ผลการศึกษาชี้ คนทำงานมากกว่า 60% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กังวลที่จะกลับไปทำงานในออฟฟิศ

บริษัท Qualtrics เผยผลการศึกษาเรื่อง “การกลับไปทำงานในที่ทำงาน” (Return to Work & Back to Business Study) เป็นผลการศึกษากลุ่มคนทำงานในอายุต่างๆ กัน นับตั้งแต่คนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ถึงรุ่นเจนซี ในไทย มาเลเซีย รู้สึกไม่สะดวกใจที่จะกลับไปทำงานในที่ทำงาน

ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 509 คน จาก 2 ประเทศ เป็นคนไทย 150 คน ในหัวข้อเกี่ยวกับความมั่นใจในการกลับไปทำงานในที่ทำงานหรือออกไปใช้ชีวิตในสังคมเหมือนเดิมและปัจจัยอะไรบ้างที่เขารู้สึกสบายใจที่จะทำ

Work

คนทำงานจำนวน 62% คาดหวังว่าจะกลับไปทำงานเดือนกรกฎาคม และมากกว่าครึ่งหนึ่ง (58%) กล่าวว่า ต้องมีการรักษาโรคให้หาย หรือวัคซีนออกมาก่อน พวกเขาจึงจะสบายใจที่จะกลับไปทำงาน

เหมา เจน ฟู ประธานเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Qualtrics กล่าว สืบเนื่องจากมาตรการล็อคดาวน์เริ่มผ่อนคลาย เราจึงเห็นธุรกิจและสถานที่ทำงานต่างๆ เริ่มกลับมาเปิดเป็นปกติ แต่ทว่านายจ้างและองค์กรธุรกิจต่างๆ ควรตระหนักว่า พนักงานหรือลูกค้า อาจจะยังไม่พร้อมที่จะกลับมาใช้ชีวิตในรูแปบบเหมือนเดิม

มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งในไทยและมาเลเซียรู้สึกไม่สะดวกที่จะกลับไปทำงานที่ทำงาน องค์กรและรัฐบาลจำเป็นต้องเข้าใจว่าพฤติกรรมและทัศนคติของพนักงานและลูกค้าได้เปลี่ยนไปแล้ว ดังนั้น องค์กรต้องช่วยให้พนักงานรู้สึกมั่นใจในช่วงการเปลี่ยนผ่านไปยังเฟสของภาวะปกติใหม่ด้วย

Bangkok COVID-19 หน้ากากอนามัย
ภาพจาก Shutterstock

ผลสำรวจการกลับไปทำงานในที่ทำงาน พบว่าพนักงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องการให้องค์กรมีแนวทางปฏิบัติด้านการรักษาความปลอดภัย ดังนี้

  • 83% คนทำงานต้องการให้เพื่อนร่วมงานใส่หน้ากากอนามัย
  • 82% ต้องการเจลล้างมืออนามัยและสิ่งทำความสะอาดวางกระจายอยู่ทั่วออฟฟิศ
  • 67% ยังคงต้องการให้มีการรักษาระยะห่างทางสังคม (social distancing)
  • 63% ต้องการให้มีการตรวจวัดอุณหภูมิ 
  • 62% ต้องการให้ออกนโยบายไม่สนับสนุนให้มีการจับมือหรือกอดทักทายในที่ทำงาน 

ทันที่ที่กลับไปที่ทำงาน พนักงานกล่าวว่า พวกเขาจะรู้สึกสบายใจหากว่าบริษัทออกมาตรการต่างๆ เหล่านี้ เพื่อปกป้องพวกเขา และเพื่อนร่วมงานทุกคน  

  • 96% เป็นเรื่องสำคัญมากที่จะจำกัดจำนวนคนในการเข้าประชุม
  • 98% พนักงานทุกคนจำเป็นต้องใส่หน้ากากอนามัย
  • 96% องค์กรควรอนุญาตให้พนักงานสามารถทำงานจากที่บ้านได้ หากพวกเขารู้สึกว่าไม่ปลอดภัย
  • 97% ทุกคนต้องตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้ามายังอาคาร 
  • 97% ต้องมีนโยบายรักษาระยะห่างทางสังคมในที่ทำงาน 

ผลการศึกษา การกลับสู่ธุรกิจ แม้ว่ากฎเกณฑ์เริ่มผ่อนคลายลง แต่คนยังรู้สึกไม่มั่นใจที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ และ 32% คิดว่า “จะไม่มีวันกลับไปเป็นเหมือนเดิม”  

Photo by Roger Harris on Unsplash

การแสดงคอนเสิร์ตและกีฬา

  • คนส่วนใหญ่รู้สึกไม่สบายใจที่จะดูกีฬาสดที่สนาม (73%) และการแสดงคอนเสิร์ต (71%)
  • คนจำนวน 1 ใน 4 (25%) ที่ดูกีฬาเป็นประจำ กล่าวว่า พวกเขาไม่น่าจะดูกีฬาที่สนามในช่วงระยะเวลาอันใกล้นี้ แม้ว่าจะมีการผ่อนผันก็ตาม
  • นอกจากนี้ คนเกือบครึ่ง (48%) ไม่น่าจะเข้าดูการแข่งขันกีฬาที่สนามจนกว่าจะถึงมกราคม ปีหน้า
  • ในขณะที่คน 59% จะไม่ไปดูการแสดงคอนเสิร์ตจนกว่าจะมกราคมปีหน้าเช่นกัน 

ร้านอาหารและช้อปปิ้ง

  • 60% ยังรู้สึกไม่สบายใจที่จะไปร้านอาหาร
  • 36% รู้สึกแบบเดียวกัน คือ ไม่อยากไปช็อปปิ้ง เมื่อห้างร้านเปิดกิจการแล้ว ไม่มีการรับประกันว่าคนจะกลับมาเดินเที่ยวเหมือนเดิม 

แม้ว่าสาธารณสุขจะประกาศว่าปลอดภัย และการรักษาหรือวัคซีนป้องกันไวรัสพร้อมแล้ว ผู้คนยังคงต้องการที่จะเห็นมาตรการต่างๆ ก่อนที่จะออกไปทานอาหารนอกบ้าน 

  • 12% ต้องการให้โต๊ะแยกห่างกันเพื่อความปลอดภัย
  • 12% ต้องการให้มีการเว้นระยะห่างทางสังคม
  • 12% ต้องการให้บริกรและพนักงานในร้านอาหารใส่ถุงมือและหน้ากาก
  • 11% ต้องการให้มีการตรวจวัดอุณหภูมิ ก่อนเข้าร้านอาหาร 
Airport Terminal สนามบิน
ภาพจาก Shutterstock

สายการบิน และการเดินทางโดยรถสาธารณะ

  • 67% รู้สึกไม่สบายใจที่จะใช้บริการรถสาธารณะ
  • 73% รู้สึกไม่สบายใจที่จะใช้บริการสายการบิน

“ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่รู้สึกยังไม่พร้อมที่จะกลับไปใช้ชีวิตปกติเหมือนเดิม นั่นหมายความว่า ในขณะที่มาตรการต่างๆ ได้รับการผ่อนผัน และองค์กรธุรกิจเปิดทำการอีกครั้งในช่วงสัปดาห์นี้และเดือนนี้ ดังนั้น เป็นเรื่องจำเป็นที่องค์กรธุรกิจควรเข้าใจถึงความรู้สึกของลูกค้า ผู้ใช้บริการ หรือพนักงาน ซึ่งต้องการเห็นมาตรการในการรักษาความปลอดภัย นำมาใช้ในองค์กรและการให้บริการ ทั้

งนี้ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าโดยตรง  และช่องทางดิจิทัล ทำให้องค์กรสามารถดำเนินการด้านต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และความมั่นใจ ให้กับทุกคน ทั้งนี้ เพื่อการก้าวไปข้างหน้าได้อย่างดีที่สุด”   

ผลการศึกษาครั้งนี้ จัดทำโดยใช้แพลตฟอร์ม Qualtrics CoreXM แพลตฟอร์มชั้นนำในอุตสาหกรรม ที่องค์กรต่างๆ สามารถจัดการและนำไปปฏิบัติการจากข้อมูลเชิงประสบการณ์ (X-data) ที่เก็บเกี่ยวข้อมูลจากความคิด ความรู้สึก และเจตนารมณ์

ที่มา – Qualtrics

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
สนใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การทูต การเมือง ประชาธิปไตย เสรีภาพ ความยุติธรรมและความเท่าเทียม ชอบอ่าน ชอบเขียน ชอบสืบค้นข้อมูล ชอบทำคอนเทนต์