รู้จัก Safe Internet หลักสูตรใหม่ของ dtac ที่ช่วยเด็ก และผู้ใหญ่ทุกคนเท่าทันภัยไซเบอร์

ตอนนี้การกลั่นแก้งกันบนโลกออนไลน์ หรือ Cyberbullying เกิดมากขึ้น อาจเพราะการเข้าถึงโลกออนไลน์ตั้งแต่เด็กถึงผู้ใหญ่ทำได้ง่ายกว่าเดิม ดังนั้น dtac หนึ่งในผู้ทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตแพร่หลาย ก็ต้องรับผิดชอบด้วย

Cyberbullying
ตัวอย่างเว็บไซต์ www.safeinternetforkid.com

Safe Internet คือช่องทางใหม่ในการช่วยเหลือ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนั้นเด็กไทยทุกคนล้วนเคยถูกกลั่นแกล้ง และเมื่ออ้างอิงผลการวิจัย “การแกล้งกันของเด็กนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา และอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” ก็จะพบว่า 90% ของการกลั่นแกล้งนั้นมาจากในห้องเรียนด้วย

ส่วนการกลั่นแกล้งนั้นก็มีตั้งแต่ทางวาจา, ทางกาย, ทางสังคม, ทางความรู้สึก, ทางเพศ และทางไซเบอร์ ซึ่งการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์นั้นถือเป็นเรื่องใหม่ และต่อยอดมาจากการกลั่นแกล้งในห้องเรียน โดย 30% ของผู้ตอบแบบสำรวจจากผลวิจัยข้างต้นนั้นบอกว่า เคยถูกกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์

Cyberbullying
Cyberbullying

เมื่อมันมากขนาดนี้ แถมเป็นพื้นที่กลั่นแกล้งที่ในอดีตไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ dtac ที่มีเป้าหมายการทำธุรกิจโดยรับผิดชอบต่อสังคมต้องทำอะไรบ้าง และนั่นคือที่มาของโครงการ Safe Internet ที่ทำต่อเนื่องมาเป็นเวลา 4 ปี และล่าสุดยังจัดทำเว็บไซต์ www.safeinternetforkid.com เพื่อยกระดับการดำรงชีวิตบนโลกออนไลน์อย่างถูกวิธี

หวังลดการกลั่นแกล้งกันให้น้อยลงกว่าเดิม

“มารยาทบนโลกออนไลน์คือสิ่งที่คนไทย และคนอื่นที่ใหม่กับโลกออนไลน์ยังไม่เข้าใจ เช่น Facebook กำหนดให้เด็กอายุ 13 ปีขึ้นไปใช้งาน แค่พ่อแม่ก็โกงอายุ และไปสมัครให้ลูก แค่นี้ก็เสี่ยงต่อก็โดนภัยคุกตามทางไซเบอร์แล้ว” อรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาที่ยั่งยืน ของ dtac กล่าว

dtac
อรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาที่ยั่งยืน ของ dtac

สำหรับเว็บไซต์ Safe Internet For Kid นั้นจะมีหลักสูตรมากมายที่เหมาะกับเด็กอายุ 5-16 ปี รวมถึงผู้ปกครอง เช่นเกมทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับโลกออนไลน์, คลังคำศัพท์บนโลกออนไลน์ และอื่นๆ เพื่อช่วยยกระดับความรู้เกี่ยวกับภัยไซเบอร์ และช่วยลดอัตราการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ได้

5 ปัญหาที่ทำให้ภัยไซเบอร์เกิดขึ้น

ในทางกลับกัน ภัยไซเบอร์ที่เกิดมากขึ้นนั้นมาจาก 5 ปัญหาด้วยกันคือ การเข้าถึงเนื้อหาเร็วเกินไป, การได้ติดต่อกับผู้อื่นเร็วเกินไป, การเห็นโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ, การใช้เวลากับออนไลน์มากเกินไป และการถูกจูงใจให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่ได้ตั้งใจ

สรุป

เมื่อบริษัทโทรคมนาคมเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้อินเทอร์เน็ตถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย ก็ไม่แปลกที่ต้องรับผิดชอบปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย ซึ่ง dtac และกลุ่ม Telenor ก็เดินหน้าเรื่องนี้เต็มที่ และหวังว่าภัยไซเบอร์ทั้งในไทย และระดับโลกจะลดลงด้วย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
Branded Content เป็นบทความที่ได้รับการสนับสนุนจากสปอนเซอร์