ควันบุหรี่มือสอง พ่นพิษหนักกว่าที่คิด: เด็กและวัยรุ่นเสี่ยงกว่าวัยอื่นๆ โดยเฉพาะเด็กที่ยากไร้ ยิ่งแย่

ควันบุหรี่มือสองพ่นพิษ หนักกว่าที่คิดไว้อีก

ผลการศึกษาล่าสุดที่เผยแพร่ในนิตยสาร BMC Public Health ระบุว่า ควันบุหรี่มือสอง หรือควันบุหรี่ที่มาจากคนอื่น ที่เราไม่ได้สูบเองเนี่ย มีความสำคัญและส่งผลกระทบเรื้อรังให้กับเด็กๆ และหนุ่มสาว

Smoking

เรื่องนี้ มีการนำข้อมูลระดับชาติมาวิเคราะห์ เป็นการวิเคราะห์จากระดับเลือดของคนที่ได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่มือสองทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกาจำนวน 2,815 คน ในเด็กตั้งแต่วัย 6 ขวบถึง 19 ปี นับตั้งแต่ปี 2015 ถึง ปี 2018 โดยการวิเคราะห์นั้น มีการสำรวจหาสารเมตาบอไลท์โคตินิน (Cotinine)

โดยกลุ่มงานพยาธิวิทยา สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี ได้อธิบายประเด็น “การตรวจคัดกรองและติดตามผู้บริโภคบุหรี่” ไว้ว่า สารโคตินินนี้เป็นสารเมตาบอไลท์ของนิโคติน หลังจากการสูบบุหรี่ สารนิโคตินในควันบุหรี่จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทางระบบทางเดินหายใจ เยื่อบุในช่องปากและผิวหนัง

เมื่อเข้าสู่กระแสเลือด นิโคตินจะกระจายตัวไปออกฤทธิ์ในอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง ทางเดินอาหาร หัวใจ และหลอดเลือด ซึ่ง เอนไซม์ Aldhyde Oxidase จะเปลี่ยนนิโคตินให้เป็นโคตินิน ซึ่งจะถูกขับออกทางปัสสาวะ ซึ่งโคตินินเป็นสารมีค่าครึ่งชีวิต (half-life) 16-18 ชั่วโมง ขณะที่นิโคตินมีค่าครึ่งชีวิตเฉลี่ย 2-3 ชั่วโมง อีกทั้งโคตินินยังและมีระดับความเข้มข้นในเลือดสูงมากกว่านิโคติน 10-15 เท่า

จากการศึกษาพบว่า ระดับความเข้มข้นของตะกั่วในเลือดของกลุ่มที่มีการสัมผัสควันบุหรี่ระดับกลางและระดับสูงนั้น สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับควันบุหรี่ต่ำที่สุดอยู่ที่ 18% และ 29% ตามลำดับ กลุ่มที่สัมผัสสารตะกั่วต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยในสหรัฐอเมริกา พบระดับสารตะกั่วในเลือดของเด็กผู้ชายจำนวนมาก และพบในกลุ่มเด็กและวัยรุ่นผิวสีมากขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ

ระดับเลือดที่สูงขึ้นพบได้ทั่วไปในเด็กอายุราว 6 ปี ถึง 10 ปี และจากการร่วมทดลองพบว่า มีมากกว่าคนวัยอื่นๆ ที่สูงวัยกว่า อีกทั้ง เด็กจากครัวเรือนที่มีรายได้น้อย มีสารตะกั่วในเลือดสูงขึ้น 27% เมื่อเทียบกับเด็กที่มาจากครัวเรือนที่มีรายได้สูง

ทำไมเรื่องนี้จึงสำคัญ? ก็เพราะว่าสารตะกั่วจะไม่เหมือนกับสารพิษอื่นๆ เนื่องจากไม่สามารถเจือจางได้ แม้มีการสัมผัสที่ลดลง ร่างกายก็ไม่สามารถขับออกมาได้ตามธรรมชาติ แต่มันจะฝังในหรือสะสมตามกระดูกและแทรกซึมสู่กระแสเลือด วิธีเดียวที่จะกำจัดได้ คือขจัดมันออกมาทางปาก หรือการรักษาทางช่องปากด้วยยานั่นเอง ซึ่งสารตะกั่วนี้จะส่งผลต่อระบบประสาทอย่างมากและมีความรุนแรง ทำให้เส้นประสาทเกิดความเสียหายได้

มันจะสร้างควาามเสียหายต่อระบบประสาท สร้างปัญหาในการรับรู้ ทำให้สูญเสีย IQ ที่ส่งผลให้เกิดโรคอัลไซเมอร์และโรคทางจิตเภทได้ (Schizophrenia) จึงอาจกล่าวได้ว่า การสัมผัสสารตะกั่วนั้น ส่งผลอันตรายต่อเด็กเล็กมากกว่าเด็กในวัยอื่นๆ เนื่องจากร่างกายของเด็กยังพัฒนาและมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว เด็กที่ได้รับความเสี่ยงสูง บ่อยครั้งมักเป็นเด็กเล็กมากกว่าเด็กโต และมักเกิดกับเด็กในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย

ไม่ใช่แค่ควันบุหรี่มือสองเท่านั้นที่ส่งผลกระทบต่อเด็กๆ และวัยรุ่น แต่สารตะกั่วยังมาจากสิ่งของ เครื่องใช้ในครัวเรือนที่เราใช้งานในชีวิตประจำวันด้วย ไม่ว่าจะเป็น จาน ชามเซรามิก กล่องอาหาร ตลอดจนสิ่งของต่างที่ผลิตออกมานอกประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นของเล่น ผลิตภัณฑ์ย้อมสีผม ไปจนถึงเครื่องสำอาง ซึ่งก็มีการสืบค้นย้อนหลังพบว่าบางทีก็มาจากขนมหรือลูกอมจากเม็กซิโกด้วย

ต่อจากนี้ หน่วยงานที่ทำวิจัยเรื่องนี้อยู่ก็จะพยายามให้การศึกษากับผู้ปกครองและสถาบันการศึกษาถึงอันตรายที่ได้รับจากสารพิษดังกล่าว ซึ่งก็รวมถึงควันบุหรี่มือสองด้วย รวมทั้งจะเริ่มมีการสุ่มตรวจน้ำดื่มในชุมชนเพื่อลดความเสี่ยงที่เด็กๆ จะได้รับเมื่อดื่มกินน้ำดังกล่าว ไปจนถึงการพยายามศึกษาแหล่งที่มาที่อาจทำให้เกิดการสั่งสมสารพิษในร่างกายดังกล่าวต่อไป

ที่มา – Japan Today, สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา