อ่านผลสำรวจเงินเดือนไทย-อาเซียน ปี 2562 คาดงานดิจิทัลและทักษะเฉพาะ ตลาดต้องการสูง จ้างแพง

โรเบิร์ต วอลเทอร์ส (Robert Walters) บริษัทที่ปรึกษาด้านการสรรหาบุคลากรระดับมืออาชีพจากอังกฤษ ได้เปิดเผยข้อมูลการสำรวจเงินเดือนล่าสุดของประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำปี พ.ศ.​ 2562 พบข้อมูลน่าสนใจดังนี้

มุมมองระดับภูมิภาค

ผลการสำรวจเงินเดือนของ โรเบิร์ต วอลเทอร์ส ปี 2562 ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 20 นั้น ชี้ให้เห็นว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มที่จะเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีการลงทุนที่แข็งแกร่งจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศจีน ซึ่งนับเป็นแรงกระตุ้นสำคัญในการขยายตลาดอย่างมีเสถียรภาพ

บุคลากรมืออาชีพที่มีทักษะความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์จะเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานอย่างมาก ส่งผลให้บริษัทต่างๆ เร่งปรับกลยุทธ์การสรรหาบุคลากรเพื่อดึงดูดผู้สมัครที่เป็นที่ต้องการในตลาดมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดอัตราเงินเดือนและสวัสดิการที่สูงขึ้น รวมไปถึงการแสดงให้เห็นว่า ผู้สมัครที่ได้รับตำแหน่งดังกล่าวจะมีความสำคัญต่อบริษัทฯ​

เช่นเดียวกับบุคลากรที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมบทบาทของการขยายงานในตลาดแรงงานมากขึ้นในปี 2562 ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของธุรกิจในยุคดิจิทัลที่เกิดขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลจากการเปลี่ยนแปลงนี้ ทำให้บริษัทหลายแห่งต้องการจ้างผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถในด้านดิจิทัล ทั้งในเชิงการตลาดและไอที (IT) โดยเฉพาะผู้ที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีที่มีความเติบโตอย่างแพร่หลาย เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์​ (Artificial Intelligence หรือ AI), การวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ (Cybersecurity) ตลอดจนบุคคลที่มีความรู้เกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีอื่น ๆ และความสามารถในการทำอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสาขาวิชาต่าง ๆ ได้

ด้านการสรรหาบุคลากรของธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ยังเน้นไปที่แรงงานในท้องถิ่นอีกด้วย โดยผลการสำรวจเงินเดือนปี 2562 เผยว่า บริษัทต่าง ๆ กำลังมองหาพนักงานด้วยกลยุทธ์ “glocal” มากขึ้น กล่าวคือ พนักงานในท้องถิ่นที่มีประสบการณ์ระดับนานาชาติ อย่างเช่นมีประสบการณ์การทำงานในต่างประเทศ หรือทำงานในบริษัทที่มีขยายตัวไปสู่ภูมิภาคอื่น เป็นต้น โดยในอนาคตอันใกล้ในปี 2562 นี้ คาดว่า จะเป็นปีที่มีความเคลื่อนไหวอย่างมากในกระบวนการสรรหาบุคลากรในระดับภูมิภาค ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ทั้งภาคธุรกิจและตลาดแรงงาน

ภาพรวมการจ้างงานในประเทศไทย ปี 2562

แกริต บุคกาต กรรมการผู้จัดการ โรเบิร์ต วอลเทอร์ส ประเทศไทยและเวียดนาม บอกว่า “จากผลการสำรวจเงินเดือนของ โรเบิร์ต วอลเทอร์ส ปี 2562 จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยมีความต้องการบุคลากรที่มีทักษะภาษาอังกฤษที่เชี่ยวชาญอย่างมาก อันเนื่องมาจากธุรกิจไทยมีการขยายตัวทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากลมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ปี 2562 นี้จะเป็นปีแห่งการปฏิรูประบบดิจิทัล ซึ่งส่งผลให้ความต้องการบุคลากรทางด้านไอทียังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องทั่วทั้งภูมิภาค”

ด้านโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศไทย มุ่งไปที่การสรรหาผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ปัญหาและการจัดการโครงการอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากการขาดแคลนช่องทางเข้าสู่บทบาทของผู้บริหารระดับกลางไปสู่ระดับสูง ซึ่งคาดว่า จะส่งผลให้มีการเพิ่มเงินเดือนเพื่อเฟ้นหาผู้สมัครที่เหมาะสม และกระตุ้นให้บริษัทปรับปรุงกระบวนการสรรหาบุคลากรให้ดึงดูดมากยิ่งขึ้น การแข่งขันของผู้สมัครจะมีความเข้มข้นสูง ควบคู่ไปกับการสร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้โดดเด่นผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เพื่อเพิ่มชื่อเสียงและดึงดูดผู้สมัครในตลาดงาน นอกจากนี้ ในปี 2562 ยังเน้นการให้โอกาสพนักงานในบริษัทฯ ด้วยการเลื่อนตำแหน่งหรือย้ายงาน ในขณะที่การสรรหาบุคลากรได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมไปถึง การนำบทบาทบางอย่างมาเป็นตำแหน่งงานใหม่ในบริษัทในปีหน้าอีกด้วย เช่น ตำแหน่งทางกฎหมาย เป็นต้น

ทั้งนี้ 4 ปัจจัยหลักที่กำหนดความพึงพอใจในการทำงานในปี 2562 คือ ความสมดุลในชีวิตการทำงาน ค่าตอบแทน ผลตอบรับ และการสนับสนุนจากผู้บริหาร ตลอดจนการฝึกอบรม และโอกาสต่างๆ ด้านแรงจูงใจหลักในการเปลี่ยนงานในปี 2562 คือความต้องการความก้าวหน้าในอาชีพการงาน ทั้งการเพิ่มเงินเดือนขึ้นและ/หรือสวัสดิการที่ดีขึ้น รวมไปถึงความสมดุลในชีวิตการทำงานที่ดีขึ้นด้วย

กลุ่มบุคลากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาชีพ 90% ยังรู้สึกมั่นใจว่า กลุ่มของตนเองยังเป็นที่ต้องการในตลาดงานปี 2562 ด้านอัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้น 15-20% สำหรับตำแหน่งฝ่ายสนับสนุนในองค์กร และ 20-30% สำหรับตำแหน่ง Front-office และงานที่มีความสามารถทักษะเฉพาะด้าน

ไฮไลท์ผลการสำรวจเงินเดือน ปี 2562 ของประเทศไทย

  • ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของนักวางแผนด้านการเงิน นักวิเคราะห์ และ คู่ค้าทางธุรกิจเช่น บริษัทสำนักงานอัตโนมัติ (Business partners as companies automate) และปรับปรุงกระบวนการสำคัญ ๆ (streamline key processes)
  • ความต้องการของผู้จัดการด้านความสัมพันธ์ในด้านการธนาคารพาณิชย์ที่มีทักษะภาษาอังกฤษที่ดีจะเพิ่มขึ้น
  • ความต้องการผู้บริหารที่มีมาตรฐานสูงในอุตสาหกรรมส่งออกที่สำคัญของไทย และมีบทบาทการบริหารจัดการโครงการที่ใช้เทคโนโลยี เช่น IoT (Internet of Thing)
  • ความต้องการของผู้หางานเพิ่มขึ้น 30% จะได้พบกับการมุ่งเน้นไปที่แพ็คเกจแรงจูงใจ เนื่องจากมีความสามารถเฉพาะ
  • ทีมงานฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะกลายเป็นเหมือนคู่ค้าทางธุรกิจมากขึ้น โดยมุ่งเน้นไปยังเป้าหมายและวัตถุประสงค์
  • ทักษะทางกฎหมายจะยังคงถูกนำมาใช้ในบริษัท ด้วยการเพิ่มบทบาทในการให้คำปรึกษาทางกฎหมายมากขึ้น และความต้องการสำหรับผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณภาพ
  • แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซช่วยเพิ่มความต้องการสำหรับนักการตลาดที่มีทักษะด้านดิจิทัลและมีวิสาหกิจในรูปแบบ B2B มากขึ้นทำ ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางภูมิภาค
  • ธุรกิจบริการสุขภาพจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากชื่อเสียงของประเทศไทยในฐานะศูนย์การแพทย์ที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการของประชากรสูงอายุ
  • พนักงานขายในตลาดระดับลักซ์ชัวรี่จะเพิ่มขึ้น ในขณะที่ธุรกิจค้าปลีกจะต้องการผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะด้านดิจิทัลมากขึ้น
  • เงินเดือนในตำแหน่งงานบางประเภทอาจเพิ่มขึ้นถึง 40% โดยเฉพาะในด้านห่วงโซ่อุปทานเฉพาะ และตำแหน่งการจัดซื้อ
  • จะมีการให้ความสำคัญกับการบูรณาการเทคโนโลยี Big Data, เทคโนโลยีบล็อกเชน,​ และเทคโนโลยี AI ซึ่งมีความต้องการสำหรับมืออาชีพที่สามารถผสานรวมความก้าวหน้าเหล่านี้เข้ากับกรอบการพัฒนาธุรกิจได้
  • กลยุทธ์ Mobile-first หรือการที่ทุกสิ่งทุกอย่างเชื่อมต่อผ่านมือถือ ได้รับการผลักดันอย่างมาก ทำให้ความต้องการและเงินเดือนเพิ่มขึ้นสำหรับผู้สมัครที่มีทักษะเหล่านี้ ในขณะที่การนำเสนอทักษะด้านไอทีควบคู่กับความเข้าใจในกลยุทธ์ทางธุรกิจ

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา