เปิดข้อเสนอ Startup ถึงรัฐบาล หนุนใช้บริการสตาร์ทอัพไทย เพิ่มข้อได้เปรียบการค้า ปลดล็อคกฎหมาย

Startup เป็นธุรกิจเกิดใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาแก้ปัญหาหรือทำลายข้อจำกัดเดิมๆ ในอดีต ช่วงก่อนหน้านี้ถือเป็นช่วงเบ่งบานของ Startup ทั่วโลก แต่มาช่วงปีนี้ที่ดูเหมือน Startup จะเริ่มเงียบลงไป โดยเฉพาะในไทย ที่หลังจากกลุ่มแรกระดมทุนกันไปได้พอสมควรแล้ว กลับไม่มี Startup กลุ่มใหม่เกิดขึ้น

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะข้อจำกัดทางกฎหมายและขาดการสนับสนุนจากรัฐบาล มีแต่การจัดงานที่สุดท้ายแล้วไม่ได้ทำลายอุปสรรคเดิมๆ

พณชิต กิตติปัญญางาม CEO/Co-Founder ของ ZTRUS และนายกสมาคมสตาร์ทอัพไทย บอกว่า ประเด็นสำคัญคือ ต้องการสร้างการใช้งานให้เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ตอนนี้รัฐบาลใช้เงินไม่ถูกที่ ต่อให้สตาร์ทอัพสร้างนวัตกรรมมากแค่ไหน ถ้าไม่มีคนใช้งาน ธุรกิจก็ไม่เกิดขึ้น การลงทุนก็ไม่ตามมา ดังนั้น ต้องกระตุ้นให้คนไทยใช้งานสตาร์ทอัพไทย ไม่ใช่สตาร์ทอัพต่างประเทศ

“ธุรกิจที่เห็นได้ชัดในเวลานี้ เช่น ธุรกิจเดลิเวอรี่ ไม่มีของไทยเลย ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ก็ไม่มีของคนไทยเช่นกัน เทียบกับมาเลเซีย หรือ อินโดนีเซีย จะมีสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นคอยปกป้องตลาดอยู่ แต่ของไทยใช้บริการสตาร์ทอัพต่างประเทศล้วน เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องตระหนัก”

ทำให้สมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ หรือ Thailand Tech Startup Association หรือสมาคมสตาร์ทอัพไทย ได้จัดทำข้อเสนอนโยบายการสนับสสุนและส่งเสริมสตาร์ทอัพไทย โดยระบุว่า นโยบายจากรัฐบาลในปัจจุบันไม่ตอบโจทย์ เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้สตาร์ทอัพไทย ไม่สามารถแข่งขันกับนานาชาติภายในประเทศของตนเองได้ โดยแพลตฟอร์มและการบริการรายใหญ่ในประเทศไทยเป็นบริการจากต่างชาติ ส่งผลให้ทรัพยากรในประเทศรั่วไหลเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงข้อมูล (Data) ของคนไทย ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าอย่างยิ่งต่อภาครัฐและเอกชนทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ทางสมาคมฯ จึงได้หารือร่วมกับสตาร์ทอัพไทย และมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการสนับสนุนและส่งเสริมสตาร์ทอัพไทย เพื่อป้องกันเอกราชทางดิจิทัลของไทยเป็นการด่วน ซึ่งข้อเสนอนี้เป็นข้อเสนอเดิมตั้งแต่ปี 2013 แล้ว แต่จนปัจจุบัน ก็ยังไม่มีการแก้ไขปรับปรุง

ภาพจาก Shutterstock
  • นโยบายกระตุ้นการใช้บริการสตาร์ทอัพไทย (Revenue Boost)

สืบเนื่องจากค่านิยมของคนไทย ที่นิยมบริโภคของต่างชาติหรือแบรนด์ระดับโลก ทำให้การประกอบกิจการในประเทศไทย โดยคนไทย เป็นไปได้ค่อนข้างยาก อย่างไรก็ตามแบรนด์ต่างชาติทั้งหลาย ได้เริ่มต้นจากการได้รับการสนับสนุนในการประกอบกิจการในประเทศจนสำเร็จ แล้วจึงกลายเป็นแบรนด์ระดับโลกทั้งสิ้น ทางสมาคมฯ จึงมีข้อเสนอแนะให้เกิดการรณรงค์ให้เกิดนโยบาย “กินของไทย ใช้ของไทย” สำหรับสตาร์ทอัพ ดังนี้

ชิม ช้อป ใช้ สตาร์ทอัพ

กระตุ้นให้เกิดการใช้การบริการของสตาร์ทอัพไทย โดยมีนโยบายการประชาสัมพันธ์ที่รัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนและประชาชนสามารถขอ discount คืนในรูปแบบของเงินผ่านกระบวนการ ชิม ช้อป ใช้ หรือใกล้เคียงได้

1 กระทรวง 1 สตาร์ทอัพ

    1. สนับสนุนให้ทุกกระทรวง มีนโยบายในการสนับสนุน Startup ไทย อย่างน้อยกระทรวงละ 1 โครงการ หรืออาจเป็นนโยบาย “หนึ่งหน่วยงาน หนึ่งสตาร์ทอัพ” โดยทางสมาคมฯ มี Catalogue ที่สามารถทำการแนะนำ สตาร์ทอัพไทย ที่น่าจะเหมาะกับหน่วยงานให้ได้เบื้องต้นเพื่อประกอบการตัดสินใจ ทั้งนี้ รูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์อาจเป็นเชิง
    2. ใช้บริการ สตาร์ทอัพ
        1. พัฒนา Product/Service ร่วมกันเพื่อประชาชน
        2. Investment Deal

โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาเทคโนโลยี ลดความเสี่ยง และกระตุ้นรายได้ให้กับธุรกิจสตาร์ทอัพ ในประเทศไทย

Matching สตาร์ทอัพไทย กับ บริษัทเอกชน

เอกชนควรมีส่วนร่วมในการสนันสนุนการเจริญเติบโตของสตาร์ทอัพ และนวัตกรรมในประเทศไทย โดยรัฐบาลมีส่วนช่วยในการ Force Deal ให้เกิดขึ้นในรูปแบบใดก็ได้ เช่น Revenue หรือ Investment ผ่านนโยบายต่างๆ โดยอาจเป็นรูปแบบของ Facilitator ที่ภาครัฐเป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรม Business Matching ให้ และอาจมีแรงจูงใจ (Incentive) ให้แก่ผู้เข้าร่วม

Open API 

      1. การเปิด Open API Platform เพื่อให้สตาร์ทอัพไทย สามารถใช้ Infrastructure นี้ ในการดำเนินธุรกิจ โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาและเสียต้นทุนในการใช้ gateway platform อื่นๆ 
      2. ทำให้เงิน Flow ผ่าน Digital มากที่สุดเพราะ Digital Economy เป็นระบบเศรษฐกิจที่เร็วและตรวจสอบได้ โดยทางรัฐบาลจะได้ข้อมูลสำหรับการพัฒนานโยบายต่อไปอีกด้วย
      3. NDID ไม่ควรคิดค่าใช้จ่ายกับผู้ใช้ เพื่อให้ภาครัฐสามารถ Acquire ผู้ใช้งานได้เร็วและมากที่สุดโดยที่สามารถตรวจสอบได้ ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถก้าวไปสู่ Digital Economy ได้เร็วขึ้น

Startup SandBox

Innovation มักมาไม่พร้อมกับกฎหมาย และการอนุญาต Startup SandBox จะเน้นให้เกิดพื้นที่การทดลองนวัตกรรมต่างๆ ขึ้นจริง เพื่อให้สตาร์ทอัพไทยสามารถทดลอง และพัฒนาธุรกิจและเทคโนโลยีให้ทัดเทียมกับต่างชาติได้ โดยที่ไม่ต้องกังวลกับข้อกฏหมาย (ค่อยๆ ทำการพัฒนากฏหมายตามมา)

Startup Matching Fund

รัฐสามารถกระตุ้นการลงทุน โดยสนับสนุนให้เกิด Matching Fund เพื่อกระตุ้นให้มีการลงทุนจากนักลงทุนมืออาชีพ โดยไม่ต้องลงทุนเองโดยตรง อีกทั้งยังสามารถกระตุ้นอุตสาหกรรมเฉพาะได้เป็นพิเศษ โดยจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาในอุตสาหกรรมนั้นๆ โดยเฉพาะได้ เช่น กระตุ้น EdTech Startup ในอัตราการลงทุนแบบ Matching Fund 2:1 เป็นต้น

ภาพจาก Shutterstock
  • นโยบายเพิ่มข้อได้เปรียบในการทำการค้าสำหรับสตาร์ทอัพไทย (TAX)

  1. กฎหมายภาษีที่เรียกเก็บภาษีจาก Service ต่างประเทศ และลดภาษีของ Startup Service ในประเทศเพื่อป้องกันตลาด ตัวอย่าง: เก็บภาษี กับ Platform ต่างประเทศเช่น Alibaba และลดภาษีให้กับ Startup ไทยในเรื่องของ VAT (อาจดำเนินการผ่าน BOI) ถ้าไม่สามารถเก็บจาก platform ต่างประเทศได้ ก็ต้องงดเว้น Platform ของไทยเพื่อให้อัตราการแข่งขันเท่ากัน
  2. ลดภาษีสำหรับสตาร์ทอัพ ที่ดึงรายได้เข้าประเทศจากต่างประเทศได้ เพิ่มมาตรการสนับสนุนสตาร์ทอัพ ในการเปิดตลาดต่างประเทศเช่นการทำ Service ในการจด Trademark ในประเทศอื่นๆ ให้ หรือ กองทุนให้กู้ยืมในการไปจดทะเบียนในต่างประเทศ (บางประเทศ จะต้องมีเงินทุนเพื่อการเปิดบริษัทในกรณีที่เป็น บริษัทต่างชาติ)
ภาพจาก Shutterstock
  • นโยบายปลดล็อคทางกฏหมายเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจการสตาร์ทอัพ

สนับสนุนให้เกิดการนำข้อเสนอทางกฎหมายดังที่ได้เคยเสนอไปก่อนหน้านี้ ไปใช้จริง เช่น ESOP, Convertible Note, Capital Gain Tax Exemption และ Vesting

ปัจจุบันมีสตาร์ทอัพไทยจำนวนไม่น้อย ต้องย้ายไปจดทะเบียนบริษัทที่ต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ เพราะจะทำธุรกิจให้อยู่รอดก็ต้องเลือกทางที่ดีที่สุด ถ้ามีนักลงทุนสนใจก็จะชักชวนให้ไปจดทะเบียนที่สิงคโปร์ ซึ่งมีโอกาสการลงทุน การสนับสนุนจากรัฐ และได้ราคาที่ดีกว่า ดังนั้นหากรัฐบาลไทยสามารถแก้ไข ปรับเปลี่ยน กฎระเบียบและการสนับสนุนให้ดีขึ้น สตาร์ทอัพไทย จะได้ไม่ต้องย้ายไปต่างประเทศ

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา