SCB Research ออกบทวิเคราะห์เรื่อง “ยกเลิก Lockdown ควรทำเมื่อไร และอย่างไร”
เกณฑ์ในการพิจารณาสำหรับการยกเลิก Lockdown คือ
จำนวนการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยผ่านจุดเลวร้ายที่สุดไปหรือยัง
- วัดจากอัตราส่วนจำนวนผู้ป่วย/ ผู้ติดเชื้อทั้งหมด
- จำนวนผู้ป่วยใหม่รายวัน/ จำนวนผู้ป่วยต่อวันที่เคยสูงสุด
ความพร้อมในการรองรับผู้ป่วย
- วัดจากอัตราส่วน จำนวนผู้ป่วยใหม่ต่อวัน – จำนวนผู้หายป่วยต่อวัน
ทรัพยากรด้านการแพทย์เพียงพอหรือไม่
- วัดจากอัตราส่วนจำนวนเตียง/ จำนวนประชากร
- จำนวนแพทย์/ จำนวนประชากร
จากตัวเลขในกราฟของภาพด้านบน (การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยผ่านช่วงเลวร้ายสุดไปหรือยัง?) จะเห็นว่าจำนวนที่เป็นสีน้ำตาล สีส้ม สีแดงเข้ม เช่นสหรัฐฯ อังกฤษ ญี่ปุ่น สิงคโปร์นั้นยังมีจำนวนผู้ป่วยสูงมาก และยังไม่ค่อยมีผู้หายป่วยมากนัก ขณะที่แถบสีเขียว เช่น จีน มีคนป่วยเพียง 1% ผู้หายป่วยก็มีอัตราที่ต่ำคือ 1% เท่ากัน
จากภาพด้านบน ประเทศที่มีโอกาสจะได้ปลด lockdown สูงคือประเทศที่มีผู้ติดเชื้อใหม่ๆ ในจำนวนน้อยและคนติดเชื้อรักษาหายจำนวนมาก ในที่นี้คือจีน ตามด้วยไทย เยอรมนี ฝรั่งเศส อิหร่าน และสเปน
จำนวนแพทย์ต่อประชากรและเตียงในโรงพยาบาลที่ให้การรักษานั้น ถือว่า สเปน อิตาลี เยอรมนี ฝรั่งเศสอยู่ในเกณฑ์ดีกว่าประเทศอื่น คือสเปนมีแพทย์ 4.2 คนต่อผู้ป่วย 1,000 คน อิตาลีมีแพทย์ 4.1 คนต่อผู้ป่วย 1,000 คน เยอรมนีมีแพทย์ 4.6 คนต่อผู้ป่วย 1,000 คน ขณะที่ไทยมีแพทย์ไม่ถึง 1 คนต่อผู้ป่วย 1,000 คน
บทสรุป 3 เกณฑ์ในการแบ่งประเทศที่อาจยกเลิก lockdown พบว่า แม้ไทยจะมีความพร้อมที่จะยกเลิก lockdown ได้คือ จำนวนการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยอาจผ่านจุดเลวร้ายที่สุดไปแล้ว และมีความพร้อมในการรองรับผู้ป่วย แต่ไทยยังต้องทำอย่างระมัดระวัง มิฉะนั้น อาจทำให้จำนวนผู้ป่วยฟื้นคืนกลับมารุนแรงอีกครั้ง และยังต้องลงทุนเพิ่มในทรัพยากรการแพทย์ที่จำกัด เพื่อให้เพียงพอต่อการต่อสู้ COVID-19 หรือโรคอะไรก็ตามในระยะต่อไป
ที่มา – SCB
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา