ตอนนี้การกลั่นแก้งกันบนโลกออนไลน์ หรือ Cyberbullying เกิดมากขึ้น อาจเพราะการเข้าถึงโลกออนไลน์ตั้งแต่เด็กถึงผู้ใหญ่ทำได้ง่ายกว่าเดิม ดังนั้น dtac หนึ่งในผู้ทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตแพร่หลาย ก็ต้องรับผิดชอบด้วย
Safe Internet คือช่องทางใหม่ในการช่วยเหลือ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนั้นเด็กไทยทุกคนล้วนเคยถูกกลั่นแกล้ง และเมื่ออ้างอิงผลการวิจัย “การแกล้งกันของเด็กนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา และอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล” ก็จะพบว่า 90% ของการกลั่นแกล้งนั้นมาจากในห้องเรียนด้วย
ส่วนการกลั่นแกล้งนั้นก็มีตั้งแต่ทางวาจา, ทางกาย, ทางสังคม, ทางความรู้สึก, ทางเพศ และทางไซเบอร์ ซึ่งการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์นั้นถือเป็นเรื่องใหม่ และต่อยอดมาจากการกลั่นแกล้งในห้องเรียน โดย 30% ของผู้ตอบแบบสำรวจจากผลวิจัยข้างต้นนั้นบอกว่า เคยถูกกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์
เมื่อมันมากขนาดนี้ แถมเป็นพื้นที่กลั่นแกล้งที่ในอดีตไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ dtac ที่มีเป้าหมายการทำธุรกิจโดยรับผิดชอบต่อสังคมต้องทำอะไรบ้าง และนั่นคือที่มาของโครงการ Safe Internet ที่ทำต่อเนื่องมาเป็นเวลา 4 ปี และล่าสุดยังจัดทำเว็บไซต์ www.safeinternetforkid.com เพื่อยกระดับการดำรงชีวิตบนโลกออนไลน์อย่างถูกวิธี
หวังลดการกลั่นแกล้งกันให้น้อยลงกว่าเดิม
“มารยาทบนโลกออนไลน์คือสิ่งที่คนไทย และคนอื่นที่ใหม่กับโลกออนไลน์ยังไม่เข้าใจ เช่น Facebook กำหนดให้เด็กอายุ 13 ปีขึ้นไปใช้งาน แค่พ่อแม่ก็โกงอายุ และไปสมัครให้ลูก แค่นี้ก็เสี่ยงต่อก็โดนภัยคุกตามทางไซเบอร์แล้ว” อรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาที่ยั่งยืน ของ dtac กล่าว
สำหรับเว็บไซต์ Safe Internet For Kid นั้นจะมีหลักสูตรมากมายที่เหมาะกับเด็กอายุ 5-16 ปี รวมถึงผู้ปกครอง เช่นเกมทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับโลกออนไลน์, คลังคำศัพท์บนโลกออนไลน์ และอื่นๆ เพื่อช่วยยกระดับความรู้เกี่ยวกับภัยไซเบอร์ และช่วยลดอัตราการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ได้
5 ปัญหาที่ทำให้ภัยไซเบอร์เกิดขึ้น
ในทางกลับกัน ภัยไซเบอร์ที่เกิดมากขึ้นนั้นมาจาก 5 ปัญหาด้วยกันคือ การเข้าถึงเนื้อหาเร็วเกินไป, การได้ติดต่อกับผู้อื่นเร็วเกินไป, การเห็นโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ, การใช้เวลากับออนไลน์มากเกินไป และการถูกจูงใจให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่ได้ตั้งใจ
สรุป
เมื่อบริษัทโทรคมนาคมเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้อินเทอร์เน็ตถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย ก็ไม่แปลกที่ต้องรับผิดชอบปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย ซึ่ง dtac และกลุ่ม Telenor ก็เดินหน้าเรื่องนี้เต็มที่ และหวังว่าภัยไซเบอร์ทั้งในไทย และระดับโลกจะลดลงด้วย
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา