Cashless Society ในไทยเกิดยาก เหตุผู้บริโภคเรียนรู้ช้า แถมแรงจูงใจยังน้อย

ประเด็น Cashless Society กลายเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงตลอดในช่วงนี้ เพราะมันเป็นหนึ่งในนโยบาย 4.0 ของรัฐบาล แต่คนไทยจะก้าวไปถึงจุดนั้นได้จริงเหรอ?

ภาพ pixabay.com

ATM อีกดูดต้นทุนบริหารเงินสดของธนาคาร

ผู้อ่านบางท่านคงเห็นประโยชน์ของ Cashless Society กันไปบ้างแล้ว แต่สำหรับท่านที่นึกไม่ออก ประโยชน์ของ Cashless Society ก็ตรงกับคำแปล นั่นคือสังคมที่ไม่มีเงินสด พอไม่มีเงินสด อะไรๆ ที่แย่ๆ และมีเงินสดเข้ามาเกี่ยวข้องก็แทบจะหายไปในทันที

ยกตัวอย่างง่ายๆ คือเรื่อง “คอรัปชั่น” เพราะเมื่อไม่มีเงินสด การจะโกงกิินมันก็ยากขึ้นระดับหนึ่ง ผ่านการตรวจสอบทางการเงินที่ชัดเจน หรือไม่ก็เรื่อง “ต้นทุนบริหารจัดการเงินสด” เนื่องจากสถาบันการเงินต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้เยอะมาก ทั้งๆ ที่ปัจจุบันก็มี Solution มากมายมาช่วยแก้ปัญหา

ฐากร ปิยะพันธ์ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์

ฐากร ปิยะพันธ์ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ยอมรับว่า ตู้ ATM คืออีกบริการที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เพราะในแต่ละปีต้นทุนการบริหารจัดการเงินสด เช่นการขนส่งเงิน ก็อยู่ที่ 9,000 ล้านบาท รวมถึงประเทศไทยที่ตั้ง ATM กว่า 50,000 ตู้ ก็คิดเป็นมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาทเลยทีเดียว

Cash หายไป Cryptocurrency จะเข้ามาแทน

“เงินที่อยู่ในตู้ ATM ตอนนี้รวมมูลค่าราว 2 แสนล้านบาท ถือว่าเยอะมาก และจริงๆ เงินก้อนนี้มันน่าจะหมุนเวียนไปในทิศทางอื่นได้ ไม่ใช่รอแค่ผู้บริโภคมากดใช้ แต่ถ้าเงินเหล่านี้หายไป และผู้บริโภคไปใช้การโอน-จ่ายผ่าน Application ทั้งหมด โอกาสที่ Cryptocurrency จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นก็มีสูง”

ภาพ pixabay.com

ขณะเดียวกันการกระตุ้นผู้บริโภคให้มาใช้งานบัตรเครดิต และเดบิต เพื่อเดินหน้า Cashless ก่อนหน้านี้ก็ยังยาก เพราะถึงปัจจุบันก็มี Active Card เพียง 20 ล้านใบ แต่สัดส่วนของคนที่มีบัตรเทียบกับประชากรทั้งหมดนั้นน้อยมาก และแม้จะส่งนวัตกรรมใหม่ๆ มา เช่น Tap to Pay หรือ Scan to Pay ก็ไม่ได้จูงใจผู้บริโภคนัก

กระตุ้นให้ถูกจุด อาจเปลี่ยนพฤติกรรมได้

ส่วนตัวมองว่า Cashless Society ก็ยังมีโอกาสเกิดในประเทศไทยได้ หากหน่วยงานรัฐ และสถาบันการเงินออกนโยบายกระตุ้นให้ตรงจุด ไม่ว่าจะเป็นการสั่งให้พนักงานเข้าไปประกบกับร้านค้า เพื่อสอนการรับชำระเงินด้วยบัตร และ Application จนคุ้นชิ้นให้ได้ ส่วนฝั่งผู้บริโภคก็ต้องมีสิทธิประโยชน์ต่างๆ เข้ามาจูงใจเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมด้วย

ซึ่งต่างกับประเทศจีน ที่ตอนนี้ทุกคนแทบจะไม่พกเงินสดกันแล้ว เพราะทุกอย่างมันอำนวยความสะดวกมากกว่า

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา