สตาร์ทอัพที่โตอย่างยั่งยืน หาใช่เม็ดเงินจากนักลงทุนไม่ รู้จัก MailChimp ที่ทำธุรกิจบนความต้องการของลูกค้า

untitledแพทเทิร์นสตาร์ทอัพโตเร็วที่เราคุ้นเคยมีอยู่ไม่กี่อย่าง คือ ตั้งอยู่ในซานฟรานซิสโก ซิลิคอนวัลเล่ย์ มีผู้ก่อตั้งจบจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด หรืออื่นๆ ใน Ivy League และที่สำคัญจะเป็นกลุ่มผู้ชายผิวขาว อายุน้อยเป็นกลุ่มริเริ่มก่อตั้งบริษัท แต่มีสตาร์ทอัพเจ้าหนึ่งที่อยู่นอกเหนือแบบฉบับโดยสิ้นเชิง คือ MailChimp

MailChimp มีฐานที่แอตแลนต้า ก่อตั้งมาได้ 16 ปี ทำซอฟต์แวร์การตลาดสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก บริษัทมีรายได้ในปี 2015 ถึง 280 ล้านดอลลาร์ และคาดว่ากำลังจะแตะ 400 ล้านดอลลาร์ในปี 2016

MailChimp มีกำไรมาตลอด โดยไม่ผ่านการระดมทุนใดๆ ตามแพทเทิร์นสตาร์ทอัพอื่น เจ้าของบริษัทจึงไม่มีใครอื่นนอกเหนือจาก  Ben Chestnut และ  Dan Kurzius บริษัทมีพนักงานในตอนนี้ 550 คนแล้ว

mailchimp-website-v4

ถามว่าเคล็ดลับการทำสตาร์ทอัพที่ยั่งยืนคืออะไร ทางผู้ก่อตั้งไม่ได้บอกอะไรมาก Ben Chestnut บอกแต่เพียงว่าถ้าคุณต้องการทำธุรกิจอะไรสักอย่างให้สำเร็จ อย่าเดินตามทางซิลิคอนวัลเล่ย์ แต่เริ่มง่ายๆ ด้วยการทำให้ลูกค้าพอใจ และลืมเรื่องการระดมเงินจากนักลงทุนไปเสีย

สตาร์ทอัพตอนนี้ใช้เชื้อเพลิงที่มาจากการระดมทุน พึ่งพานักลงทุนมาก นำเรือไปจอดบนความเติบโตที่ไม่ยั่งยืน บริษัทเหล่านั้นลืมเรื่องการหาเงินและไม่เรียนรู้ ข้อมูลจากเว็บไซต์ LivingSocial, Pets.com ว่า ครึ่งหนึ่งของบริษัทสตาร์ทอัพต่างๆ พ่ายแพ้ไม่เป็นท่า

Jason Fried ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทซอฟต์แวร์ Basecamp ผู้ซึ่งเคยเขียนเกี่ยวกับการออกนอกลู่นอกทางของของการระดมทุน บอกว่า สำหรับผู้ประกอบการ ที่ต้องหารายได้มาตั้งแต่เริ่มทำกิจการ สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ หาเงิน จะดีกว่าการพึ่งพาแหล่งทุนอื่น พึ่งพาตัวเองดีกว่าพึ่งพาคนอื่น

Ben Chestnut หนึ่งในผู้ก่อตั้ง MailChimp
Ben Chestnut หนึ่งในผู้ก่อตั้ง MailChimp
Dan Kurzius หนึ่งในผู้ก่อตั้ง MailChimp
Dan Kurzius หนึ่งในผู้ก่อตั้ง MailChimp

MailChimp ก่อตั้งขึ้นมาในปี 2000 ช่วงที่ www กำลังบูม ทั้ง Ben Chestnut และ Dan Kurzius ถูกปลดจากงานประจำ และใช้เงินชดเชยที่ได้มาก่อตั้งบริษัทชื่อว่า Rocket Science Group ออกแบบธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่

จนกระทั่งช่วงปลายปี 2000 ลูกค้าบางส่วนถามถึงช่องทางเข้าถึงลูกค้าอีกช่อง ซึ่งก็คืออีเมล Chestnut จึงรื้อฟื้นการส่งการ์ดทักทายจากบริษัทผ่านอีเมลขึ้นมา โดยใช้การ์ดรูปลิงชิมแปนซี กลายเป็นบริการใหม่จากบริษัท คือบริการอีเมล ใช้ชื่อว่า ChimpMail แต่มีชื่อนี้ในโดเมนอยู่แล้วจึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อว่า MailChimp

ปี 2006  MailChimp ค่อยๆ พัฒนาดีไซน์เว็บไซต์ รายได้ก็มีมากขึ้น แต่อย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะสิ่งที่ทั้งสองเน้นคือ ช่วยให้ธุรกิจของลูกค้าโตขึ้น

mailchimp-cover

MailChimp เองก็มีนักลงทุนสนใจร่วมลงทุนเหมือนกัน แต่ Chestnut บอกว่า ทางบริษัทมีความใกล้ชิดกับลูกค้ามาก ซึ่งบรรดาคู่แข่งไม่มีตรงนี้ นอกจากนี้ยังเข้าใจว่าลูกค้าต้องการอะไร เพราะ MailChimp เองก็เป็นธุรกิจขนาดเล็กเหมือนกัน

Chestnut บอกว่า “ทุกครั้งที่นั่งคุยกับบรรดานักลงทุน ทำให้ผมรู้ว่าพวกเขาไม่เข้าใจสิ่งที่เรียกว่าธุรกิจขนาดเล็กเลย พวกเขามักจะบอกว่า ผมกำลังนั่งอยู่บนเหมืองทอง ถ้าขับเคลื่อนต่อไปให้เป็นบริษัทใหญ่จะยิ่งใหญ่มาก แต่บางสิ่งในใจผมกลับคิดว่า ไม่ นี่ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องแน่ๆ”

ที่มา – New York Times, รูปภาพ – Mailchimp

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา