ต้นทุนพลังงานทดแทนจะต่ำลงใน 10 ปี ถูกกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะใช้?

แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีให้สอดรับกับการใช้พลังงานทดแทนไม่ใช่เรื่องใหม่ รวมไปถึงการลงทุนของภาครัฐในอีกหลายประเทศทั่วโลกเช่นกัน ที่น่าสนใจคือ UN ได้ระบุในรายงานชิ้นใหม่เกี่ยวกับพลังงานทดแทนว่า ต้นทุนของพลังงานทดแทนจะลดต่ำลงภายใน 10 ปีนี้ จนมีราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ในอนาคตกระแสการใช้พลังงานทดแทนทั่วโลกจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ถูกลงแล้วไง ถ้าไม่ใช้ก็เท่านั้น

ในบรรดาประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก รัฐบาลมักคำนึงถึงเพียงว่าจะทำอย่างไรให้ผู้คนมีพลังงานไฟฟ้าใช้ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐิจ UN ระบุว่า หลายประเทศที่กำลังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น อินเดีย หรือหลายประเทศในแอฟริกาก็กำลังเร่งตอบสนองความต้องการของประชาชนที่เพิ่มขึ้น โดยไม่ได้คำนึงถึงวิธีการที่ใช้มากนัก

หากไปดูในกลุ่มประเทศร่ำรวย กลุ่มประเทศในยุโรปและออสเตรเลียมีแนวโน้มที่จะใช้พลังงานทดแทน และรวมถึงมีทรัพยากรในการพัฒนาระบบพลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ประเทศร่ำรวยอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นยังคงไม่มีท่าทีที่เป็นบวกเท่าไหร่ต่อเรื่องนี้

อ่านรายงานฉบับเต็มของ UN เรื่อง RENEWABLES GLOBAL FUTURES REPORT ได้ที่นี่

ในสหรัฐอเมริกา ถ้ามองจากมุมทางการเมือง พรรคการเมืองที่มีอำนาจในปัจจุบันกำลังถอดรื้อโครงการเกี่ยวกับนโยบายพลังงานสีเขียว รวมถึงถอดผู้ดูแลเกี่ยวกับระบบพิทักษ์สิ่งแวดล้อม แม้บริษัทเชื้อเพลิงหลายแห่งจะตระหนักถึงสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศหรือปรากฏการณ์โลกร้อน แต่ดูเหมือนว่าอนาคตของพลังงานทดแทนในสหรัฐอเมริกาน่าจะเป็นไปได้ยาก

ส่วนในญี่ปุ่น หนึ่งในปัญหาหลักคือเรื่องพื้นที่ อาจต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการติดตั้งระบบจัดเก็บลมหรือแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในพลังงานทดแทน นอกจากนั้น ยังมีปัญหาใหญ่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมพลังงานในญี่ปุ่นที่ยังยึดติดอยู่กับระบบเดิม และไม่น่าจะสนับสนุนการเคลื่อนย้ายไปใช้พลังงานทดแทน

แตถ้าไปดูที่จีน จะพบความน่าสนใจอย่างมาก เพราะด้วยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและประชากร ทำให้ในแง่นี้จีนไม่ต่างกับอินเดียและประเทศในแถบแอฟริกามากนัก แถมในอดีตสหรัฐอเมริกายังกดดันจีนให้ต่อสู้เรื่องสภาวะโลกร้อนด้วย แต่ในตอนนี้ดูเหมือนว่าจะสลับข้างกัน เพราะกลายเป็นจีนที่ลงทุนในพลังงนทดแทนอย่ามหาศาล และกลับเป็นฝ่ายที่กดดันสหรัฐอเมริกาเสียเอง

ที่มา – Business Insider

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา