นักธุรกิจไทยมองสองชั้น ซื้อแฟรนไชส์ร้านอาหารต่างแดนได้มากกว่าที่คิด

การซื้อแฟรนไชส์ธุรกิจร้านอาหารต่างประเทศ เป็นมากกว่าแค่การขยายอาณาจักรและปลุกปั้นรายได้ แต่เป็นการเรียนรู้โนฮาวด์ ประสบการณ์อันเลอค่าและหามิได้ 

ภาพจาก : shutterstock

มาเริ่มต้นที่อิมแพ็ค กรุ๊ป” จากการความเชี่ยวชาญบริหารศูนย์แสดงสินค้าและประชุม แต่เมื่ออยู่ในสังเวียนของธุรกิจร้านอาหารประสบการณ์ของอิมแพ็ค เรียกว่าชั่วบินยังน้อยมาก จากการมีร้านอาหารราว 30 สาขา พร้อมกับวางเป้าหมายเป็นเดิมพันจะขยายธุรกิจร้านอาหารโดยมีสาขา 60 สาขา ภายใน 3 ปีก็ตาม

เป็นเรื่องไม่ง่ายนัก การโดดเข้ามาสมรภูมิธุรกิจร้านอาหาร สำหรับ พอลล์ กาญจนพาสน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี เล่าว่า เราตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่น สึโบฮาจิ เป็นแบรนด์แรกเลยก็ว่า

พอลล์ กาญจนพาสน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด

“ผมซื้อแฟรนไชส์เพื่อเรียนรู้ระบบการจัดการวัตถุดิบ อย่าง แซลมอน ล็อบสเตอร์ เพราะขึ้นชื่อว่าญี่ปุ่น วัตถุดิบอาหารต้องได้มาตรฐาน ขั้นตอนการบริหารจัดการวัตถุดิบส่งตรงจากญี่ปุ่นมาถึงไทยดำเนินการอย่างไรให้สดใหม่”

นอกจากแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่นแล้ว กลุ่มอิมแพ็ค ตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ “เดอะคอฟฟี่ อะคาเดมิคส์” แบรนด์ดังจากฮ่องกง อิมแพ็ค ไม่มองว่าการดำเนินธุรกิจต้องประสบความสำเร็จหรือไม่ เพราะเราต้องการเรียนรู้มาร์เก็ตติ้ง โดยเฉพาะการทำโซเชียลมีเดียสำหรับเดอะคอฟฟี่ อะคาเดมิคส์ ที่สร้างกระแสฮือฮามาแล้วในฮ่องกง หรือการบริหารโอเปอเรชั่นต่างๆ

บุญยง ตันสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

บุญยง ตันสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจฟู้ดเซอร์วิสครบวงจร เล่าว่า กลุ่มเซ็นมีประสบการณ์ในธุรกิจร้านอาหารร่วม 28 ปี การตัดสินใจจะซื้อกิจการหรือแฟรนไชส์เรายึดหลักดีเอ็นเอของแบรนด์ก่อน และมองหาพันธมิตรมีแบรนด์ในพอร์ตโฟลิโอเติมเต็มกับที่เราต้องการหรือไม่

“ก่อนหน้านี้ได้ซื้อแฟรนไชส์ซูชิซู เมนูของอาหารเสี่ยวหลงเปาแต่เป็นร้านอาหารของญี่ปุ่น ขณะนี้มีจำนวน 10 สาขา ตอนตัดสินใจซื้อเรามองว่าเป็นโอกาสทางธุรกิจ อยากเรียนรู้โนฮาวด์มีการบริหารจัดการธุรกิจใช้คนน้อย และบริหารต้นทุนอาหารได้ดี ราคาจึงไม่แพงมากนัก เรียกว่าซื้อง่ายขายคล่องสนอผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี”

สำหรับประสบการณ์ซื้อกิจการ ตำมั่ว แบรนด์จำหน่ายส้มตำ ไก่ย่าง สิ่งที่เราได้ประโยชน์นำโนฮาวด์แบรนด์ไทยไปขยายหรือต่อยอด นอกจากนี้ตำมั่ว ยังเป็นอาหารเข้ามาเติมเต็มพอร์ตโฟลิโอให้ธุรกิจอาหารเซ็น กรุ๊ป แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

แง่คิดของนักธุรกิจ อย่างบุญยง ผู้คว่ำหวอดในธุรกิจมาอย่างโชกโชน มองว่า การพัฒนาแบรนด์เองง่ายกว่า แต่ต้องใช้ระยะเวลาปั้นแบรนด์ให้ติดตลาด การซื้อกิจการ หรือแฟรนไชส์ สามารถแจ้งได้เร็ว สร้างการเติบโตได้ดีกว่า

สรุป : หลักการเลือกซื้อกิจการ – ควบรวม

  • การซื้อกิจการ ต้องดูดีเอ็นเอของแบรนด์
  • การควบรวมกิจการ ต้องมีวัฒนธรรมองค์กรคล้ายกัน
  • แบรนด์สตาร์ทอัพ ต้องใช้เวลาปรับให้เข้ากับระบบ
  • การซื้อแบรนด์ต้องดูจิ๊กซอร์ในการต่อยอดธุรกิจ
  • นำโนฮาวด์ของแบรนด์มาการบริหารจัดการ
  • การซื้อแบรนด์หรือแฟรนไชส์ถูกหรือแพงต้องมองที่ความคุ้มค่า

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา