โควิด-19 ยังอยู่กับเราอีกนาน ตราบใดที่โรคระบาดยังไม่สามารถถูกกำจัดออกไปได้ สิ่งที่ผู้คนต้องเรียนรู้คือการใช้ชีวิตอยู่กับโรคระบาด อยู่อย่างไรให้ปลอดภัย คลายกังวล? โรงพยาบาลสมิติเวชมีคำตอบ
นพ. ชัยรัตน์ ปัณฑุรอัมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม รพ. สมิติเวช และ รพ. บีเอ็นเอช พูดถึงโลกในวันนี้ว่า มันมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ไทยก็เปลี่ยนแปลง สิ่งที่เราเห็นความเปลี่ยนแปลงอาจเรียกได้ว่าเป็นรูปแบบ 3 in 1 ทั้งเศรษฐกิจ ทั้งการเมือง และโควิด เรียกสั้นๆ ว่า EcoPoVid เวลานี้ถือว่าอยู่ในช่วงขาลง
สมิติเวชพยายามจะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์จากไม่ไหวให้ไหว ไม่ดีให้กลายเป็นดี แต่ละวิกฤตคือโอกาส คนที่มองโลกในแง่ดีจะเห็นทุกโอกาสในวิกฤต สมิติเวชมองโลกในแง่ดี เราวัดอุณหภูมิ อารมณ์ความต้องการของคนไข้ เขาต้องการอะไร ช่วงโควิดเขามีพฤติกรรมต้องการอะไรบ้าง
เราเห็น Pain point จากสถานการณ์ดังกล่าวว่าทุกคนไม่อยากป่วยช่วงโควิด เพราะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สมิติเวชจึงสร้างโปรแกรม EY หรือ Early Detection คือการรู้เท่าทันอนาคต รู้ล่วงหน้า 3 ปี 5 ปี เป็น Early Care ปกติมีแต่ Sick Care คนที่อยู่ระดับที่เหนือกว่า Early Care ได้ คือ Self Care คือสามารถดูแลตัวเองได้
สมิติเวชพยายามสร้าง Engage Care ขึ้นมาสำหรับคนที่เป็นเบาหวานและความดันสามารถวัดได้ว่า มีค่าน้ำตาลและความดันมีปริมาณเท่าไร เราเข้าแอปพลิเคชันที่มีบลูทูธตรวจความดัน ตรวจเลือด ทำให้ sync กับข้อมูลในโรงพยาบาลได้ ทำเป็นกราฟออกมา สิ่งนี้ทำให้เห็นว่า เราสามารถ Self Care ได้ตลอดเวลา
สมิติเวชปรับกลยุทธ์ในการให้บริการด้วยปรอท 4 ชิ้น
ปรอทชิ้นที่หนึ่ง
รพ. สมิติเวชมี Virtual Hospital ถือเป็น Telemedicine มี TytoCare อุปกรณ์ตรวจวัดสุขภาพเบื้องต้นที่สามารถใช้ที่บ้าน หรือไว้ที่โรงพยาบาลก็ได้ ช่วงที่โควิด-19 ระบาดอย่างหนักที่โรงพยาบาลบำราศนราดูร และโรงพยาบาลราชวิถีมีคนไข้จำนวนมาก แพทย์ต้องใส่ชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ตลอดเวลา
อีกทั้งช่วงนั้นมีความขาดแคลน PPE สูงมาก รพ. สมิติเวช จึงบริจาค TytoCare จำนวน 200 ชุด ให้ภาครัฐ เพื่อให้คนไข้สามารถวัดไข้ด้วยตัวเองได้ ทำให้ลดทรัพยากรได้มาก และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
ปรอทชิ้นที่สอง
TytoCare ชุดอุปกรณ์ตรวจวัดสุขภาพเบื้องต้น บุคลากรทางการแพทย์เสี่ยงติดเชื้อหนักเพราะ PPE ขาดแคลน TytoCare ถือเป็นอุปกรณ์ลดความเสี่ยง แพทย์สามารถติดต่อกับผู้ป่วยด้วย Telemedicine วัดอุณหภูมิ วัดหัวใจ ส่องช่องคอ ส่องหู ตรวจปอด ผิวหนัง ไม่ต้องสัมผัสกับแพทย์ ลดการติดเชื้อ นวัตกรรมนี้ สมิติเวช และ BDMS นำเข้ามาใช้
เรามี TytoCare มี Virtual Hospital นอกจากคนไข้ไม่ต้องเข้าโรงพยาบาล หมอยังสามารถไปถึงบ้านคนไข้ Samitivej Care Plus Home
ปรอทชิ้นที่สาม
เราไม่อยากให้คนไข้ต้องมาโรงพยาบาล ญาติก็ไม่อยากมาโรงพยาบาล เราจึงออก Samitivej Pace เวลาคนไปผ่าตัด ญาติก็ต้องมาเฝ้าดู ญาติอยู่ต่างจังหวัด ต่างประเทศ ก็ไม่ต้องมา รู้ทั้งโลเคชั่น รู้ทั้งสถานะ รู้ทุกจุดว่ามาถึงโรงพยาบาลแล้ว สถานะคนไข้อยู่ขั้นตอนไหน เข้าห้องผ่าตัดแล้ว เข้าห้องพักฟื้นแล้ว ติดต่อได้เมื่อมีข้อสงสัย แนะนำวิธีการใช้สิ่งอำนวยความสะดวก รู้ทันโรคได้
นอกจากนี้ ยังมี Samitivej Prompt ติดตามสถานะการดูแลผู้ป่วยในวอร์ด ญาติและผู้ป่วยสามารถรู้ถึงกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย ทีมแพทย์และพยาบาลผู้ดูแลฝากข้อความถึงแพทย์และค่ารักษาพยาบาล
สำหรับผู้ป่วยเองถ้าต้องการความอิสระก็สามารถจำกัดการเข้ามาในพื้นที่ของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นพยาบาล คนทำความสะอาด ผู้ป่วยสามารถตั้งค่าบล็อคไม่ให้เข้ามาที่ห้องพักของผู้ป่วยได้
นอกจากนี้ เรายังมี Samitivej Plus เราทำผลสำรวจจากโรงพยาบาลชั้นนำทั้งหลาย พบว่า เมื่อผู้ป่วยต้องการเข้าโรงพยาบาลทันที ต้องรอต่อคิวกัน แต่เรามี Samitivej Plus เราสามารถดู profile หมอได้ เลือกเวลามาหาหมอไ้ด้ เมื่อถึงเวลามันก็จะเตือนเรา ไม่ต้องรอคิว สามารถใช้ Fast pay เพื่อชำระค่าใช้จ่ายผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
ปรอทชิ้นสุดท้าย
ทุกคนกังวลการติดเชื้อ นี่จึงเป็นที่มาที่ไปของ เราไม่อยากให้ใครกังวล เราเป็น The Best Hospital ของไทยและของเอเชียปี 2020 แต่การประสบความสำเร็จวันนี้ ไม่ได้หมายความว่าเราจะสำเร็จในวันหน้า เราต้องการเป็น Value Organization
นพ. ชัยรัตน์ ระบุว่า การขับเคลื่อนดังกล่าวเกิดขึ้นได้เพราะมีทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก
ปัจจัยภายนอกคือความเปลี่ยนแปลงของผู้รับบริการ เปลี่ยนแปลงทุกวัน เราต้องก้าวล้ำความต้องการของผู้บริโภค ปรับตัวตลอดเวลาคือการ Agile ถ้าสามารถทำได้เหนือกว่านั้นคือ Value การทำให้ทุกคนสุขภาพดี
พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล รองผู้อำนวยการ รพ. สมิติเวช และผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ พูดถึงภาวะตลาดในปัจจุบันนั้นว่า เรามีความกังวลหลายรูปแบบ เราจึงพยายามคลายกังวล เราต้องคิดว่า คนไข้กังวลอะไรบ้าง เช่น กลัวโควิด 19 เราก็จะตรวจให้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในทุกเคสที่ต้องรับการผ่าตัด เรามีแพคเกจการผ่าตัดที่โปร่งใส เช่น เข้าผ่าตัด ค่าห้องเกินวงเงินประกัน ทาง รพ. ก็จะดูแลให้
คนไข้หลายคนกลับไป มีคำถามอยากถามแพทย์ เราก็ให้คุยผ่าน Virtual Hospital ได้ สามารถส่งยาให้ฟรี โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องนี้อีก ไม่ต้องให้กังวลทั้งสุขภาพกาย การเงินและใจ ซึ่งก็ทำให้เป็นที่มาของแคมเปญ สมิติเวช พร้อมฟันฝ่าวิกฤติ เคียงคู่คนไทย 6 ข้อคือ ราคาผ่าตัด ค่าห้อง ตรวจโควิดฟรี ค่าห้องส่วนเกินจากสิทธิ์ ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้ และยังมีเทคโนโลยีติดตามสถานะและแผนการรักษาสำหรับผู้ป่วยใน
ดนัย อุดมโชค นักเทนนิส เล่าถึงการเข้ารับการรักษาในสมิติเวชว่า เมื่อครั้งที่ผมไปเที่ยวสมุย กลับบ้านแล้วนอนอยู่ดีๆ ก็สั่น ไข้ขึ้น นอนสักพักก็คิดว่าหาย พอผ่านไป 2 วัน เริ่มกังวล ก็มา รพ. สมิติเวช พบว่าเป็นไข้เลือดออก เข้ารักษาตัวที่ รพ. 3-4 วัน
พยาบาลแนะนำ Samitivej Prompt คือการติดตามสถานะการดูแลผู้ป่วยขณะพักในโรงพยาบาล ทำให้รู้ข้อมูลการดูแลทุกอย่าง พ่อแม่ก็จะรู้กิจวัตรเราว่า หมอจะเข้าตอนไหน เราก็จะรู้ตารางเวลาของหมอ ก็บอกญาติได้ว่าเข้าเยี่ยมได้เมื่อไรที่จะพบหมอได้ เราสามารถตั้งค่าให้งดเยี่ยมไข้ได้
สรุป
โลกหลังยุคโควิด-19 ระบาด กลยุทธ์ในการรับมือถือเป็นสิ่งสำคัญ รพ.สมิติเวช ไม่เพียงหาทางรับมือเพื่อให้ผ่าฟันช่วงวิกฤตให้ผ่านโควิดไปได้ แต่ยังไปได้ไกล ทำได้เหนือความคาดหมายของคนไข้และผู้ใช้บริการโรงพยาบาล หมดเวลารอคอยแพทย์เข้าตรวจแบบที่ไม่รู้ว่าต้องรอยาวนานเท่าไร ไม่รู้คนไข้อยู่สถานะการรักษาขั้นไหน
แคมเปญ #เราไม่อยากให้ใครกังวล ทำให้คนไข้สามารถตรวจรักษาดูแลตัวเองได้ สมิติเวชช่วยลดระยะการสื่อสารและการเข้ารับการรักษาให้คนไข้และโรงพยาบาลอยู่ใกล้กันมากขึ้นผ่าน TytoCare แบบที่ไม่ต้องเข้าหาโรงพยาบาลอีกต่อไป อาจกล่าวได้ว่าการแพทย์ยุคหลังโควิดคือการแพทย์แบบ Telemedicine อย่างแท้จริง
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา