หนุ่มเกาหลีวัย 38 ปีถูกศาลตัดสินจำคุกเป็นเวลา 1 ปีหลังจากตามส่องอดีตแฟนสาว ตามรำควานชีวิตเธอมากเกินไป เขาโทรหาเธอมากถึง 1,023 ครั้งภายในรอบ 24 วันแม้ว่าจะมีคำสั่งห้ามจากศาลแล้วก็ตาม
สื่อเกาหลีใต้ The Korea Times รายงานว่า ศาลในเมือง Wonju จังหวัด Chuncheon พบว่า จำเลยมีความผิดโทษฐานส่งข้อความข่มขู่ทางโทรศัพท์หลังจากแยกทางกับแฟนสาว ศาลได้ออกคำสั่งให้ยุติการติดต่อและยังส่งตัวเขาเข้ารับการบำบัดอาการ stalking (อาการสะกดรอยตาม หรือสอดส่องหรือตามติดชีวิตผู้อื่น) เป็นเวลา 40 ชั่วโมง ศาลระบุว่าจำเลยมีความผิด แม้ว่าศาลจะเคยออกคำสั่งห้ามแล้วก็ตาม
ภายใต้กฎหมาย anti-stalking ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้ต้นปีนี้ ผู้ที่เป็น stalker นี้จะต้องจำคุกเป็นเวลา 3 ปีหรือมีโทษปรับจำนวน 30 ล้านวอนหรือ 23,300 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ 8.44 แสนบาท
ข้อมูลจาก Katrina Baum นักวิจัยจากสถาบันเพื่อความยุติธรรมแห่งชาติในวอชิงตัน ได้มีการศึกษาเหยื่อของ stalker เหล่านี้ในปี 2009 โดยตั้งคำถามกับเหยื่อราว 3,416,460 คนถึงแรงจูงใจที่ทำให้มีคนสะกดรอยตามหรือตามส่องชีวิตพวกเขาพบว่า เหยื่อราว 36.6% มองว่าพวก stalker มีแรงจูงใจจากความโกรธแค้น ต้องการเอาคืน ขณะที่อีก 32.9% ตอบว่าพวก stalker เหล่านี้ตามส่องชีวิตก็เพราะต้องการควบคุมชีวิตเหยื่อ ขณะที่อีก 23.4% ระบุว่า ผู้ที่ตามส่องชีวิตเหยื่อ คือกลุ่มคนที่มีอาการป่วยทางจิตหรือมีความไม่มั่นคงทางอารมณ์
พฤติกรรม Stalking ของเหล่า Stalker นี้มักจะเป็นพฤติกรรมที่ทำให้ผู้คนรู้สึกหัวเสีย หงุดหงิด กังวลหรือกลัวความปลอดภัยของพวกเขา ส่วนสัญญาณที่บ่งบอกว่ากำลังมีพฤติกรรมสะกดรอยตามคนอื่นอยู่ มีดังนี้
- รู้ว่าผู้อื่นมีกำหนดการอะไร
- มีการส่งข้อความ โทรหาหรืออีเมล์หาซ้ำๆ
- ปรากฏตัวที่บ้าน หรือที่ทำงาน หรือโรงเรียนของเหยื่อโดยไม่ได้คาดหมาย
- ส่งของขวัญให้ โดยที่เหยื่อไม่ต้องการ
- ขโมยทรัพย์สินของบุคคลนั้นๆ
- ข่มขู่บุคคลนั้นๆ รวมทั้งเพื่อนหรือครอบครัวของเขาด้วย
- รวมถึงพฤติกรรมอื่นๆ ที่ทำให้เหยื่อรู้สึกไม่ปลอดภัย ถูกคุกคาม ถูกสอดส่องจับตา
อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจข้อมูลพบว่า อาการที่ชอบสะกดรอยตามผู้อื่นแบบที่ stalker เป็นนี้ยังถือว่าไม่ใช่โรคทางสุขภาพจิตที่ติดอันดับ Top 10 ที่ผู้คนเป็นกันมาก โรคดังกล่าวมีดังนี้ โรควิตกกังวล, โรคอารมณ์สองขั้ว, โรคซึมเศร้า, โรคหลายอัตลักษณ์, พฤติกรรมการกินอาหารที่ผิดปกติ, หวาดระแวง, ptsd (post-traumatic stress disorder ความผิดปกติหลังเกิดความเครียดที่สะเทือนใจ), โรคจิต (ภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการหลงผิดไปจากความจริง), โรคจิตเภท (กลุ่มอาการของโรคที่ผิดปกติ มีความคิดและการรับรู้ไม่ตรงกับความจริง) และโรคย้ำคิดย้ำทำ
- ผลสำรวจชี้ คนรุ่นใหม่ฮ่องกงเครียด สุขภาพจิตแย่ แต่ไม่ขอความช่วยเหลือเพื่อรักษา
- ปัญหาสุขภาพจิตคือเรื่องใหญ่ กระทบเกือบพันล้านคน อยู่ในประเทศรายได้น้อย ไม่ได้รับการักษา
ที่มา – The Korea Times, Psychology Today (1), (2), Medicinenet
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา