็นนักวิจัย เขียนหนังสือ เขียนบทความ สื่อที่ใช้ถ่ายทอดคือภาพยนตร์ เรื่องที่สะท้อนประเทศไทยได้ดีที่สุด จริงๆ ก็มีหลายเรื่อง ถ้าพูดถึง The Kingmaker ก็ยังมีอีกสองเรื่องที่พ่วงกัน คือ The Act of Killing และเรื่อง The Look of Silence

ผู้กำกับเป็นนักวิจัยทำงานเรื่องแรงงานในอินโดนีเซีย ในหมู่บ้านที่เขาไปทำ เกษตรกรรม บ้านนี้ ชาวบ้านเล่าว่าลูกตัวเองถูกฆ่าตาย ตั้งแต่สงครามเย็นสมัยคอมมิวนิสต์ เขารู้ว่าคนในหมู่บ้านนี่แหละที่่อาไปฆ่า ค่อยๆ สืบไป หนังก็พูดถึงเหตุการณ์ความหวาดกลัวในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้มีการไล่ล่าคอมมิวนิสต์ ไทยก็มี 6 ตุลา ในอินโดนีเซียก็มีการตั้งกองกำลังชาวบ้านในชนบท ให้มีอำนาจชี้ตาย เช่น ลูกของบ้านไหนน่าจะเป็นคอมมิวนิสต์ สามารถเอาคนไปฆ่าได้

ผู้กำกับสามารถเข้าถึงแก๊งเหล่านี้ พวกแก๊งนี้เขาก็ยังอาศัยอยู่ตามชนบทที่ไกลมากๆ และยังมีชีวิตอยู่อย่างสบายเพราะเขาเชื่อในสิ่งที่เขาทำ เขาได้รับการปฏิบัติราวกับว่าเขาเป็นวีรบุรุษ หนังสองเรื่องนี้อยู่ในประวัติศาสตร์ช่วงเดียวกันเหมาะสมสำหรับสังคมไทย ทำให้เราได้เห็นว่ามนุษย์บางคนกระทำกับบางคนได้ภายใต้ความคิดทางการเมืองแบบไหน เราจะเห็นว่าหนังเรื่องนี้จะเห็น หลายๆ คนมีชีวิตปกติ 

ทิศทางของ doc club หลังโควิด  

ช่วงโควิดที่ผ่านมา doc club ค่อนข้างยุ่งมากพอสมควร โชคดีที่ขายหนังจำนวนหนึ่งให้ไทยพีบีเอสได้ หลังโควิดก็มีอีเวนท์ต่างๆ เช่น เทศกาลหนังไต้หวัน ทำมา 3 ปีแล้ว มี The Kingmaker ที่ฉายค่อนข้างเยอะ ทำให้เราเห็นทิศทางมากขึ้น ในตลาดที่เราพึ่งพิง เรามีพื้นที่ออนไลน์มากขึ้น เริ่มเห็นทิศทางชัดเจนขึ้น

ปี 2021 น่าจะเป็นปีที่สร้างโอกาสให้หนังระดับเล็ก ระดับกลางมีความแข็งแรงกว่าที่ผ่านมา รายได้บ็อกซ์อฟฟิศ หนังใหญ่ที่เป็นแหล่งรายได้หลักของโรงเริ่มแย่มากแล้ว คนเริ่มไม่สนใจกลับไปโรงหนังแล้วในช่วงโควิด อาจจะกลัวโควิด มีการติดขัดการเดินทาง แต่หนังเล็ก หนังกลาง การนำหนังไปฉายที่เฮาส์สามย่าน กลับประสบความสำเร็จ 

ช่วงโควิดทำให้เราเข้าที่เข้าทางในอีกแบบหนึ่ง ก่อนหน้านี้อาจสะเปะสะปะ ก็จะนำหนังที่มีศักยภาพทางตลาดและศักยภาพทางสังคมมากขึ้นและแง่ภาพยนตร์ น่าจะเป็นปีที่เป็นไปได้

สำหรับคนที่ไม่เคยดูหนังสารคดี หนังแนวนี้ไม่ได้มีแต่ doc club เท่านั้น หนังสารคดีเข้าถึงได้ง่าย มีเน็ตฟลิกที่บ้าน แพลตฟอร์มใหญ่ ราคาไม่แพง หนังสารคดี โปรโมชั่นไม่สูง แต่เขาเอาหนังสารคดีมาเยอะ เช่นเรื่องเกี่ยวกับอาหาร การเมือง ค้ายา ฆาตกรรม 

ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ ผู้ก่อตั้ง Documentary Club
ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ ผู้ก่อตั้ง Documentary Club

หนังสารคดีสนุก มันทำให้เราตระหนักว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นจริง หลายเรื่องสร้างความตื่นตะลึง ทั้งช็อค ทั้งน่าทึ่ง หลายเรื่องเชื่อมโยงกับบริบทของคนไทย คุ้มค่าในการใช้เวลาเสพ สามารถเริ่มจากสารคดีง่ายๆ ที่ตัวเองชอบ หนัง doc club เราคิดว่ายังคงยังอยู่ต่อไป เราพยายามเฟ้นหนังที่หนักแน่นมากขึ้น เผยแพร่หลายช่องทางมากขึ้น มองหาพื้นที่อื่นๆ เพิ่มขึ้น ช่วงนี้ก็เน้นมาทางออนไลน์ ซึ่งจัดการง่าย เข้าถึงคนเยอะ อาจจะเริ่มจริงจังกับงานเสวนาวิชาการหลังหนังแต่เป็นออนไลน์มากขึ้น 

การมีพื้นที่ของตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เจอเหตุการณ์ซ้ำๆ สังคมไทยภายนอกมีความตื่นตัวเรื่องการเมืองขึ้นเยอะ เด็กรุ่นใหม่อ่านหนังสือจริงจังมาก ช่วงกรกฎาคมถึงกันยายนที่ผ่านมา

ทาง doc club มีหลายกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมือง เราพบว่าพื้นที่ในการทำกิจกรรมเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องยาก แม้จะเกี่ยวกับการเมือง ผ่านเรตติ้ง พื้นที่สำหรับฉายหนังก็ไม่กล้านำเสนอ กลายเป็นว่ามีความกลัวเป็นพื้นฐาน นึกถึงตอนทำแวร์เฮาส์ ไม่ได้มีความกลัวแบบนี้เป็นพื้นฐานเสมอไป ทำไมต้องมีความกลัวเป็นโจทย์ กลัวอะไร สังคมจะโตได้ยังไงถ้าเราตั้งอยู่บนฐานความคิดแบบนี้ การมีพื้นที่เป็นของตัวเองจะจัดการอะไรก็มีความสบายใจกว่า

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา