ไทยไม่ใช่เป้าหมายการลงทุนสำคัญของโลก ไม่ใช่เรื่องจริง “ประยุทธ์ยืนยัน”
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหมยืนยันเรื่องไทยไม่ใช่เป้าหมายในการลงทุนที่สำคัญของโลกหรือของภูมิภาคต่างๆ นั้น เคยพูดไปแล้ว โดยยืนยันว่า ช่วง 6 เดือนแรกของปี ต่างชาติก็เข้ามาลงทุนเฉียด 7 หมื่นล้านบาท เพิ่มจากปี 2564 เกือบ 3 หมื่นล้านบาท นี่คือข้อเท็จจริงนะครับที่ปรากฎออกมาแล้ว ใครออกมาแพร่ก็ถือว่าบิดเบือนนะครับ ที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง
ก็เป็นการรายงานจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ก็รายงานประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา มกราคมถึงมิถุนายน ของปี 2565 ต่างชาติลงทุนในประเทศไทย เม็ดเงินลงทุนรวมเกือบ 69,949 ล้านบาท นะครับ จ้างงานคนไทยกว่า 3,164 คนเพิ่มเติม
ต่างชาติเข้ามาลงทุนมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น 71 ราย 75% เงินลงทุนกว่า 2.6 หมื่นล้านบาท สิงคโปร์ 51 ราย 18% เงินลงทุนกว่า 1 หมื่นล้านบาท สหรัฐอเมริกา 35 ราย 12% ลงทุนกว่า 2.8 พันล้านบาท เป็นเงินลงทุนรวมกว่า 3.9 หมื่นล้านบาท
ในส่วนของต่างชาติที่เข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในไทยมีจำนวน 284 ราย ผ่านช่องทางการขออนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว การขอรับหนังสือรับรองประกอบกิจการของคนต่างด้าว แบ่งเป็น ใบอนุญาตประกอบธุรกิจจำนวน 106 ราย หนังสือรับรองประกอบธุรกิจจำนวน 178 ราย
เราย้อนกลับไปเทียบกับปีก่อน ก็ถอยหลังไปเรื่อยๆ ถ้าเทียบกับปีก่อน ผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น 20 ราย คิดเป็น 7.8% ปี 65 จำนวน 284 ราย ปี 64 จำนวน 264 ราย เม็ดเงินลงทุนเพิ่มขึ้นกว่า 2.9 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 73.48% ปี 65 จำนวน 6.9 หมื่นล้านบาท ปี 64 จำนวน 4 หมื่นล้านบาท
ประยุทธ์ได้หารือกับสมาคมภาคธุรกิจต่างๆ และกระทรวงที่เกี่ยวข้อง มีการรายงานความก้าวหน้ามีคนเสนอเพื่อขอรับการลงทุนในไทยมากพอสมควร หลายพื้นที่ หลายกิจการ ทั้งธุรกิจเดิมและธุรกิจใหม่ เรื่องสถานการณ์เศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น การขยายตัวของอุตสาหกรรมดีขึ้น
เรื่องค่าเงินบาท การอ่อนค่าก็ดีสำหรับเรื่องการส่งออก อาจเป็นปัญหาเรื่องนำเข้าซึ่งเป็นปัญหาที่โลกเผชิญอยู่ ทั้งเรื่องเงินเฟ้อต่างๆ เรื่องปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศมหาอำนาจก็กระทบต่อภาวะเงินเฟ้อและเงินทุนไหลเข้าและเงินทุนไหลออกของไทย แบงก์ชาติกำลังดูแลอยู่ ว่าด้วยเรื่องไทยไม่ใช่จุดสนใจของโลกอีกต่อไป จริงๆ รายงานนี้มาจากบทวิเคราะห์ KKP Research หรือเกียรตินาคินภัทร เคยระบุไว้ว่า ไทยกำลังถูกลดความสนใจหลายมิติด้วยกัน ดังนี้
มิติการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน คือตลาดหุ้นที่นักลงทุนมีสัญญาณในการขายสุทธิและตลาดทุนที่นักลงทุนในไทยเริ่มออกไปลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้น มิติการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ ต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยลดลง บริษัทในไทยเริ่มทยอยออกไปลงทุนในต่างประเทศ มิติการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก การส่งออกไทยฟื้นตัวช้ากว่าหลายประเทศในโลก สัดส่วนการส่งออกใช้เทคโนโลยีต่ำกว่าคู่แข่ง
ด้วยเหตุผลเหล่านี้ นำไปสู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย เศรษฐกิจไทยอาจพึ่งพาการส่งออกและท่องเที่ยวไม่ได้ผลอีกต่อไป ดุลการค้าไทยอาจเกิดดุลลดลง สร้างความเสี่ยงกับฐานะการเงินในระยะยาว
ที่มา – รัฐบาลไทย, Brand Inside
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา