PRISM PRIDE เมื่อไทยมีอีกหนึ่งงาน LGBTQ+ ระดับโลก พร้อมสร้างเศรษฐกิจ Pink Economy

ต้อนรับ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว นับไปอีก 120 วันเท่ากับว่า 22 ม.ค.​68 ประเทศไทยจะอนุญาตให้คนทุกเพศสามารถจดทะเบียนสมรสระหว่างกันได้ นี่คือประเด็นใหญ่มาก ที่สะท้อนถึงอีกหนึ่งก้าวของความเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง

สำหรับชายจริงหญิงแท้อาจจะนึกไม่ออก แต่ในทางกฎหมาย การที่บุคคล 2 คนไม่ว่าจะเพศอะไรสามารถจดทะเบียนสมรสกันได้ มีความหมายมากกว่าแค่สามีภรรยาหรือคู่ชีวิต หลายคนเชื่อมั่นว่า หลังจาก 22 ม.ค. 68 มาถึง ประเทศไทยจะเป็นอีก Destination ของกลุ่ม LGBTQ+ ทั่วโลก อาจเกิดพายุหมุนเศรษฐกิจของกลุ่ม LGBTQ+ ขึ้น เรียกว่า ไต้หวัน หรือ ออสเตรเลีย ก็ยังสู้ไม่ได้

อย่ากระนั้นเลย เรามาจัดงานที่สะท้อนภาพ LGBTQ+ แต่ทุกคนสามารถมาร่วมสนุกกันได้อย่างไม่มีขีดจำกัดกันดีกว่า

จากคนเที่ยว กลายเป็นคนจัดงาน PRISM PRIDE

กลายเป็นจุดเริ่มต้นให้ ธงนครินทร์ สุขวัฒนชัยวงษ์, พิมพ์ชนก พลธนัยโรจน์ และ มิลเจด ภัคลภัส สามสหายจัดงาน PRISM PRIDE ขึ้น โดยกำหนดให้เป็นงานใหญ่ของชาว LGBTQ+ ลำดับที่ 4 ของประเทศไทย เพราะก่อนหน้านี้ประเทศไทยมีงานสำหรับชาว LGBTQ+ อยู่แล้ว 3 งาน คือ White Party, G Circuit และ Circuit Festival Pattaya 

“จากคนที่เที่ยวงานพวกนี้เพราะชอบ เปลี่ยนมาเป็นคนจัดงาน ก่อนหน้านี้ไปงานเยอะมาก ไปหลายประเทศเพื่อศีกษาดู เก็บประสบการณ์และรายละเอียด อะไรที่ชอบ อะไรที่ไม่ชอบ เปลี่ยนมาเป็น PRISM PRIDE ซึ่งไม่ได้ตั้งใจให้เป็นงาน LGBTQ+ แต่อยากให้เป็นงานที่ทุกคนมาสนุกด้วยกันได้อย่างปลอดภัย”

ไม่จำกัดเฉพาะ LGBTQ+ แต่เป็นงานของทุกคน

รูปแบบงานเน้นแสงสีเสียงอลังการ บวกกับการแสดงโชว์จากศิลปินที่ดูแล้วเหมือนเป็นงานสำหรับ LGBTQ+ แต่จริงๆ เปิดกว้างสำหรับทุกเพศ เหมือน Music Festival ทุกคนที่มาสามารถเป็นตัวของตัวเองได้เต็มที่ ความพิเศษอย่างหนึ่งของงานครั้งนี้คือ มีศิลปินที่ทุกคนรู้จักอย่าง ทาทา ยัง มาร่วมแสดงด้วย ยิ่งทำให้รู้สึกเป็นกันเองมากขึ้น และทุกคนก็มาร่วมด้วยได้ โดย Core Value หลักของ PRISM ประกอบด้วย

  • Fun ทุกคนที่มาต้องสนุกได้ปลดปล่อยด้วยเพลงสไตล์ EDM, House มี Beat หนักๆ แต่ทุกคนรู้จักเข้าถึงง่าย เข้าใจง่าย ถ้าทุกคนรู้จักก็จะสนุกไปด้วยกันได้ง่ายกว่า
  • Captivate ประทับใจ 3 คนที่เป็นคนเริ่มต้นทำงานนี้ทำด้วยใจจริงๆ เรียกว่า ทำงานที่เราอยากมาร่วมเอง ดังนั้น เชื่อว่าคนที่มางานสัมผัสได้ถึงความรู้สึกนี้
  • Experience ประสบการณ์อบอุ่น ไม่ว่าจะเป็น LGBTQ+ หรือ ผู้หญิง คุณจะรู้สึกปลอดภัยที่นี่ 

หนึ่งในจุดเด่นนอกจาก ดนตรี ดีเจ ในงานนี้การแสดงโชว์ โดยเฉพาะ GoGo Boy และ GoGo Girl ที่มาแสดงการเต้นฟรีสไตล์ที่แข็งแรง สวยงาม เซ็กซี่ ยิ่งเสริมให้งานมีความเป็น PRIDE มากขึ้นกว่าเดิม

ยกระดับเศรษฐกิจ LGBTQ+ ให้ไทย

หลายอาจที่ไม่ได้อยู่ในวงการ อาจไม่รู้ว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของ LGBTQ+ อยู่แล้ว เพราะค่าใช้จ่ายไม่สูง มีการท่องเที่ยวที่หลากหลาย มีบริการที่ดี อาหารอร่อย ยิ่งพอมีงานสำหรับ LGBTQ+ ที่โดดเด่นขึ้นมา LGBTQ+ ทุกคนก็พร้อมจะบินมาประเทศไทย ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศที่มีการจัดงานที่เรียกว่า Circuit Festival ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคนี้

สำหรับคนที่ไม่เข้าใจ Circuit Festival คือ เทศกาลเกย์นานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก จัดขึ้นที่เมืองบาเซโลนา ประเทศสเปน มีดนตรี ดีเจ ปาร์ตี้สนุกสนานทั้งกลางวันและกลางคืน และได้ขยายการจัดงานไปอีกหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย

ในมุมเศรษฐกิจ LGBTQ+ หนึ่งคนในเงินมากกว่าคนทั่วไป 30-50% และส่วนใหญ่เป็นการใช้เงินกับตัวเอง เพื่อความสุขของตัวเองเป็นหลัก เพราะไม่มีภาระอื่นใดให้ต้องกังวลใจ ยิ่งมาเที่ยวสไตล์นี้ อาจจะมากับกลุ่มเพื่อน จึงเชื่อว่า PRISM จะเป็นอีกงานหนึ่งที่อยู่ในเป้าหมายการเดินทางของกลุ่ม LGBTQ+ และแน่อนอยากให้ขยายไปถึงคนเพศอื่นๆ มาร่วมกันด้วยได้

เข้าถึงง่าย จัดงานใหญ่กลางปี จัดย่อยตลอดทั้งปี

PRISM PRIDE ตั้งเป้ามีงานหลักจัดช่วงเดือน พ.ค. ซึ่งตรงกับเดือน Pride Month อยู่แล้ว ตัวงานจะจัด 3 วันติดกัน ในพื้นที่ฮอลล์ขนาดกลาง จุคนประมาณ 2,000 คน สาเหตุที่จุดช่วงเดือน Pride นอกจากตรงกับเทศกาล และยังเป็นช่วงโลว์ซีซันของไทยพอดี คือ ไม่เหมาะจะไปเที่ยวภูมิภาคอื่น ดังนั้นมาเที่ยวงาน Festival ก็มีส่วนช่วยดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาไทยมากขึ้นได้

นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะจัดงาน PRISM ย่อย ช่วงต้นปี และปลายปีอีกด้วย ไม่ได้อยากหายไปแล้วเจองานหลักทีเดียว อยากให้รักษาระดับความสนุกสนานไว้ เพื่อให้สามารถต่อยอดไปงานใหญ่ได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับค่าใช้จ่ายในการมาร่วมงานก็ไม่ได้สูง อยู่ที่ 2,500 บาทต่อวัน ทุกคนสามารถจับต้องได้

ในมุมธุรกิจ ทั้ง 3 คนบอกชัดเจนว่า ใช้เงินลงทุนหลัก 15-20 ล้านบาท จบงานแล้วเหลืแค่ความรู้สึกที่ดี อยากทำอีกเรื่อยๆ แต่การจะคืนทุนได้ต้องใช้เวลาประมาณ 5 ปี ซึ่งถือว่าไม่ช้า แต่ก็ไม่ง่ายที่จะรักษาระดับเอาไว้ โดยคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดของงาน Festival แบบนี้อยู่ที่ปีละ 150-200 ล้านบาท ถือว่าตลาดยังมีขนาดเล็ก แต่เชื่อว่าจะมีการขยายตัวมากขึ้น ยิ่ง สมรสเท่าเทียม ผ่านแล้ว โอกาสยิ่งเพิ่มขึ้น

“ถ้าคืนทุนใน 5 ปีได้ จากนั้นก็จะเริ่มต้นกำไร แต่ก็มีความเสี่ยงไม่น้อย เพราะงานลักษณะนี้มีอยู่เรื่อยๆ จุดสำคัญคือต้องออกแบบงานให้สนุก ให้โดนใจ ให้คนรอคอยงานของเราและอยากมาเรื่อยๆ การจัด PRISM ที่ผ่านมา เน้นการบอกต่อ ทำให้คนที่อยู่ในแวดวงรู้จักแล้ว ต่อไปต้องเจาะให้ลึกมากขึ้น และกว้างขึ้น”

พร้อมชน ไต้หวัน-ออสเตรเลีย ดันไทยเป็นศูนย์กลาง

ย้อนกลับมาพูดถึงงาน Pride ที่ไต้หวัน ต้องบอกว่า ไต้หวัน ประกาศจุดยืนชัดเจนว่าต้องการเป็นศูนย์กลางด้านนี้ ข้อได้เปรียบคือ รัฐบาลให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ และมีกฎหมายสมรสเท่าเทียมไปก่อนเรา 2-3 ปีที่ผ่านมาเห็นเลยว่างาน Festival ขนาดไม่ใหญ่ และไม่ได้มีพื้นที่รองรับคนจำนวนมาก ดังนั้น ประเทศไทยยังมีโอกาส

สำหรับไทยต้องบอกว่าขนาดตลาดยังเล็กกว่าไต้หวัน และเชื่อว่า สมรสเท่าทียมจะเป็นใบเบิกทาง ทุกคนมาแต่งงานที่นี่ได้ และมาสนุกด้วยกันต่อได้ งาน Festival เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีธุรกิจใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นอีกมาก เช่น แฟชั่น ศิลปะ อาจจะเรียกรวมๆ ว่า Pink Economy ที่ออกแบบมาเพื่อ LGBTQ+ โดยเฉพาะ 

มิลเจด ได้กล่าวเสริมเรื่องนี้ว่า นอกจาก PRISM PRIDE ส่วนตัวกำลังทำซีรีส์ Y ซึ่งจุดกำเนิดจริงๆ มาจากจีนและไต้หวัน แต่ที่จีน รัฐบาลไม่เปิดรับ ทั้งที่ในจีนซีรีส์ Y เป็นตลาดที่ใหญ่มาก เม็ดเงินมหาศาล จากนั้น Y มีการพัฒนาจนกลายเป็นไม่มีข้อจำกัดเรื่องเพศ ตอนนี้ต้องบอกว่าไทยติด Top 3 ซีรีส์ Y ของโลก ตามลำดับคือ ไต้หวัน จีน และ ไทย ซึ่งสิงคโปร์เองก็กำลังสนับสนุนเรื่องนี้อย่างมาก แสดงว่ายังเป็น Blue Ocean ที่คนไทยมีโอกาสทำได้อีกมาก

สรุปปิดท้าย สำหรับใครที่สนใจ PRISM PRIDE และอยากมาร่วม จะมีการจัดงานอีกเมื่อไร รอติดตามกันให้ดี

MNGPHG

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา