เป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนทันที เมื่อ บมจ.สิงห์ เอสเตท ประกาศซื้อหุ้น 30% กิจการโรงงานผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วม ขนาดใหญ่ 3 แห่ง โดยการเข้าซื้อหุ้นจะเริ่มขึ้นเมื่อได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นของสิงห์ เอสเตท ที่มีกำหนดประชุมสามัญประจำปี 23 เม.ย. 64 แต่ก่อนจะถึงวันนั้น ลองมาดูกันว่าโรงงานผลิตไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งเป็นอย่างไร
สิงห์ เอสเตท ได้ประกาศว่า เป็นบริษัทเดียวที่ได้รับสิทธิ์เข้าซื้อหุ้นสามัญ 30% ในโรงงานผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วม (Co-generation power plant) ขนาดใหญ่ จำนวน 3 แห่ง ซึ่งมีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้ารวมกัน 400 เมกะวัตต์ โดยเป็นสิทธิ์ซื้อที่ราคาพาร์ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,392 ล้านบาท
รับสิทธิ์ซื้อหุ้น 30% ใน 3 โรงไฟฟ้าใหญ่แต่เพียงผู้เดียว
ฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ สิงห์ เอสเตท บอกว่า ใบอนุญาตโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีขนาดกำลังผลิตระดับนี้หาได้ไม่ง่าย ดังนั้น เมื่อมีโอกาสได้รับสิทธิ์ในการเข้าถือหุ้นในโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า 3 แห่ง
โรงงานผลิตไฟฟ้าแห่งแรก คือ โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าและพลังงานความร้อนร่วม ของบริษัท อ่างทอง เพาเวอร์ จำกัด ที่นิคมอุตสาหกรรมเวิลด์ ฟู๊ด วัลเลย์ ไทยแลนด์ จังหวัดอ่างทอง โดยดำเนินการผลิตอยู่แล้ว ด้วยกำลังการผลิตอยู่ที่ 123 เมกะวัตต์
โรงงานแห่งที่ 2 และ 3 คือ โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าแห่งใหม่ที่กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง มีบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ (ราชบุรี) 1 จำกัด และบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ (ราชบุรี) 2 จำกัด เป็นเจ้าของใบอนุญาต อยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมเวิลด์ ฟู๊ด วัลเลย์ ไทยแลนด์ มีกำหนดเปิดดำเนินการในปี 2566 โดยจะมีกำลังการผลิตอยู่ที่โรงงานละ 140 เมกะวัตต์
สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า ถือเป็นกลุ่มธุรกิจที่ 4 ของสิ
ธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้า การเติมเต็มธุรกิจที่แข็งแกร่ง
การเข้าซื้อหุ้นครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีมากสำหรับสิงห์ เอสเตท เพราะ การที่ไฟฟ้าจำนวน 270 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นเกือบ 70% ของกระแสไฟฟ้าที่ทั้ง 3 โรงไฟฟ้านี้จะผลิตได้รวมกัน สามารถขายได้ล่วงหน้าและจะเป็นราคาตามที่ตกลงกันแล้วด้วย
ส่งผลให้สิงห์ เอสเตท จะสร้างรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในอนาคต โดย อ่างทอง เพาเวอร์ เป็นโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่ทำกำไรได้โดยไม่จำเป็นต้องขายไฟให้กับผู้ใช้ทั่วไป และกระแสไฟฟ้าจำนวน 75% ของกระแสไฟฟ้าทั้งหมดที่ผลิตได้ ได้ถูกทำสัญญาซื้อโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 25 ปี
คาดการณ์ว่า โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง จะสร้างรายได้ราว 7,500 ล้านบาท ในปี 2567 นี่คือการเข้ามาส่งเสริมซึ่งกันและกันของธุรกิจในเครือสิงห์ เอสเตท (Synergy Benefits) โดยช่วงแรกการลงทุนจะใช้เงินกู้จากธนาคาร จากนั้นจึงจะลงทุนเองในภายหลังในจำนวนไม่มาก
สิงห์ เอสเตท มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนที่ต่ำ อยู่ที่ 0.96 เท่า และสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อีก 25,000 ล้านบาท
สร้างบริษัทที่มีรายได้ 20,000 ล้านบาทใน 3 ปี
จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ประธานกรรมการ ของ สิงห์ เอสเตท บอกว่า การซื้อหุ้นโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าคือจิ๊กซอว์สำคัญ ที่ทำให้ สิงห์ เอสเตท ขึ้นเป็นหนึ่งในบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ผลิตกระแสไฟฟ้า และให้บริการด้านวิศวกรรมอันดับต้นๆ ของประเทศไทย
ธุรกิจขยายตัวขึ้น 3 เท่า และมีรายได้ 20,000 ล้านบาทต่อปี ภายในระยะเวลา 3 ปีจากนี้
นี่คือจังหวะสำคัญ โดยมี 3 กลุ่มธุรกิจเดิมเป็นแกนหลัก และมีกลุ่มธุรกิจที่ 4 สนับสนุน มีความมั่นคงและมีผลตอบแทนที่แน่นอนสม่ำเสมอ และยังสร้างโอกาสใหม่ๆ ในอนาคต สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ท่ามกลางสถานการณ์ทางธุรกิจที่ยากจะคาดเดาได้ ทั้งในประเทศและทั่วโลก
ปัจจุบัน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ สร้างรายได้ประมาณ 15% ธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ต 39 แห่งใน 5 ประเทศ สร้างรายได้ประมาณ 24% และโครงการที่พักอาศัย 23 โครงการ ทั้งแนวราบและคอนโดมิเนียม เช่น แบรนด์สันติบุรี, The ESSE และอื่นๆ สร้างรายได้ประมาณ 57%
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา