บริการยานพาหนะผ่านทางแอพพลิเคชั่น (Ride-hailing service) หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “แอพเรียกรถ” กลายเป็นอีกหนึ่งในบริการที่ขาดไม่ได้ของเหล่าบรรดาคนเมืองทั้งหลายในปัจจุบัน อย่างในปี 2018 ที่ผ่านมา มีอัตราของผู้โดยสารที่ใช้แอพเรียกรถถึง 2.4 ล้านครั้งต่อเดือน และมีแนวโน้มว่าจะมากขึ้นถึง 11 ล้านครั้งต่อเดือนในปี 2025 หรืออีก 6 ปีหลังจากนี้
แน่นอนว่า ถ้ามองในมุมเศรษฐกิจ แอพเรียกรถในไทยมีมูลค่ามหาศาล จากสถิติในปี 2018 มีการประเมินว่า ตลาดแอพเรียกรถมีมูลค่าถึง 21,000 ล้านบาท คิดเป็น 6% ของ GDP ในภาคขนส่งโดยสารทางบกไทย
แต่ถึงอย่างนั้น หากมองแอพเรียกรถในมุมสังคม ก็ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในประเด็นอันร้อนแรง เพราะการเข้ามา disrupt ของแอพเรียกรถในไทยนับตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคนที่ทำงานสายบริการขนส่ง ตั้งแต่ระดับวินมอเตอร์ไซค์ คนขับรถแท็กซี่ หรือแม้กระทั่งคนขับรถตู้ระหว่างเมือง
- คำถามของสังคมไทยในวันนี้คือ แล้วเราจะเอาอย่างไรกับ “แอพเรียกรถในไทย” กันดี?
เพราะในปัจจุบันแอพเรียกรถยังไม่ได้รับรองให้ถูกต้องตามกฎหมาย และมากกว่านั้น ถ้ามองในบริบทที่ไกลกว่าประเทศไปอีกสักนิด ประเทศไทยถือเป็น 1 ใน 3 ประเทศของภูมิภาคอาเซียน (ไทย, เมียนมาร์, ลาว) ซึ่งยังไม่มีการรับรองให้แอพเรียกรถถูกกฎหมาย ส่วนประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้มีกฎหมายรองรับเรียบร้อยแล้ว
ทั้งหมดนี้ จึงนำมาสู่ความพยายามในการตอบคำถามและหาทางออกของงานวิจัยเรื่อง “อุตสาหกรรมการให้บริ
ข้อเสนอจากงานวิจัยมีดังนี้
- แพลตฟอร์มต้องได้มาตรฐาน: มีการตรวจสอบประวัติอาชญากรย้อนหลังก่อนเปิดระบบให้ขับ, มีการอบรมด้านความปลอดภัย, มีศูนย์ Call Center 24 ชม., มีการจัดการเรื่องประกันภัยที่อิงตามการเรียกผ่านแอพพลิเคชั่น ไม่ใช่อิงจากการใช้รถยนต์เพื่อทำให้มีการคุ้มครองที่ทั่วถึง, มีระบบประเมินผู้ขับ, นำเอาเทคโนโลยีในการยืนยันตัวตนแบบ Biometric มาใช้ก่อนการขับ ฯลฯ
- ผู้ขับขี่และรถยนต์ต้องได้มาตรฐาน: ควรใช้มาตรฐานเรื่องรถยนต์เป็นเกณฑ์ในการวัดความปลอดภัย ไม่ใช่มาตรฐานเรื่องขนาดเครื่องยนต์ เนื่องจากรถยนต์ขนาดเล็กจะส่งผลดีต่อการจราจรในภาพรวมมากกว่า และที่สำคัญจะส่งผลให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับทำงานในเศรษฐกิจดิจิทัล (digital economy)
- มาตรฐานของการบริการขั้นต่ำ: ระบบต้องไม่ล่ม รองรับการเรียกจำนวนมหาศาลได้ (scalability) มีเสถียรภาพ ครอบคลุมทุกพื้นที่ในไทย มีระบบการแปลภาษาหลากหลายระหว่างคนขับและผู้ใช้งานเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และต้องรองรับการชำระเงินที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเงินสด, บัตรเครดิต, บัตรเดบิต, e-wallet ฯลฯ
- มาตรฐานราคา: ใช้ระบบการคำนวณราคาแบบ Dynamic Pricing คือคำนวณราคาแบบเรียลไทม์และสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง โดยใช้ Big Data เข้ามาเก็บข้อมูลและสร้างกลไกร่วมกันที่สร้างความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานแบบเรียลไทม์ เช่น ช่วง High Demand – Low Demand เป็นต้น
- มาตรฐานบริษัท: บริษัทแอพเรียกรถที่ให้บริการในไทยต้องมีผู้ที่มีสัญชาติไทยถือหุ้นเป็นส่วนใหญ่ และต้องจดทะเบียนในไทยเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง (Grab Thailand มีคนไทยถือหุ้น 75% และมีกลุ่มเซ็นทรัลเป็นนักลงทุนรายใหญ่, LINE Thailand มีคนไทยถือหุ้น 50.02%, ALL THAI TAXI เป็นบริษัทคนไทยคือนครชัยแอร์, บริษัทสมาร์ทแท็กซี่ จำกัดและบริษัทแท็กซี่โอเคต่างเป็นบริษัทคนไทย)
แล้วสังคมไทยจะเอาอย่างไรกับแอพเรียกรถ?
ด้านบนนี้คือข้อเสนอจากงานวิจัย แต่หากถามว่าสังคมไทยจะเอาอย่างไรกับแอพเรียกรถทั้งหลายในตลาด
ความเคลื่อนไหวล่าสุดในปีนี้ 2019 ภาครัฐไทยที่นำโดยกระทรวงคมนาคม ได้เริ่มกระบวนการเพื่อจะทำให้แอพเรียกรถทั้งหลายในตลาดเป็น “อุตสากรรมที่ถูกต้องตามกฎหมาย”
แต่ถ้าถามเพิ่มว่า ภาครัฐไทยจะบรรจุคำที่กำหนดในตัวบทกฎหมายอย่างไรต่ออุตสาหกรรมแอพเรียกรถเพื่อให้เกิดความชัด หรือเป็นไปได้ไหมว่าภาครัฐไทยจะออกกฎหมายที่สามารถกำหนดให้ถึงที่สุดแล้ว แอพเรียกรถทุกรายในตลาดจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทยอย่างเคร่งครัด ชนิดที่ว่าไม่อนุญาตให้ไปจดทะเบียนภาษีแบบดิจิทัลที่ต่างประเทศ และอาจจะทำให้ไทยเสียผลประโยชน์ได้ในอนาคต และมากไปกว่านั้นหากเพิ่มเงื่อนไขของคำถามด้วยคำว่า “เมื่อไหร่” และ “อย่างไร” ที่เราถึงจะได้เห็นถึงรูปธรรมของการแก้ไข
ปรากฏว่า ยังไม่พบคำตอบใดๆ ที่ชัดเจน
ดูเหมือนว่า คำตอบที่ชัดเจนที่สุดในตอนนี้ คือสังคมไทยยังคงต้อง “รอ” กันต่อไปอีกสักพักครับ
บทความนี้อ้างอิงจากงานวิจัยเรื่อง “อุตสาหกรรมการให้บริ
โดยงานวิจัยนี้ได้สรุปภาพรวมธุรกิจแอพเรียกรถในประเทศไทยไว้ดังนี้
- อุตสาหกรรมการให้บริ
การยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชัน หรือ Ride-hailing ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2661 มีมูลค่าตลาดประมาณ 21,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 6 ของ GDP ภาคขนส่งทางบกไทย โดยคาดว่าจะเติบโตสูงขึ้นเป็น 4.33 แสนล้านบาทในปี พ.ศ. 2568 หรือคิดเป็นร้อยละ 27 ของ GDP ภาคขนส่งทางบกไทย - มีผู้โดยสารใช้บริการ Ride-hailing ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2561 ประมาณ 2.4 ล้านคนต่อเดือน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 11 ล้านคนต่อเดือนในปี พ.ศ. 2568
- มีผู้ขับขี่รถยนต์โดยสารเพื่
อให้บริการ Ride-hailing ในปี พ.ศ. 2561 ประมาณ 105,000 คนต่อเดือน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 590,000 คนต่อเดือนในปี พ.ศ. 2568
นอกจากนั้น งานวิจัยยังระบุด้วยว่า จากผลการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับบริการ Ride-hailing พบว่า
- 95% ของผู้บริโภคเห็นด้วยกับการทำให้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันอย่าง Grab ถูกกฎหมาย
- 77.24% ของคนไทยเห็นว่าจำเป็นต้องแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา