“แค่เงินเดือนไม่พอ พนักงานในอนาคตต้องการความหมายในการทำงาน” คุยกับภคพรรค์ วัลลศิริแห่ง Gallup ประเทศไทย

ชวนอ่านมุมมองของ ภคพรรค์ วัลลศิริ Country Manager ของ Gallup ประเทศไทย ในประเด็นทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นโลกยุคใหม่แห่งการทำงานหรือ Future of Work

ภคพรรค์ วัลลศิริ Country Manager ของ Gallup ประเทศไทย
ภคพรรค์ วัลลศิริ Country Manager ของ Gallup ประเทศไทย

โควิดทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

วิกฤตโควิดทำให้เราเห็นแล้วว่า สิ่งที่เราคิดว่าในอีก 10 ปีจะเกิดขึ้น ก็ได้เกิดขึ้นจริงแล้วในวันนี้ องค์กรใดที่เคยคิดแผนในการเปลี่ยนผ่านองค์กร วันนี้จึงต้องยิ่งทำอย่างรวดเร็วมากขึ้น เพราะหลายสิ่งหลายอย่างในแวดวงการทำงานได้เปลี่ยนแปลงไป

World Economic Forum ระบุว่า ในอีกไม่ช้าคนจะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ในตลาดแรงงาน นอกจากนั้นกรมแรงงานของสหรัฐอเมริกา ยังระบุว่า ภายใน 5 ปีหลังจากนี้ ทักษะที่แรงงานมีอยู่จะมีความสำคัญต่อตลาดเพียงแค่ครึ่งเดียวเท่านั้น

สำหรับสังคมไทยเองก็มีความตื่นตัวพอสมควร โดยเฉพาะภาคเอกชนที่ได้เห็นเทรนด์จากต่างประเทศ โดยมีการปรับวิธีการทำงาน ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารไทยหลายแห่งก็ให้พนักงานทำงานจากที่บ้านได้ ทั้งที่ในยุคก่อนจะมีความกังวลเรื่องความปลอดภัย นี่คือการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานที่เห็นได้ชัดเจน

“การสื่อสาร” คือหัวใจของการสร้างวัฒนธรรม

หนึ่งในคำถามสำคัญในยุคที่ราต้องทำงานจากที่บ้านหรือ Work From Home

  • คำถามคือ เมื่อตัวห่างไกลกัน เราจะสร้างวิธีการเพื่อสื่อสารวัฒนธรรมขององค์กร หรือจะสร้าง engagement กับพนักงานได้อย่างไร

คำตอบคือ “การสื่อสาร” ยิ่งห่างไกลกัน ยิ่งต้องสื่อสารให้มากขึ้น ในยุคก่อน หัวหน้างาน (manager) จะเป็นคนที่สร้างความสัมพันธ์ในทีม แผนก หรือองค์กร แต่ในอนาคตหัวหน้างานจะต้องเน้นไปที่ประสิทธิภาพในการทำงาน (performance) และสร้าง expectation ที่ชัดเจน โดยมีวิธีการวัดผลประเมินผลที่หลากหลาย อย่างไรก็ตาม การจะสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีต้องเริ่มที่หัวหน้าแล้วไล่ลงมายังพนักงาน นี่คือวิธีการสร้าง engagement หรือการมีส่วนร่วมของพนักงานในการสร้างวัฒนธรรมที่ไม่ได้ยึดติดเพียงว่าจะต้องเป็นพื้นที่ออฟฟิศเท่านั้น แต่ในโลกแห่งการทำงานแบบ work from anywhere ก็สามารถสร้างได้

Photo : Shutterstock

ทักษะที่จำเป็นต่อโลกอนาคต

สิ่งที่จำเป็นต่อโลกการทำงานในอนาคตมี 2 ส่วน

  1. วิธีคิด (Mindset) คนทำงานในอนาคตจะต้องมี Growth Mindset คือต้องการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เปิดรับต่อความเปลี่ยนแปลง (open to change) และมองการเปลี่ยนแปลงเป็นโอกาส รวมถึงเรียนรู้ตลอดเวลา
  2. ทักษะ (Skill) ที่ต้องมีได้แก่ ทักษะทางสังคม, ทักษะในการใช้อารมณ์ได้อย่างถูกต้องตามสถานการณ์ สิ่งเหล่านี้คือ Social & Emotional Skill ถือเป็นสิ่งที่หุ่นยนต์ทำไม่ได้ นอกจากนั้น ต้องมี Empathy, Advance Communication, High Cognitive Skill, Critical Thinking และ Creativity ร่วมด้วย

แรงงานในอนาคตทำงานเพื่อ “ความหมาย” ไม่ใช่แค่เงินเดือน

คนทำงานในอดีตเพื่อความมั่นคง แต่คนทำงานในโลกอนาคตหรือ New Workforce ไม่ได้คิดเรื่องเงินทองเป็นหลักแล้ว (แต่ยังสำคัญอยู่) เพราะสิ่งที่เขาต้องการคือความหมายในงานที่ทำ

สิ่งนี้คือวัตถุประสงค์ (Purpose) ในการทำงาน คนทำงานระดับ Top Talent จะพิจารณาสิ่งเหลานี้เป็นอันดับแรก เพราะความหมายทำให้การทำงานของเขาเต็มเปี่ยมไปด้วย passion มีไฟในการทำงาน และที่สำคัญ พวกเขาสามารถเรียนรู้และเก่งขึ้นกว่าเดิมจากงานที่ทำ

หนทางแห่งการ Reskill & Upskill ของคนทำงานในศตวรรษที่ 21

ถ้าอยากฟังวิธีการ Reskill, Upskill รวมถึงการ Learning Skill อย่างละเอียดและเจาะลึกมาขึ้น สามารถมาฟังได้ที่งาน Brand Inside Forum 2020: New Workforce ในหัวข้อ Skills for 21st Century Workforce กับสปีกเกอร์ที่มีประสบการณ์ และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพคนทำงาน อย่าง SEAC โดย อริญญา เถลิงศรี และ ภคพรรค์ วัลลศิริ จาก Gallup ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 ณ สามย่าน มิตรทาวน์ ฮอลล์

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา