ไทยพาณิชย์มุ่งเป้า “อยู่ อย่าง ยั่งยืน” เตรียมปล่อยสินเชื่อสีเขียว 1.5 แสนล้านภายในปี 2025

ไทยพาณิชย์เดินหน้าตั้งเป้าทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืน สนับสนุนสังคม เปลี่ยนแปลงองค์กรภายใน และปล่อยสินเชื่อเพื่อเปลี่ยนผ่านเป็นธุรกิจสีเขียวตามเป้าหมายที่กำหนด

SCB

กฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่มีการดูแล ไม่มีความใส่ใจอย่างเหมาะสม โดยบริบทความยั่งยืนของธนาคารไทยพาณิชย์ แบ่งเป็น 3 เรื่องดังนี้

หนึ่ง บริบทแรกเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ ปีนี้ไทยพาณิชย์มาอายุครบ 117 ปีแล้ว สอง บริบทของขนาด สร้างความยั่งยืนให้ลูกค้า 18 ล้านราย และสาม ยุทธวิธีของไทยพาณิชย์ในการบรรลุเป้าประสงค์แห่งความยั่งยืน

เราเป็นสถาบันแรกๆ ที่มีพันธกิจเพื่อความยั่งยืน ธนาคารไทยพาณิชย์ก่อตั้งขึ้นเป็น
ธนาคารอันดับที่ 4 ส่วน 3 อันดับแรกคือธนาคารต่างชาติมาจากประเทศเจ้าอาณานิคม อังกฤษและฝรั่งเศส โดยช่วงแรก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เชื่อว่าสยามประเทศมีความจำเป็นต้องมีระบบการเงินธนาคารเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศ เริ่มด้วยการตั้ง Book Club ก่อนจะตั้งเป็นธนาคารอีก 4 ปีต่อมา สาขาแรกอยู่ที่บ้านหม้อ ไม่ใช่ที่ตลาดน้อย

ตลอดเส้นทาง 117 ปี ธนาคารไทยพาณิชย์มีสองเป้าหมายที่สำคัญ

หนึ่ง การตอบโจทย์การให้บริการคนไทย สร้างความกินดีอยู่ดี สร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กัน

สอง ถ้าเราเข้มแข็งคนเดียว ระบบนิเวศน์ไม่เข้มแข็งก็ไปต่อไม่ได้ จึงมีการแบ่งปัน ทั้งพัฒนาพื้นที่ป่า โครงการ CSR และการสร้างเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ แบ่งปันองค์ความรู้ทางการศึกษา พัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชนบท

SCB Sustainably

ความท้าทายในโลกปัจจุบันคือเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ, เรื่องความท้าทายทางเศรษฐกิจทั้งภายนอก ภาพรวมเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยที่มีลักษณะแบบ K Shape ตามด้วยการดิสรัปทางเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนผันอย่างก้าวกระโดด หากเราไม่ปรับตัวกับเทคโนโลยี เราจะก้าวไม่ทันความเปลี่ยนแปลง

อย่างไรก็ดี ความท้าทายด้านความยั่งยืนก็นำมาด้วยโอกาสทางธุรกิจ  

เราเชื่อว่าจะมีเม็ดเงินสร้างอุตสาหกรรม Net Zero มากมายราว 39 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ สร้างงานใหม่ 27 ล้านตำแหน่ง โดยแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในปี 2030 จะอยู่ที่ 5 ล้านล้านบาท ไทยที่จะทำให้เงินที่ลงธุรกิจสีเขียวก็เพิ่มขึ้นในปี 2030 ราว 5 ล้านล้านบาท

โดยบทบาทสำคัญของธนาคารคือให้การสนับสนุนความยั่งยืน ทำให้สังคมเปลี่ยนผ่านไปได้ราบรื่นมี 2 บทบาท ดังนี้

หนึ่ง บทบาทสนับสนุน จัดสรรเงินทุน เพื่อให้รองรับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน 40% เป็นเม็ดเงินจากภาคธุรกิจธนาคาร เราสนับสนุนคนทุกกลุ่ม บริษัททุกขนาด

สอง การดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ ทำให้ธนาคารพาณิชย์ไม่เป็นภาระกับสิ่งแวดล้อมและสังคม

แนวคิดของธนาคารไทยพาณิชย์ ในโจทย์ข้อนี้ คือสามคำ อยู่ อย่าง ยั่งยืน (Live Sustainably) สะท้อนความเป็นตัวตนของธนาคารไทยพาณิชย์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันสู่อนาคต

ปัจจุบัน เราดำเนินกลยุทธ์ Digital Bank with Human Touch โดยใช้นวัตกรรม AI เสริมความแข็งแกร่ง

ธนาคารไทยพาณิชย์มุ่งสู่ Net Zero ภายในปี 2030 ด้วยการปรับการดำเนินงานภายในองค์กร โดยลดคาร์บอนภายในปี 2027 ที่ 50% เป็นองค์กร Net Zero ภายในปี 2030

วิธีการดำเนินการภายในองค์กร ดังนี้ ติดตั้ง Solar Rooftop ที่สำนักงานใหญ่และศูนย์ฝึกอบรม, บริหารระบบทำความเย็นให้อยู่ที่ 1.5 ชั่วโมงต่อวัน, เปลี่ยนแอร์ที่มีอายุมากกว่า 10 ปี จำนวน 2,283 เครื่อง, เปิดแอร์ที่ 25 องศา และเปิด-ปิดแอร์ก่อนเวลาทำการ 1 ชั่วโมง, แอร์ใช้สารทำความเย็น R32 ภายในปี 2027 ที่ 100%, ปรับเปลี่ยนสู่ยานยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2028 ในอัตรา 100% และใช้พลังงานหมุนเวียนภายในปี 2030 100%

SCB Live Sustainablyแนวทางการทำงาน เราอยากใช้คำย่อเป็น 3 คำ คือ SCB

S = Sustainable Banking สนับสนุนลูกค้า

C = Corporate Practice Excellence สร้างองค์กรแห่งความรับผิดชอบ ดำเนินกิจกรรมบนความยั่งยืนของตัวเองด้วย

B = Better Society พัฒนาสังคมที่ดีขึ้น

การช่วยเหลือลูกค้ามีมิติไหนบ้าง?

ธนาคารดำเนินธุรกิจบนเป้าหมาย Net Zero 2030 จากการให้สินเชื่อและการลงทุน

ต้องนำพาลูกค้าเดินไปด้วยกัน ทั้งปูความรู้ ความเข้าใจ ทำให้เข้าถึงแหล่งสินเชื่อเหมาะสม เรามีหลักสูตรมากมาย ล่าสุดคือ Innovation Sustainability ให้ความรู้ลูกค้าทุกระดับ

เราปักหมุดเป็น Digital Bank with Human Touch ลดการใช้กระดาษ ลดบริการแบบ face to face

ธนาคารมีพนักงานประมาณ 20,000 ท่าน เราเปลี่ยนค่านิยมองค์กร คือ ISCB มีการวัดการดำเนินกิจกรรมของเพื่อนพนักงานที่ตอบโจทย์มากขึ้น

SCB Live Sustainably

SCB ตั้งเป้าเป็นผู้นำด้านความยั่งยืน โดยมีเป้าหมาย ดังนี้

Net Zero สนับสนุนการเงินเพื่อความยั่งยืนในปี 2050
Net Zero ดำเนินการภายในองค์กรให้ได้ภายในปี 2030
ปล่อยสินเชื่อสีเขียวให้ได้ 150,000 ล้านบาทภายในปี 2023-2025

ดร. ยรรยงง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth และประธานคณะกรรมการการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน ธนาคารไทยพาณิชย์ ระบุว่า ความยั่งยืนไม่ใช่ทางเลือกว่าจะทำหรือไม่ทำ แต่เป็นกลยุทธ์หลักเพื่อการเติบโต

ธนาคารไทยพาณิชย์พร้อมเป็นพันธมิตรให้ลูกค้า เวลาเราพูดเรื่องโลกร้อน มักพูดอยู่ 2 เรื่อง มีเรื่องผลประโยชน์ของต้นทุนเรา แต่เราได้คิดถึงต้นทุนคนอื่นในอนาคตหรือเปล่า เช่น ทำไมต้องเป็นฉันลดคาร์บอน ทำไมต้องเป็นฉัน และอีกเรื่องหนึ่งคือความล้มเหลวของความร่วมมือ ธนาคารพร้อมที่จะเดินไป

SCB Live Sustainably

เราได้รับเลือกเป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (DJSI: Dow Jones Sustainability Indices) ครั้งแรกในปี 2018 โดยตั้งเป้าเป็น Net Zero ทั้งส่วนของการดำเนินการเองและการให้สินเชื่อ

เราเป็นธนาคารไทยแห่งแรกที่ตั้งเป้า Net Zero 2050 ตามมาตรฐาน SBTi (Science Based Targets Initiative) นี่คือความแตกต่างที่เราแตกต่างจากองค์การอื่น

SCB Live Sustainably

เราเข้าไปเป็นสมาชิกของ SBTi เป็นองค์กรระดับโลกที่ดูแลมาตรฐานเพื่อลดผลกระทบจาก Climate Change ของไทยมี 33 องค์กรที่ให้คำมั่นกับ SBTi ซึ่ง SCB ก็เป็นองค์กรเดียวที่คอมมิทกับ SBTi นั้น

SBTi มีความร่วมมือขององค์กรระดับโลก เช่น UNGC WWF และ CDP โดยสนับสนุนภาคธุรกิจกำหนดเป้าหมายตามหลักวิทยาศาสตร์ มากกว่า 8,800 องค์กรชั้นนำทั่วโลกที่ใช้มาตรฐาน SBTi

SCB จะมีกลยุทธ์อย่างไรให้บรรลุเป้าหมายเพื่อให้เป็น Net Zero 2050

เราตั้งอยู่บนหลักการ 3 เรื่อง ยึดหลักวิทยาศาสตร์ โปร่งใส ตรวจสอบได้, เข้าใจความต้องการความพร้อมของลูกค้า, จับมือพันธมิตรองค์กรชั้นนำในประเทศและต่างประเทศเพื่อนำเทคโนโลยีและ know how ในการช่วยลูกค้าปรับตัว

SCB Live Sustainably

ตั้งเป้าหมาย Net Zero ตามกลุ่มลูกค้า โดยมี 2 มาตรวัดเพื่อตั้งเป้าหมาย ดังนี้

Sector Decarbonisation Approach (SDA) คือการวัดปริมาณความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซ GHG จากการดำเนินธุรกิจของลูกค้า

Implied Temperature Rise (ITR) วัดความมุงมั่นในการลดการปล่อยก๊าซ GHG ของธุรกิจลูกค้าว่าสอดคล้องกับเส้นทางที่อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้นกี่องศาเซลเซียส

SCB Live Sustainably

กลยุทธ์ในการสนับสนุนลูกค้าเพื่อเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่พลังงานสะอาด

เพิ่มวงเงินสินเชื่อพลังงานหมุนเวียนที่ 1.98 แสนล้านบาทตั้งแต่ปี 2011 ถึงปัจจุบัน ทั้งลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าใหม่

รักษาส่วนแบ่งตลาดธุรกิจโรงไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติและพลังงานหมุนเวียน สนับสนุนให้ลดการปล่อยก๊าซ GHG เปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด

เพิ่มโอกาสขยายฐานลูกค้าสินเชื่อพลังงานหมุนเวียนในต่างประเทศ

งดสนับสนุนสินเชื่อใหม่แก่ธุรกิจพลังงานถ่านหินที่กำลังขยายการผลิต

ผลลัพธ์และความคืบหน้า ดังนี้

ยอดสินเชื่อคงค้างธุรกิจโรงไฟฟ้าทั้งหมดปี 2023 ราว 1 ใน 5 ของยดสินเชื่อ ธุรกิจโรงไฟฟ้าทั้งหมดในไทยรวม 129,000 ล้านบาท

ผู้นำสนับสนุนสินเชื่อธุรกิจพลังงานหมุนเวียน โดยยอดสินเชื่อพลังงานหมุนเวียนคงค้างปี 2023 อยู่ที่ 79,000 ล้านบาท เป็นอันดับ ของประเทศด้านยอดสินเชื่อ ธุรกิจพลังงานลม

สัดส่วนสินเชื่อพลังงานหมุนเวียนสูงกว่าธนาคารชั้นนำของโลก พลังงานหมุนเวียนต่อสินเชื่อโรงไฟฟ้า ของ SCB อยู่ที่ 61% ขณะที่ค่าเฉลี่ย 3 ธนาคารชั้นนำของโลกอยู่ที่ 53%

ที่มา – SCB

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา