อ่านทิศทาง CSR ปีหน้า เมื่อปลูกป่า – ช่วยโรงเรียนยังได้ แต่ต้องยั่งยืนเพิ่มเติม

ทุกวันนี้องค์กรในตลาดหลักทรัพย์ถูกให้ทำกิจกรรม CSR หรือ Corporate Social Responsibility เพื่อคืนกำไรให้สังคมอยู่แล้ว องค์กรขนาดใหญ่ในไทย ทั้งบริษัทท้องถิ่นและต่างชาติ ต่างหันมาจริงจังกับเรื่องนี้เช่นกัน เป็นเพราะอะไรนั้น ต้องไปติดตามกัน%c2%a7%e2%88%9as%e2%88%9a-joy-schools-%e2%88%9as%e2%80%a1%e2%88%9a%c2%ac%cf%80-y%cc%88%c2%a2a%e2%88%9a%e2%88%9a-2

อยากสร้างการจดจำ CSR ช่วยได้

การทำกิจกรรม CSR นั้น เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยสร้างแบรนด์ นอกจากการลงโฆษณาตามสื่อต่างๆ หรือทำแคมเปญการตลาด เพราะเมื่อบริษัทใดๆ ก็ตาม นำกำไรที่ได้เข้าไปช่วยเหลือสังคม ย่อมมีโอกาสที่คนส่วนใหญ่ จะได้รับการจดจำแบรนด์ในเชิงบวก จากกลุ่มคนที่เข้าไปช่วยเหลือก็มีสูง ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เข้าไปช่วยกับฝั่งผู้บริโภคโดยตรง แต่การเข้าไปช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตทางอ้อม เช่น ทำกิจกรรมเกี่ยวกับธรรมชาติ ก่อสร้างต่อเติมอาคารที่ทรุดโทรม บริจาคสิ่งของที่จำเป็น ล้วนแล้วแต่เสริมเรื่องภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ได้เช่นกัน

ณัฐณี เกษมรัฐกุล หัวหน้าฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ และรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท มอนเดลีซ อินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านขนมและของว่าง มองว่า องค์กรต่างๆ จะหันมาใส่ใจกับเรื่อง CSR มากขึ้น โดยเน้นไปที่กิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ และเสริมสร้างความยั่งยืนในแง่มุมต่างๆ เพราะปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มใส่กับเรื่องสุขภาพมากขึ้น ดังนั้นการเข้าไปทำ CSR ในลักษณะช่วยเหลือที่เป็นระยะสั้นๆ อาจไม่ตอบโจทย์ในปี 2560

mondelez
ณัฐณี เกษมรัฐกุล หัวหน้าฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ และรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท มอนเดลีซ อินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) จำกัด

ดิจิทัลคือประเด็นใหม่ใน CSR

“อะไรๆ ในตอนนี้ก็ไปดิจิทัลกันทั้งหมด ดังนั้น CSR ก็ต้องตามเรื่องนี้ไปด้วย แต่จะให้ดีต้องให้พนักงานในบริษัทเข้าใจเรื่องดิจิทัลก่อน เช่นบริษัทเราก็มีการสื่อสารข้อมูลผ่านระบบภายใน ทำให้พนักงานทั้งรุ่นเก่ารุ่นใหม่รู้เรื่องดิจิทัลมากขึ้น ก่อนที่จะสร้างกิจกรรม CSR โดยมีเรื่องดิจิทัลมาประกอบเพื่อช่วยเหลือสังคม เช่นการทำระบบการเรียนการสอนผ่อนออนไลน์ หรือการทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน เป็นต้น”

สำหรับ มอนเดลีซ จะใช้ 4 กลยุทธ์ในการทำ CSR คือ 1.Well – Being Snacks 2.Sustainability 3.Community 4.Safety พร้อมกับตั้งเป้าหมายระยะยาวภายในปี 2563 เช่นส่วนผสมในขนมต่างๆ จะลด Sodium และไขมันอิ่มตัวลง 10% รวมถึงเพิ่มธัญพืช Wholegrain 10% นอกจากนี้ ยังตั้งเป้าเรื่องวัตถุดิบในการทำขนม เช่นช็อคโกแล็ตที่ใช้ต้องมาจากเกษตรกรรมแบบยั่งยืนทั้งหมด

joy

เมื่อไทยไม่ใช่ฐานวัตถุดิบ จึงเน้นสุขภาพ

อย่างไรก็ตาม ด้วยประเทศไทยไม่ใช่ฐานในการซื้อวัตถุดับไปผลิตขนม เพื่อจำหน่ายทั่วโลก ทำให้ มอนเดลีซ ในไทยจึงเน้นการสร้างสุขภาพให้กับเด็กนักเรียน ผ่านโครงการ Joy School ที่ทำต่อเนื่องมา 4 ปี และมี 5 โรงเรียนที่บริษัทเข้าไปช่วยเหลือ คิดเป็นนักเรียนกว่า 1,300 คน ผ่านพนักงานบริษัทที่เข้าไปร่วมกิจกรรมต่างๆ ราว 720 คน เช่นสนับสนุนอาหารเช้า และการให้ความรู้เรื่องโภชณาการที่ยั่งยืนกว่าแค่การทำกิจกรรมสั้นๆ

ส่วนในระดับโลก มอนเดลีซ มีนโยบาย Harmony Charter หรือกฎบัตรเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อวางมาตรฐานให้กับขนมที่ผลิตออกมาจำหน่าย โดยการซื้อวัตถุดิบจากเกษตรกรที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดราว 49 ข้อ เช่นการไม่ใช้แรงงานเด็ก หรือกดขี่ผู้หญิง โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกาที่เป็นผู้ผลิตช็อกโกแลตรายใหญ่ ดังนั้นขนมทุกชิ้นที่ผลิตออกมา ไม่ใช่แค่ได้เรื่องสุขภาพ แต่สนับสนุนคุณภาพชีวิตของเกษตรกรด้วย

สรุป

มอนเดลีซ (Mondelez) เป็นหนึ่งในบริษัทที่ผลิตขนมใหญ่ที่สุดในโลก เช่นคุกกี้ Oreo และ Ritz รวมถึงลูกอม Halls โดยในไทยนั้นมีโรงงานผลิต แต่วัตถุดิบจะนำเข้ามาจากประเทศต่างๆ เพื่อจำหน่ายในประเทศ และส่งออกด้วย

ดังนั้น เมื่อไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับเกษตรกรในประเทศไทยมากนัก ทำให้การทำ CSR มุ่งเน้นไปที่ผู้บริโภคเป็นหลัก โดยการใช้กลยุทธ์สร้างแบรนด์อย่างยั่งยืนนั้น จะต้องไม่ใช่การทำงานในระยะสั้นๆ แต่มองถึงกิจกรรมที่จะช่วยส่งเสริมแบรนด์ในระยะยาวได้อย่างยั่งยืนนั้น และส่งเสริมความผูกพันกับผู้บริโภคมากกว่า

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา