สิงคโปร์ติดอันดับ Top 3 เมืองที่มีความสุขมากที่สุดในโลก นับจาก 200 เมือง ไทยไม่ติดสักอันดับ

การจัดอันดับเมืองที่มีความสุขมากที่สุดในโลกประจำปี 2025 รวมทั้งหมด 200 เมือง พบว่า สิงคโปร์คือ 1 ใน 3 ของประเทศที่มีเมืองติดอันดับมีความสุขมากที่สุดในโลก ตามด้วยโซล เกาหลีใต้ และไทเป ไต้หวัน 

Singapore

สำหรับ 10 เมืองแรกที่มีความสุขมากที่สุดในโลก ดังนี้

1) โคเปนเฮเกน เดนมาร์ก 1,039 คะแนน 2) ซูริก สวิตเซอร์แลนด์ 993 คะแนน 3) สิงคโปร์ 979 คะแนน 4) เมืองออฮุส เดนมาร์ก 958 คะแนน 5) แอนต์เวิร์ป เบลเยียม 956 คะแนน6) โซล เกาหลีใต้ 942 คะแนน 7) สต็อกโฮล์ม สวีเดน 941 คะแนน 8) ไทเป ไต้หวัน 936 คะแนน 9) มิวนิก เยอรมนี 931 คะแนน 10) รอตเทอร์ดาม เนเธอร์แลนด์ 920 คะแนน

สำหรับสิงคโปร์ คะแนนรวม 979 คะแนน แบ่งได้ดังนี้ ด้านพลเมือง 210 คะแนน ธรรมาภิบาล 192 คะแนน สิ่งแวดล้อม 151 คะแนน เศรษฐกิจ 174 คะแนน สุขภาพ 122 คะแนน ความคล่องตัว 101 คะแนน

ส่วนเมืองในเอเชียที่เหลือจากการจัดลำดับ จาก 200 อันดับ ดังนี้ 42. โตเกียว ญี่ปุ่น, 54. ปักกิ่ง จีน, 55. ปูซาน เกาหลีใต้, 59. อุลซัน เกาหลีใต้, 72. อินชอน เกาหลีใต้, 75. ซินจู๋ ไต้หวัน, 87. จางฮว่า ไต้หวัน, 91. เกาสง ไต้หวัน

110. อู่ฮั่น จีน, 113. ไถจง ไต้หวัน, 115. เถาหยวน ไต้หวัน, 128. เซี่ยงไฮ้ จีน, 129. โอซากา ญี่ปุ่น, 134. ไถหนาน ไต้หวัน, 136. ต้าเหลียน จีน, 137. จี่หนาน จีน, 138. ริยาด ซาอุดิ อาระเบีย

153. ซัปโปโร ญี่ปุ่น, 155. ซูโจว จีน, 164. โกเบ ญี่ปุ่น, 167. กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย, 168. เฉิงตู จีน, 169. เกซอน ฟิลิปปินส์, 172. เจียอี้ ไต้หวัน, 172. จีหลง ไต้หวัน, 174. เซบู ฟิลิปปินส์, 183. เปตาลิง จายา มาเลเซีย, 190. คุนหมิง จีน และ 193. มาคาติ ฟิลิปปินส์

Singapore

สำหรับการจัดอันดับนี้จัดทำภายใต้โครงการ Institute for Quality of Life จัดทำโดย Happy City Hub Ltd. โดย Institute for Quality of Life ได้จัดทำวิจัยที่คอยติดตาม วิเคราะห์และศึกษาในประเด็นการตัดสินใจที่เกี่ยวกับชุมชน นโยบายสังคม การให้บริการทางสาธารณะ และประสิทธิภาพ ในการแก้ปัญหาและวิกฤตใหม่ๆ ที่ชุมชนต้องรับมือ 

นอกจากนี้ ยังขยายประเด็นไปที่เรื่องกิจกรรมทางธุรกิจที่ให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนกลยุทธ์ โดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง มีประเด็นเรื่องการจัดการที่ครอบคลุมคนทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย ไปจนถึงความสุขส่วนบุคคลของบุคลากรในองค์กรต่างๆ โดยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาก็ให้ความสำคัญกับประเด็น Work-life balance ที่สร้างสมดุลให้ผู้คนในการใช้ชีวิตและการทำงาน 

ภารกิจสำคัญของ Institute for Quality of Life ก็คือ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนผ่านการเผยแพร่งานวิจัยที่น่าเชื่อถือเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ ซึ่งทางสถาบันเข้าใจดีว่าคนบนโลกนี้มีความหลากหลาย มีชีวิตที่แตกต่าง มีความเฉพาะตัว มีปัจจัยมากมายมหาศาลที่ทำให้ชีวิตคนแตกต่าง แนวความคิดเรื่องความสุขนั้นเป็นเรื่องส่วนบุคคล ยังมีปัจจัยเรื่องประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา และที่ตั้งทางภูมิรัฐศาสตร์ของแต่ละประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย 

การวิเคราะห์จาก KPI ยังไม่เพียงพอ แต่ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด มีปัจจัยพื้นฐานสำคัญ 2 ประการที่สร้างความสุขได้ ก็คือ การสร้างความสัมพันธ์ ที่มีส่วนสนับสนุนให้เรามีความสุข และการศึกษา ซึ่งไม่สามารถนำมาเน้นย้ำและให้ความสำคัญมากเกินไป

Singapore

ปัจจัยที่นำมาวิเคราะห์ มี 6 ธีม ดังนี้

ธีมที่ 1 พลเมือง

แบ่งการศึกษาออกเป็น 5 ประเด็น แต่ละประเด็นจะมีตัวชี้วัดแตกต่างกัน ดังนี้

  • ระบบการศึกษา มีตัวชี้วัด ดังนี้ ผลการสอบ, รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต, ศูนย์ความรุ้, ความสามารถในการศึกษาระดับสูง, ระบบการดูแลเด็กตั้งแต่แรกเกิด, ระดับการศึกษาขั้นสูง, ความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ, ความรู้ด้านดิจิทัล
  • นโยบายครอบคลุม มีตัวชี้วัด ดังนี้ การดำเนินการเพื่อคนพิการ ทุพพลภาพ, การให้ความสนับสนุนคนสูงวัย คนชรา, คนไร้บ้าน, การเข้าถึงบริการด้านภาษาของหน่วยงานชุมชนในท้องถิ่น, การย้ายถิ่นฐานในประเทศ, ความเป็นพลเมืองโลก
  • นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ของผู้อยู่อาศัย มีตัวชี้วัด ดังนี้ การสนับสนุนด้านนวัตกรรม, การมีส่วนร่วมในอุสาหกรรมสร้างสรรค์
  • ที่อยู่อาศัย มีตัวชี้วัด ดังนี้ ความสามารถในการจัดหา เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย, ความสามารถในการจัดหา เพื่อเช่าที่อยู่อาศัย
  • การเข้าถึงวัฒนธรรม มีตัวชี้วัด ดังนี้ วัสดุ, โครงสร้างพื้นฐาน, การเงิน และเครือข่ายห้องสมุดในระดับเทศบาล (ในท้องถิ่น)

ธีมที่ 2 ธรรมาภิบาล

แบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ประเด็น ดังนี้

  • การมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจของผู้อยู่อาศัย มีตัวชี้วัดคือ การสนับสนุนองค์กรเอกชน (NGO), ความร่วมมือ และการเลือกตั้งท้องถิ่น
  • ความโปร่งใสในการดำเนินงานและการเปิดเผยข้อมูล มีตัวชี้วัดคือ ข้อมูลเปิด (Open Data), ปริมาณและคุณภาพของข้อมูลเปิด
  • การเข้าถึงบริการสาธารณะ มีตัวชี้วัดคือ ระบบรายงานความผิดพลาด, การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payments) และการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Services)
  • กลยุทธ์ที่สร้างความตระหนักรู้ มีตัวชี้วัด คือ การพัฒนากลยุทธ์, การบริหารเมืองแบบอัจฉริยะ (Smart Governance) และกลยุทธ์ในแต่ละภาคส่วน

Singapore

ธีมที่ 3 สิ่งแวดล้อม

แบ่งการศึกษาออกเป็น 5 ประเด็น

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานหมุนเวียน มีตัวชี้วัด ดังนี้ แหล่งพลังงานหมุนเวียน, การบริโภคพลังงาน
  • การป้องกันมลพิษ มีตัวชี้วัด คือ มีฝุ่นละอองที่มีขนาดน้อยกว่า 10 ไมครอน, มีการเดินทาง เคลื่อนย้ายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  • การจัดการขยะ น้ำเสีย และการรีไซเคิล มีตัวชี้วัดคือ การจัดการขยะ, การจัดการน้ำเสีย, การใช้น้ำ และการรีไซเคิล
  • พื้นที่สีเขียว มีตัวชี้วัดคือ สวนสาธารณะ และการแบ่งปันพื้นที่สีเขียว
  • การปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ มีตัวชี้วัดคือ การดำเนินการเพื่อป้องป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และกลยุทธ์เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ

ธีมที่ 4 เศรษฐกิจ

แบ่งการศึกษาออกเป็น 5 ประเด็น

  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และผลิตภาพ มีตัวชี้วัด ดังนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ, ภาคเอกชน และภาครัฐ, การเติบโตประจำปี
  • นวัตกรรมทางธุรกิจ มีตัวชี้วัด คือ การใช้ใช้จ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนา, สิทธิบัตร
  • การเป็นผู้ประกอบการ มีตัวชี้วัด คือ บริษัทที่ยังดำเนินการอยู่ และธุรกิจใหม่
  • ความยืดหยุ่นของตลาดแรงงานและการว่างงาน มีตัวชี้วัด คือ การว่างงาน, การจ้างงานคนพิการหรือคนทุพพลภาพ, รายได้หรือค่าครองชีพ และการเงินของบุคคลที่เป็นแม่หรือพ่อเมื่อต้องลาคลอดบุตร
  • การทำวิสาหกิจให้เป็นสากล มีตัวชี้วัดคือ สำนักงานใหญ่ของบริษัทและพันธมิตรต่างประเทศ
Singapore Marina Pier สิงคโปร์
ภาพจาก Shutterstock

ธีมที่ 5 สุขภาพ

แบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ประเด็น

  • สุขภาพจิต มีตัวชี้วัด ดังนี้ การให้ความสนับสนุนด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ใหญ่, ความเป็นอยู่ที่ดีในโรงเรียน, อัตราการฆ่าตัวตาย, การใช้คำพูดที่แสดงความเกลียดชัง
  • ความปลอดภัย มีตัวชี้วัด คือ ความพร้อมในการรักษา, การฉีดวัคซีน, การให้ความคุ้มครองด้านประกันสุขภาพที่ครอบคลุมประชากร และความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะ
  • โภชนาการ มีตัวชี้วัด คือ โรคอ้วน, โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความมั่นคงทางอาหาร
  • Work-Life Balance มีตัวชี้วัดคือ ชั่วโมงการทำงาน, วันหยุดพักผ่อน และค่าเฉลี่ยจำนวนปีที่คาดว่าประชากรจะมีชีวิตอยู่ตั้งแต่แรกเกิดจนเสียชีวิต

ธีมที่ 6 ความคล่องตัว การเดินทาง

แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ประเด็น

  • เทคโนโลยีการสื่อสารในการขนส่ง มีตัวชี้วัด ดังนี้ การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในระบบขนส่ง และการจัดการด้านจราจร
  • การเข้าถึงและประสิทธิภาพของขนส่งสาธารณะ มีตัวชี้วัด คือ เครือข่ายขนส่งสาธารณะ, ความพร้อมในการขนส่งทางอากาศ, การขนส่งหลากหลายรูปแบบ เช่น จากทางอากาศ ต่อด้วยทางบก และต่อด้วยทางน้ำ (Multimodal Hubs), การปรับตัวของขนส่งสาธารณะให้เหมาะสมกับคนพิการหรือคนทุพพลภาพ และอุบัติเหตบนท้องถนน
  • การเปิดกว้างของข้อมูลการขนส่ง มีตัวชี้วัดคือ การเปิดเผยข้อมูลด้านการขนส่ง และการวางแผนการเดินทาง

อ่านข่าวเกี่ยวกับสิงคโปร์เพิ่มเติมได้ที่นี่

ที่มา – CNA, Institute for Quality of Life (1), (2), (3)

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา