SME อยู่เป็น! ต้องคุมกระแสเงินสดได้-ใช้สินเชื่อให้ถูกจุด

ที่ผ่านมา SME ของไทยมีแค่ 50% เท่านั้นที่ผ่านปีแรกไปได้ แต่เมื่อเข้าธุรกิจปีที่  2 ก็มีบริษัทต้องปิดตัวไปอีก มาหาสาเหตุและทางออกให้ SME อยู่เป็นและทำธุรกิจให้เติบโตในสถานการณ์นี้กัน

ปัญหาใหญ่ SME ไม่บริหารกระแสเงินสด

เริ่มต้นทำธุรกิจ SME เหมือนจะไม่ยาก แต่การจะทำธุรกิจเติบโตและอยู่ได้ในระยะยาวต้องมาจากหลายอย่าง ตั้งแต่ทำสินค้าให้ดี คุมต้นทุน ทำยอดขายให้สูง และสร้างกำไรกลับมาหล่อเลี้ยงบริษัท

แต่ถ้าธุรกิจไม่บริหารสภาพคล่องให้มีกระแสเงินสดพอที่จะหมุนในธุรกิจ SME ก็ไปไม่รอด เช่น สินค้าขายดี มีกำไร แต่ธุรกิจเก็บเงินค่าสินค้าไม่ได้ตามเวลา ไม่มีเงินพอที่จ่ายค่าวัตถุดิบเพื่อออกสินค้าใหม่ๆ ฯลฯ ก็ทำให้ธุรกิจสะดุดแน่นอน

Brand Inside มี 3 วิธีนำเสนอให้ SME เริ่มต้นสร้างกระแสเงินสดที่ดีขึ้น ได้แก่

  1. การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายตามจริง ข้อดีคือเจ้าของจะรู้สถานะการเงินของตนเอง รู้ต้นทุน ที่สำคัญต้องแยกค่าใช้จ่ายของเจ้าของธุรกิจออกจากบัญชีธุรกิจ เมื่อทำบัญชีชัดเจนและมีบัญชีเดียวจะช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้น เพราะขอสินเชื่อธนาคารได้ง่าย และไม่ต้องกังวลเรื่องกรมสรรพากรจะเรียกตรวจภาษีฯ ย้อนหลัง
  1. “คิด วิเคราะห์ แยกแยะ” บัญชีรายรับ-รายจ่ายที่เป็นจริง เพื่อแยกกำไรสุทธิเป็น 3 ส่วน (เผื่อฉุกเฉิน-เพื่อลงทุน-กำไรสะสม) และแบ่งรายจ่ายประจำ ทั้งรายวัน และรายเดือนให้ชัดเจน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ชำระหนี้ ค่าวัตถุดิบ ฯลฯ
  2. คำนวนกระแสเงินสดที่จำเป็นต้องใช้จ่ายทั้งรายวัน รายเดือน ขณะเดียวกันต้องแบ่งเงินฉุกเฉิน (ประมาณ 1-3 เท่าของรายใช้จ่ายประจำ)

ปัญหา “ไม่มีเงิน” ต้องแก้อย่างไร?

หากมีปัญหาต้องใช้เงินฉุกเฉิน หรืออยากขยายการลงทุน จำเป็นต้องกู้ยืมเงิน หลายคนอาจจะกู้หนี้นอกระบบต้องรับความเสี่ยงที่ตามมา เช่น ดอกเบี้ยสูง (15-100% ต่อปี) กฎเกณฑ์และเงื่อนไขไม่ชัดเจน เมื่อเกิดปัญหาขึ้นไม่มีผู้กำกับดูแล (ธนาคารพาณิชย์มีธนาคารแห่งประเทศไทยกำกับ) ดังนั้นถ้าใช้สินเชื่อกับธนาคารก็ยังมีกฎหมายรองรับ

เมื่อเลือกที่จะกู้เงิน สิ่งที่ต้องใส่ใจคือ การจ่ายคืนหนี้-ดอกเบี้ย-แผนการใช้เงิน-ความเสี่ยง

SME ต้องดูบัญชี กระแสเงินสดของตนเองว่าสามารถจ่ายคืนหนี้ได้เดือนละเท่าไร? มีสินทรัพย์ที่ใช้ขอสินเชื่อได้ไหม? ซึ่งสินเชื่อที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันดอกเบี้ยมักจะถูกกว่าสินเชื่อไร้หลักประกัน แถมทุกวันนี้ยังมีกฎหมายหลักประกันออกมา สามารถใช้เครื่องจักร ในคำสั่งซื้อลูกค้าขอสินเชื่อธนาคารได้ด้วย

แต่จุดสำคัญก่อนจะกู้เงิน คือ วางแผนการใช้เงิน ธนาคารส่วนใหญ่จะดูส่วนนี้ประกอบการให้สินเชื่อด้วย

สินเชื่อ SME ของธนาคารเงื่อนไข ดอกเบี้ยเป็นอย่างไร?

อย่างเช่น ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ออกกรุงศรี SME สินเชื่อทันใจ และสินเชื่อพร้อมขยาย เงื่อนไขหลัก คือ ผู้กู้ต้องเป็นผู้ประกอบการสัญชาติไทย อายุ 20-65 ปี

จุดเด่นคือ ให้วงเงินสินเชื่อสูงสุด  3 เท่าของมูลค่าหลักประกัน เช่น เงินฝาก ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ฯลฯ ถ้าหลักทรัพย์ไม่เพียงพอสามารถใช้บริการ บสย.ค้ำประกันวงเงินสินเชื่อได้ (ฟรีค่าธรรมเนียมบสย.ตลอดระยะเวลากู้)

ขอกู้วงเงินได้ตั้งแต่ 3 แสน – 10 ล้านบาท ผ่อนได้นานสูงสุดถึง 10 ปี

เงื่อนไขคือ คนที่จะขอสินเชื่อได้ต้องทำธุรกิจในไทยอย่างน้อย 2 ปี มีผลประกอบการที่ดี มีประวัติการเงินดี และต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันสินเชื่อ ดอกเบี้ยก็ขึ้นอยู่กับหลักทรัพย์

สินเชื่อทันใจ สำหรับคนที่ใช้ “เงินฝาก” เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งดอกเบี้ยอยู่ที่ MRR + 3.25-3.5% ต่อปี*

สินเชื่อพร้อมขยาย สำหรับ SME ที่ใช้ “อสังหาริมทรัพย์ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ฯลฯ” เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ดอกเบี้ยจะไม่เกิน MRR + 3.25-3.5% ต่อปี*

*ขึ้นอยู่กับประเภทของสินเชื่อ

สุดท้าย SME ต้องมีวินัยในหารใช้จ่าย และวางแผนการเติบโตระยะยาว ไว้ด้วย หากมองแต่การแก้ปัญหาระยะสั้น วงจรธุรกิจก็อาจสั้นไปด้วย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา