เงินเดือน คือหนึ่งในปัญหาของคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะคนที่เพิ่งจะเรียนจบจากมหาวิทยาลัย ไม่รู้ว่าจะเรียกเงินเดือนเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม ไม่รู้ว่าจำนวนเงินที่ตัวเองต้องการสูงเกินไป หรือเหมาะสมกับตำแหน่ง และภาระงานที่จะต้องทำจริงๆ หรือไม่ จนกลายเป็นว่า เรียกเงินเดือนสูงไปโดยไม่รู้ตัว
ความจริงแล้ว ปัญหาการเรียกเงินเดือนสูง เป็นปัญหาที่เกิดจากความไม่เข้าใจกันระหว่างคน 2 กลุ่ม คนรุ่นใหม่ มองว่าเงินจำนวนนี้เหมาะสมแล้ว แต่นายจ้าง อาจมองว่าจำนวนเงินที่คนรุ่นใหม่ต้องการมากเกินไป
เงินเดือน ปัญหาความไม่เข้าใจระหว่างนายจ้าง กับคนรุ่นใหม่
ตามธรรมชาติของมนุษย์ เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะเลือกให้คุณค่ากับความสามารถของตัวเอง กับคนรุ่นใหม่ก็เช่นกัน บางคนมีโปรไฟล์ดี เรียนจบจากมหาวิทยาลัยชื่อดัง มีความสามารถ และทักษะสูง มองว่าตัวเองสามารถใช้ประสบการณ์จากงานปัจจุบัน มาใช้กับงานใหม่ และเรียกเงินเดือนสูงๆ ได้แน่นอน
ส่วนในมุมของคนที่เพิ่งจะเรียนจบมาใหม่ๆ แม้ยังไม่เคยทำงานมาก่อน แต่ก็คิดว่าความสามารถในสมัยเรียนของตัวเอง จะเป็นโปรไฟล์ที่ช่วยให้ตัวเองสามารถเรียกเงินเดือนสูงๆ ได้อย่างแน่นอน
ซ้ำร้ายคนที่เพิ่งเรียนจบใหม่ๆ หลายคน เพิ่งเคยสมัครงานครั้งแรก ไม่มีประสบการณ์มาก่อน จึงไม่รู้ว่าจะเรียกเงินเดือนเท่าไหร่จึงจะมีความเหมาะสมกับตำแหน่ง และภาระงานที่ต้องทำ กลายเป็นว่าท้ายที่สุดจึงกลายเป็นปัญหาว่าเรียกเงินเดือนไม่เหมาะสมในมุมมองของคนรุ่นเก่า
นายจ้างไม่เข้าใจ ไม่มีประสบการณ์ ทำไมคนรุ่นใหม่กล้าเรียกเงินเดือนสูง
ในมุมมองของนายจ้าง ก็ไม่เข้าใจเช่นกันว่าทำไมคนรุ่นใหม่ต้องเรียกเงินเดือนสูงๆ ด้วยความไม่มั่นใจในประสบการณ์ของคนรุ่นใหม่ที่ผ่านงานมาไม่มาก ทำงานมาไม่กี่ปี ประสบการณ์ยังน้อย ไม่เท่าคนที่ทำงานมานานๆ หากยิ่งเป็นเด็กจบใหม่ ก็จะยิ่งเกิดการตั้งคำถามว่า ประสบการณ์แทบไม่มี มีแต่โปรไฟล์จากมหาวิทยาลัยเท่านั้นที่จะเป็นสิ่งบ่งบอกถึงความสามารถ นายจ้างจึงมองว่าเรียกเงินเดือนสูงเกินไปในมุมมองของตัวเอง
ประกอบกับนายจ้าง ที่มักเป็นคนที่ผ่านงานมามาก มีประสบการณ์เยอะกว่า ก็จะมองว่า ประสบการณ์ที่บริษัทจะให้ ทั้งการสอนงาน จะเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นใหม่ ที่จะได้พัฒนาทักษะของตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่นายจ้างเลือกมองว่า สำคัญกว่าเงินเดือน เพราะอายุยังน้อย ยังมีเวลาในการไต่ฐานเงินเดือนอีกมาก ช่วงนี้ต้องเก็บประสบการณ์ไปก่อน เรื่องเงินค่อยว่ากันทีหลัง
ถึงเวลา นายจ้าง กับคนรุ่นใหม่ สร้างความเข้าใจเรื่อง “เงินเดือน”
ความจริงแล้ว มุมมองเรื่องเงินเดือน ของคนทั้งสองกลุ่ม ไม่ว่าจะนายจ้าง หรือคนรุ่นใหม่ ไม่ได้มีฝ่ายใดผิดหรือถูก เพราะจริงๆ แล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดจากมุมมองที่ไม่เหมือนกัน และใช้ภาพของตัวเองเป็นสิ่งตัดสิน ดังนั้น ทั้งนายจ้าง และคนรุ่นใหม่ ควรหันมาทำความเข้าใจมุมมองของกันและกัน
นายจ้าง ที่มักเป็นคนที่มีอายุมากกว่า ควรให้ความสนใจกับคุณค่า ความสามารถของคนรุ่นใหม่ แม้จะยังไม่มีประสบการณ์ แต่ความสามารถที่มีก็เป็นสิ่งที่สามารถการันตีได้ว่าคนรุ่นใหม่คนนั้นจะสามารถทำงานได้ เงินเดือนจึงควรมีความเหมาะสม ไม่มากไป หรือน้อยไป จนคนรุ่นใหม่ใช้ชีวิตลำบาก
ส่วนในมุมของคนรุ่นใหม่ก็ต้องพิจารณาตัวเองด้วยว่า ความสามารถ ประสบการณ์ และทักษะของตัวเอง เหมาะสมกับการทำงานจริงๆ หรือไม่ ซึ่งยุคนี้ ทักษะที่คนรุ่นใหม่เคยฝึกมาตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย หรือในขณะทำงานที่เก่า ก็อาจไม่เพียงพอกับโลกในยุคปัจจุบันอีกแล้ว
ยุคนี้ Reskill Upskill สำคัญ
เพราะความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทุกๆ นาที ยิ่งมีสถานการณ์โควิด-19 ระบาด สร้างความเปลี่ยนแปลง ทั้งพฤติกรรม การใช้ชีวิต และเศรษฐกิจ ยิ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกับการทำงาน ทักษะเดิมๆ ที่มีอยู่อาจใช้ไม่ได้ผล คนทำงานในยุคนี้ต้องรู้จักทั้งการเรียนรู้ทักษะใหม่ (Reskill) และพัฒนาทักษะเดิมที่มีอยู่ให้ดีขึ้น (Upskill) เรื่อยๆ ให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง
ถ้าอยากรู้ว่าทักษะสำคัญของการทำงานในยุคนี้ ที่คนรุ่นใหม่ต้อง Reskill และ Upskill มีอะไรบ้าง และมันสำคัญขนาดไหน ชวนไปหาคำตอบกันในงานสัมมนาเชิงธุรกิจ Brand Inside Forum 2020: New Workforce ซึ่งจะจัดขึ้นวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 ตั้งแต่ 9.00 – 16.00 น. ที่สามย่านมิตรทาวน์
หากซื้อบัตรก่อนวันที่ 20 กันยายนนี้ จะได้โปรโมชันพิเศษลดราคาบัตรเข้างาน 20% โดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ https://forum.brandinside.asia/newworkforce-2020
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา