เรื่องเล่าจาก SCB Private Banking การเปลี่ยนแปลง 4 ปีและเป้าหมายพอร์ต 1 ล้านล้านบาท

ปี 2563 ที่ผ่านมา เป็นปีที่ยากลำบากสำหรับหลายธุรกิจแม้แต่ธนาคารเอง ผลประกอบการที่ออกมารายได้และกำไรก็หายกันไปไม่น้อย ในในธุรกิจบริหารความมั่งคั่งหรือ Wealth Management โดยเฉพาะธุรกิจ Private Banking สามารถสร้างการเติบโตได้ เพราะเป็นรายได้ที่มาจากการลงทุน ทำให้ SCB Private Banking ที่ทำการเปลี่ยนแปลงตัวเองมาตลอด 4 ปีที่ผ่านมา เห็นโอกาสในการเติบโต และก้าวไปสู่พอร์ต AUM 1 ล้านล้านบาท ใน 3 ปีจากนี้

SCB PRIVATE BANKING

มองภาพการบริหารความมั่นคั่งและการลงทุนในไทย

สารัชต์ รัตนาภรณ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ บอกว่า ภาพรวมเวลธ์ทั่วโลก มีการคาดการณ์ว่าในปี 2567 มีแนวโน้มเติบโตกว่าปีละ 7% จากปี 2561 โดยเฉพาะในจีน และกลุ่มเอเชียแปซิฟิค ธุรกิจเวลธ์ในประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าทรัพย์สินมีโอกาสเติบโตปีละ 5% โดยเฉพาะในกลุ่มบุคคลที่มีความมั่งคั่งระดับสูง (High Net Worth Individuals/ HNWIs) ขึ้นไป

SCB PRIVATE BANKING

เมื่อพิจารณาจากการอัตราการลงทุนและการบริหารความมั่งคั่งในประเทศไทยก็ยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ดังนั้น ประเทศไทยยังมีโอกาสเติบโตในจุดนี้อีกมาก และการสร้างรายได้จากการบริหารความมั่งคั่ง เมื่อเทียบกันแล้วก็เป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า เมื่อเทียบกับการปล่อยสินเชื่อ  ดังนั้นการที่ SCB มามุ่งเน้นด้าน Weath Management อย่างจริงจังมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา จึงเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จ

SCB PRIVATE BANKING

มองย้อนกลับไปตามแผน Wealth Transformation ตั้งแต่ปี 2560 ถึงปี 2563 เห็นชัดเจนว่า SCB Wealth ทำรายได้โตสวนกระแสทั้งธุรกิจการลงทุนและธุรกิจประกัน สร้างผลกำไรให้กับธนาคารกว่า 15% หรือคิดเป็นสัดส่วน 56% ของรายได้ที่มาจากค่าธรรมเนียม ถือได้ว่า นี่คือ New S Curve ของ SCB ที่เริ่มเห็นผลชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ

SCB PRIVATE BANKING

ดังนั้น เป้าหมายจากนี้ของ SCB Private Banking ต้องเป็น Top of Mind ด้านบริหารความมั่งคั่ง สร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนและสร้างผลกำไรให้กับธนาคารได้เป็นอย่างดี มีสินทรัพย์ที่อยู่ในการบริหาร หรือ AUM เป็นอันดันบ 1 โดยมีมูลค่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่ามีความเป็นไปได้

SCB PRIVATE BANKING

ความเปลี่ยนแปลงตลอด 4 ปี สร้างรากฐานใหม่

มองย้อนกลับไปปรับเปลี่ยนในธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของ SCB ในปี 2560 มีการระดมพนักงานจากสาขากว่า 1,100 คน เพื่อมาฝึกอบรมกว่า 300 ชั่วโมงเพื่อทำหน้าที่ Relation Management หรือ RM คอยดูแลนักลงทุนอย่างใกล้ชิด มีการนำระบบดิจิทัล AI เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ มีทีม SCB CIO Office, SCBS Wealth Research ทำหน้าที่เป็นมันสมอง ทำให้ปัจจุบัน SCB มีทีมดูแลนักลงทุนที่ใหญ่ที่สุด

SCB PRIVATE BANKING

ณรงค์ ศรีจักรินทร์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ บอกว่า ภาพรวมของ SCB Wealth มีฐานลูกค้าจำนวนกว่า 300,000 ราย โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ ลูกค้า SCB PRIME มีสินทรัพย์ 2-10 ล้านบาท กลุ่ม SCB FIRST มีสินทรัพย์ 10-50 ล้านบาท และกลุ่ม SCB PRIVATE BANKING มีสินทรัพย์ 50 ล้านบาทขึ้นไป

SCB PRIVATE BANKING

SCB PRIVATE BANKING

การทำ Wealth Transformation ตั้งแต่ปี 2560 เพื่อสร้างรากฐานใหม่ในการทำธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) จุดเด่นของ SCB คือ การให้คำปรึกษา (Advisory Capability) ควบคู่ไปกับการปรับ Operating Model พัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชันด้านการลงทุนในรูปแบบของ Open Architecture สามารถลงทุนได้จากสถาบันการเงินในประเทศไทยกว่า 35 แห่ง ไม่ได้จำกัดอยู่ภายใน SCB เท่านั้น

SCB PRIVATE BANKING

และนั่นทำให้ปี 2563 ที่ผ่านมารายได้จากธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) เติบโตกว่า 25% แม้จะเผชิญกับสถานการณ์วิกฤตโควิดก็ตาม ส่วนกลยุทธ์หลักของกลุ่มธุรกิจ SCB Wealth ในปี 2564 จะโฟกัสและมุ่งเน้นการเติบโตของเซกเมนต์ไพรเวทแบงก์กิ้ง ด้วยการเปิดตัวโฉมใหม่ของธุรกิจ SCB PRIVATE BANKING กับกลยุทธ์ในการให้คำปรึกษาจากทีมผู้เชี่ยวชาญครบวงจรและเต็มรูปแบบ

SCB PRIVATE BANKING

SCB Private Banking กับ 3 กลยุทธ์สร้าง AUM 1 ล้านล้าน

เมธินี จงสฤษดิ์หวัง รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน PRIVATE BANKING ธนาคารไทยพาณิชย์ บอกว่า SCB PRIVATE BANKING มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิที่อยู่ภายใต้การบริหาร (AUM) กว่า 850,000 ล้านบาท และหากพิจารณาเฉพาะ Investment AUM (ไม่รวมเงินฝาก) จะมีสินทรัพย์อยู่ประมาณ 570,000 ล้านบาท และยังสามารถสร้างผลตอบแทนจากการบริหารพอร์ตการลงทุนให้ลูกค้าได้ 14.9% ในระยะเวลา 1 ปี (1 ม.ค. – 31 ธ.ค. 2563) ซึ่งเป็นอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนประเภทความเสี่ยงปานกลางตามคำนิยามของ AIMC3

ในปี 2564 นี้ SCB PRIVATE BANKING ยึด 3 กลยุทธ์แกนหลัก

  1. Investment Solutions for Wealth Preservation วางแผนต่อยอดความมั่งคั่งส่วนบุคคลให้กับลูกค้า ลงทุนทั้งในและต่างประเทศในสินทรัพย์หลากหลายประเภท กว่า 10,000 หลักทรัพย์และกองทุน ไม่ว่าจะเป็น Public assets หรือ Private assets โดยปัจจุบันเชื่อมต่อ 19 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนในไทย 23 ตลาดหลักๆ ทั่วโลก รวมไปถึง มี Discretionary Portfolio Management อีกด้วย เพื่อให้สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า
  2. Business Solutions for Wealth Creation บริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจอย่างรอบด้าน เน้นการสร้างความมั่งคั่งในทุกโอกาสการลงทุนแบบใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น สินเชื่อเพื่อการลงทุนในรูปแบบต่างๆ  อาทิ SCB Property Backed Loan สินเชื่อเพื่อใช้ในการบริหารความมั่งคั่ง ที่เปิดตัวเมื่อปลายปี 2563 ที่ผ่านมา สำหรับใช้เพิ่มกระแสเงินสด เพื่อให้ลูกค้าไม่พลาดทุกจังหวะการลงทุน 
  3. SCB Financial Business Group ผสานความแข็งแกร่งของกลุ่มไทยพาณิชย์เพื่อสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า โดย SCB PRIVATE BANKING เป็นตัวแทนทุกกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อยกระดับประสบการณ์การบริหารและสร้างความมั่งคั่งให้แก่ลูกค้าในทุกๆ ช่องทาง  

SCB PRIVATE BANKING

เป้าหมายสำคัญของ SCB Private Banking คือ การขยายฐานลูกค้ากลุ่มไพรเวทให้เติบโต บริหารความมั่งคั่งที่ตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ภายในสิ้นปี 2566 จะมี AUM แตะที่ระดับ 1 ล้านล้านบาท สามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้สูงสุดที่เหมาะกับความเสี่ยงของลูกค้า และนำไปสู่การสร้างมาตรฐานใหม่ที่สามารถครองใจลูกค้าไพรเวทแบงก์กิ้งของเมืองไทย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา