ไม่ยอมน้อยหน้า! ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์เตรียมอนุญาตให้มีหุ้นหลายคลาสได้

หลังจากที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเตรียมนำ DR มาใช้เพื่อที่จะทำให้บริษัทต่างประเทศสามารถเข้ามาซื้อขายได้สะดวกมากยิ่งขึ้น แต่ล่าสุดตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ก็เตรียมส่งเครื่องมืออย่างหุ้นหลายคลาสเพื่อให้บริษัทต่างประเทศที่สนใจเข้ามาซื้อขายได้เช่นกัน

ภาพจาก Shutterstock
ภาพจาก Shutterstock

หลังจากที่รอมาเป็นเวลานาน ล่าสุดทางตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ก็เตรียมส่งอาวุธหนักให้บริษัทที่เข้ามา IPO หรืออยากที่จะซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์สามารถมีหุ้นได้หลายคลาส หรือที่เรียกว่า Dual Class Shares

สำหรับ Dual Class Shares บริษัทนึงสามารถแยกหุ้นเป็นหลายๆ Class ได้ ยกตัวอย่างเช่น Class A สามารถมีสิทธิ์โหวตได้ 10 เสียง Class B มีสิทธิ์โหวต 0 เสียง เป็นต้น ถ้ายกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือหุ้นของ Berkshire Hathaway ของ Warren Buffett ที่หุ้น Class A มีสิทธิ์โหวต 1 เสียง ส่วน Class B จะมีสิทธิ์โหวตได้ 0.0001 เสียง

เน้นที่บริษัทเทคโนโลยีโดยเฉพาะ

การที่ตลาดหุ้นทำให้บริษัทมีหุ้นที่สามารถซื้อขายได้หลายคลาส ย่อมทำให้เป็นการเชิญชวนให้บริษัทเข้ามาทำการซื้อขายในตลาด โดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยีที่มักมีหุ้นหลายคลาส ซึ่งทำให้ตลาดสิงคโปร์เป็นอีกตลาดหนึ่งที่บริษัทสนใจเข้ามาทำ IPO

ถึงแม้ว่าบริษัทเทคโนโลยีจะมักใช้หุ้นหลายคลาสในการบริหารบริษัท เพราะว่าผู้บริหารมักจะออกหุ้นให้กับตัวเองมีสิทธิ์โหวตได้เยอะว่าหุ้นสามัญทั่วๆ ไป ทำให้เกิดข้อครหาในเรื่องของธรรมาภิบาลในการบริหารบริษัท ในเรื่องนี้ทางตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ได้กำหนดสัดส่วนไว้ล่วงหน้าแล้ว

ตลาดฮ่องกงเป็นแรงกดดันอีกทาง

สำหรับตลาดหุ้นที่มีบริการให้ซื้อขายหุ้นได้หลายคลาสในเอเชียคือที่ ฮ่องกง ที่พึ่งแก้กฏระเบียบไปล่าสุด สดๆ ร้อนๆ และรวมไปถึง สิงคโปร์ ถ้าหากใช้กฏนี้ภายในเร็วๆ นี้ โดยทางตัวแทนของตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ได้กล่าวว่า กฏเกณฑ์ของฝั่งสิงคโปร์ดีกว่าที่ฮ่องกงหลายๆ เรื่อง

โดยบริษัทแรกของฮ่องกงที่ใช้กฏหุ้นหลายคลาสคือทาง Xiaomi ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแรงกดดันที่ทำให้ทางสิงคโปร์ต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อที่จะดึงดูดบริษัทใหม่ๆ เข้ามาทำ IPO หรือแม้แต่บริษัทเทคโนโลยีให้เข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ให้ได้ เพื่อหารายได้ใหม่ๆ

ที่มาNikkei Asian Review, Strait Times

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
Content Writer ที่สนใจในเรื่องของตลาดทุนทั้งในและต่างประเทศ กลุ่ม TMT (Technology, Media, Telecom) การควบรวมกิจการ (M&A) นโยบายทางเศรษฐกิจของไทยและต่างประเทศ รวมถึงสิ่งละอันพันละน้อยทางธุรกิจที่น่าสนใจ