หลังจากที่หลายประเทศสาหัส ได้รับผลกระทบหนักทั่วโลกเพราะดำเนินกิจการต่อไปไม่ได้ เนื่องจากโควิด-19 ทำภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน กิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องหยุดความเคลื่อนไหวชั่วคราว โดยเฉพาะ supply chain ที่มีจีนเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก ทั้งในแง่ผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบหลัก ทั้งในแง่แรงงานราคาไม่แพง ทั้งในแง่ที่เป็นฐานการผลิตรายใหญ่
ด้วยเหตุนี้ หลายประเทศจึงมีความต้องการกระจายความเสี่ยง เตรียมย้ายฐานการผลิตกลับประเทศบ้าง ย้ายไปยังประเทศอื่นบ้าง หรือไปตั้งรกรากที่อื่นเพิ่ม เพื่อไม่ให้มีความกระจุกตัวที่จีนมากเกินไปแบบที่ผ่านมา ญี่ปุ่นเคยประกาศงบประมาณสำหรับการย้ายฐานผลิตจากจีนกลับประเทศอยู่ที่ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ (6.4 หมื่นล้านบาท) หากต้องการย้ายไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียนมีงบอยู่ที่ 2.35 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (7.5 แสนล้านบาท)
ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมเงินอุดหนุนบริษัทที่ต้องการความหลากหลายด้าน supply chain มากขึ้น บริษัทต่างๆ จะย้ายกลับประเทศหรือจะย้ายไปยังประเทศในอาเซียน ซึ่งก็มีบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งที่ระบุว่า จะยังคงฐานการผลิตไว้ที่จีนต่อไป เพราะการย้ายฐานอาจผลิตในเวลานี้อาจจะใช้งบประมาณที่ต้องจ่ายสูงเกินไป
- วิกฤตโรงงานโลก: ไวรัส COVID-19 พ่นพิษ ญี่ปุ่นเริ่มย้ายฐานการผลิตออกจากจีน
- มาไทยหรือไปเวียดนาม? Apple, Microsoft, Google เตรียมย้ายฐานการผลิตจากจีนมาอาเซียน
- อาเบะเตรียมจ่ายเงินให้บริษัทที่ย้ายโรงงานกลับประเทศญี่ปุ่น หวังลดการพึ่งพาต่างชาติ
- ไทยไม่ติดโผ โควิด-19 พ่นพิษไม่หยุด หลายบริษัททั่วโลกเตรียมย้ายฐานการผลิตออกจากจีน
- อินเดียเตรียมเสนอให้บริษัทสหรัฐกว่า 1,000 แห่งย้ายฐานการผลิตออกจากจีน หลังกระทบหนักจาก COVID -19
โตโยต้าระบุว่า เข้าใจข้อเสนอรัฐบาลดี แต่ว่าตอนนี้ยังไม่คิดเปลี่ยนใจ เพราะอุตสาหกรรมยานยนตร์ต้องอาศัยซัพพลายเออร์และปัจจัยหลายด้านประกอบกัน จะให้ย้ายทันที คงทำไม่ได้ ตอนนี้จึงยังไม่มีแผนที่จะย้ายฐานการผลิต
นอกจากนี้ บริษัท Lixil ที่เป็นผู้นำด้านผลิตภัณฑ์เพื่อที่อยู่อาศัยครบวงจร ก็ระบุว่า มีฐานการผลิตกว่า 100 แห่งทั่วโลก คิดว่ามีความยืดหยุ่นพอที่จะลดผลกระทบจากโควิด-19 ได้ จึงยังไม่มีแผนที่จะย้ายฐานการผลิตออกจากจีน
บริษัทแห่งที่สามไม่ต้องการเปิดเผยว่าเป็นบริษัทอะไร กล่าวว่า ตัวเองเป็นบริษัทที่ออกแบบผลิตภัณฑ์และทำสินค้าขายในจีน ไม่คิดที่จะย้ายบริษัทออกไปจากจีนเช่นกัน
ปรากฏการณ์ที่เป็นสาเหตให้ญี่ปุ่นผลักดันนโยบายหนุนเงินให้บริษัทต่างๆ ย้ายฐานการผลิตกลับประเทศ หรือกระจายความเสี่ยงไปยังประเทศอื่นๆ ในอาเซียน เกิดจากธุรกิจที่ถูกดิสรัปในช่วงโควิด นอกจากนี้ ยังกังวลว่าจะต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น หลังจีนทำสงครามการค้ากับสหรัฐฯ รวมถึงกรณีข้อพิพาทหมู่เกาะเตี้ยวหยู/ เซนกากุ ทำให้จีนขึ้นค่าแรงเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นด้วย นี่ยังไม่นับรวมปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ที่ต้องร่วมงานกันระหว่างสองประเทศอีก
Ivan Tselichtchev ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย Niigata ระบุว่า บริษัทหลายแห่งยังต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับจีน แม้จะมีเงินสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น แต่การย้ายฐานผลิตไปที่ใหม่ ประเทศใหม่นั้นมีต้นทุนสูง ไหนจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับบรรดาพนักงาน และยังจะมีหุ้นส่วนทางธุรกิจอีก ไม่ใช่เรื่องง่าย
ขณะที่ Jun Okumura นักวิเคราะห์จาก Meiji Institute for Global Affairs มองว่า จีนมีขนาดตลาดใหญ่มากถึง 1.3 พันล้านคน เป็นหนึ่งในประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว ญี่ปุ่นคงไม่อยากเสี่ยงที่จะคงฐานการผลิตไว้ที่เดิม หลายบริษัทจึงเตรียมตัวรับมือให้ตัวเองมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น
ที่มา – South China Morning Post
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา