SEAC แนะนำให้รู้จัก The Stanford Thailand Research Consortium การทำวิจัยที่อาสายกระดับคนไทยก้าวไกลระดับโลก

การเรียนรู้อย่างยั่งยืนเป็นเรื่องที่ถูกให้ความสนใจมากขึ้น และเพื่อตอบรับกระแสดังกล่าว SEAC จึงขอเป็นตัวกลางในการสร้าง The Stanford Thailand Research Consortium เพื่อยกระดับเรื่องนี้ในประเทศไทย

seac

ติดอาวุธด้วยการวิจัยระดับโลก

The Stanford Thailand Research Consortium คือหน่วยงานที่เกิดจากความร่วมมือของบมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ AIS, บมจ.เอพี ไทยแลนด์ หรือ AP และธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK ที่ลงทุนกว่า 100 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนงานวิจัยที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยระดับโลกอย่าง Stanford จากสหรัฐอเมริกา

สำหรับงานวิจัยนั้นจะมุ่งไปที่เรื่องการยกระดับความสามารถของคนไทยให้เท่าทันโลก, การนำเทคโนโลยี และความสร้างสรรค์มาพัฒนาธุรกิจ และเศรษฐกิจไทย, เสริมคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน และสุดท้ายคือส่งเสริมการพัฒนาสังคมเมืองที่เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืน

seac
พอล มาร์คา ผู้บริหารระดับสูง Stanford Center for Professional Development (SCPD) มหาวิทยาลัย Stanford

“Stanford นำศาสตร์จารย์ และผู้เชี่ยวชาญระดับสูงของมหาวิทยาลัยมากกว่า 20 คน จาก 9 สาขาวิชา เพื่อมาวิจัยเรื่องดังกล่าวในไทยเป็นเวลา 5 ปี ก่อนนำข้อมูลต่างๆ มาให้ไทยใช้พัฒนาประเทศ” พอล มาร์คา ผู้บริหารระดับสูง Stanford Center for Professional Development (SCPD) มหาวิทยาลัย Stanford กล่าว

เห็นปัญหา และต้องการแก้ไขจริงจัง

ด้านองค์กรไทยที่ช่วยกันลงทุนเพื่อทำให้เรื่องนี้เกิดขึ้น ทาง AIS เห็นว่าเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับคนไทยในอนาคต เพราะเพียงแค่การทำวิจัยภายในองค์กรอาจไม่เพียงพอ ดังนั้นการมีผู้เชี่ยวชาญจริงๆ มาดูแลก็น่าจะเหมาะสมกว่า ที่สำคัญการที่องค์กรเอกชนใส่ใจเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น ก็เป็นการไม่ปล่อยเรื่องนี้เป็นภาระของภาครัฐอย่างเดียว

ais
กานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล AIS

ส่วน AP มองว่าการยกระดับเรื่องการศึกษา และเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่จำเป็นในประเทศไทยมากกว่าเดิม เนื่องจากองค์กรต่างๆ ในระดับโลกตอนนี้หากไม่มีความรู้ที่เท่านั้น และพัฒนาเทคโนโลยีได้ช้ากว่า ก็มักจะปิดตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ AP ตัดสินใจลงทุนเรื่องนี้เพื่อยกระดับทักษะคนไทยให้ขับเคลื่อนประเทศในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพได้

ฟาก KBANK นั้นเห็นเหตุการณ์ Digital Disruption รวมถึงโครงสร้างประชากร และปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ดังนั้นการพัฒนาคนรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาทดแทนก็จำเป็น และปัญหาเหล่านี้จะปล่อยให้ฝั่งภาครัฐทำคนเดียวไม่ได้ องค์กรเอกชนก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบเรื่องนี้ด้วย

kbank
ขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

เติบโตไปด้วยกันทั้งองค์กร และประเทศไทย

“SEAC ต้องการสร้าง Lifelong Learning และอยากให้คนไทยได้ Up-Skill รวมถึง Re-Skill เช่นเดียวกัน ดังนั้นการมีงานวิจัยมาตรฐานระดับโลกมาช่วยทำให้เรื่องนี้เกิดขึ้นจริงก็คงดีไม่น้อย และ SEAC จะพยายามทำเรื่องนี้ให้ดีที่สุด” อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC กล่าว

จากข้อมูลสถิติทั่วโลกพบว่า ยิ่งประเทศทุ่มเงินลงทุน และให้ความสำคัญกับงานวิจัยมากแค่ไหน ก็จะสร้างโอกาสให้ GDP ประเทศเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นการลงทุนของทั้ง 3 องค์กรนี้เพื่อให้ Stanford มาช่วยเหลือเรื่องงานวิจัยต่างๆ จะคุ้มค่า เพราะไม่ใช่แค่ประเทศได้ข้อมูลสำคัญ แต่ตัว 3 องค์กรก็ได้ข้อมูลไปพัฒนาองค์กรด้วย

seac
อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC

โดยหน้าที่หลักของ SEAC ในการวิจัย The Stanford Thailand Consortium ครั้งนี้มีอยู่ 3 ส่วนสำคัญ คือ

หนึ่ง การทำความเข้าใจว่า บริษัทใดที่ควรจะเข้าไปคุยและเชิญมามีส่วนรวมใน Consortium โดยมุ่งเน้นบริษัทที่ต้องการทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติ และต้องการที่จะพัฒนาบริษัทตัวเอง เพื่อเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปในทางที่ดีขึ้น สอง การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “บริบท” (Context) ของบริษัทนั้นๆ โดยพิจารณาถึงความต้องการในการที่จะช่วยประเทศไทย รวมถึงการยกระดับบริษัทของตนเองเพื่อให้แข่งขันได้ในสากล และ สาม การทำงานร่วมกับ AIS, AP Thailand และ KBank โดย SEAC จะต้องทำความเข้าใจว่า แต่ละบริษัทกำลังมีบริบทใดๆ เพื่อสรุปเรื่องราวข้อมูลก่อนส่งให้กลับทีมงานของ Stanford University เพื่อออกแบบหัวข้อวิจัย

สรุป

การร่วมมือของทั้ง 3 องค์กรนี้แสดงให้เห็นถึงความต้องการพัฒนาประเทศให้เติบโตไปพรัอมกับองค์กร ผ่านการได้งานวิจัยระดับคุณภาพจากมหาวิทยาลัย Stanford โดยมี SEAC เป็นคนกลางในการประสานงานต่างๆ เพื่อเดินหน้าเรื่องนี้ไปได้อย่างเต็มประสิทธิภาพที่สุด

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
Branded Content เป็นบทความที่ได้รับการสนับสนุนจากสปอนเซอร์