IOC: เลื่อนโอลิมปิกอาจใช้เงิน 2.5 หมื่นล้านบาท วัคซีนยังผลิตไม่ได้ รูปแบบงานอาจเปลี่ยน

IOC หรือคณะกรรมการโอลิมปิกสากล คาดการณ์ว่าการเลื่อนโอลิมปิกเกมออกไปอาจต้องใช้เงินมากถึง 800 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท หลังจากที่โควิด-19 ระบาดหนักจนญี่ปุ่นจำเป็นต้องเลื่อน Tokyo Olympics ออกไป

ทั้งนี้ เรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับการเลื่อนยังไมัดเจนนัก แต่ Thomas Bach ประธานคณะกรรมาธิการ IOC ระบุว่าน่าจะอยู่ที่ 800 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเงินจำนวน 150 ล้านเหรียญสหรัฐ (4.8 พันล้านบาท) จะเป็นเงินกู้ให้แก่คณะกรรมาธิการโอลิมปิกและคณะผู้จัดงานกว่า 200 คนต่อไป เพื่อให้มีกระแสเงินสดสำหรับจัดการโตเกียวเกมต่อไปได้  ซึ่งโครงการเงินกู้นี้น่าจะอยู่ภายใต้การนำโดยรัฐบาลกลางสวิตเซอร์แลนด์ที่ประกาศให้ความช่วยเหลือเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ส่วนอีก 650 ล้านเหรียญสหรัฐ (2.08 หมื่นล้านบาท) จะมีการลงรายละเอียดในเดือนถัดไป

Tokyo Olympic 2020 Logo
ภาพจาก Shutterstock

Lana Haddad หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ IOC ระบุว่า ยังเร็วเกินไปที่จะรู้ว่าต้องใช้ต้นทุนเท่าไรสำหรับโตเกียว โอลิมปิก ทั้งนี้ รายได้จากการจัดโอลิมปิกในช่วงปี 2012-2016 ที่ผ่านมา อยู่ที่ 5.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ (1.82 แสนล้านบาท) เป็นไปได้ว่าผ่านไป 4 ปี ตัวเลขจากการจัดโตเกียว โอลิมปิกนี้น่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ( 2.24 แสนล้านบาท)

นับจากเวลาที่โตเกียว โอลิมปิกเลื่อนมาก็เกือบ 2 เดือนแล้ว Toshiro Muto ซึ่งเป็น CEO คณะกรรมาธิการในการจัดงานโอลิมปิกนี้กล่าวว่า เขายังไม่สามารถประเมินได้ว่าเวลาจัดงานช้าไปหนึ่งปีจะต้องมีต้นทุนอยู่ที่เท่าไร สื่อมวลชนญี่ปุ่นคาดว่าอยู่ที่ 2 พันล้านเหรียญหสรัฐ – 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ (6.4 หมื่นล้านบาท – 1.92 แสนล้านบาท)

TOKYO, JAPAN – MARCH 25: A boat sails past the Tokyo 2020 Olympic Rings on March 25, 2020 in Tokyo, Japan. Following yesterdays announcement that the Tokyo 2020 Olympics will be postponed to 2021 because of the ongoing Covid-19 coronavirus pandemic, IOC officials have said they hope to confirm a new Olympics date as soon as possible. (Photo by Carl Court/Getty Images)

ทั้งนี้ Muto ระบุว่า โอลิมปิกเกมและพาราลิมปิกเกมที่จะจัดขึ้นในอีก 1 ปีข้างหน้าอาจจะไม่เหมือนที่เคยจัดมา ซึ่งคาดว่าโตเกียวโอลิมปิกนี้จะมีความเฉพาะตัว ไม่เหมือนใคร ซึ่งน่าจะมีแต่คำถามเกิดขึ้นมากมายกว่าคำตอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง นักกีฬาโอลิมปิกเกมราว 11,000 คน และนักกีฬาพาราลิมปิกเกมราว 4,400 คน จะร่วมอยู่ในหมู่บ้านนักกีฬา จะหนาแน่นเกินไปไหม จะปลอดภัยรึเปล่า พวกเขาจะเดินทางไปโตเกียวยังไง จะถูกฝึกฝนอย่างไรให้ผ่านคุณสมบัติที่กำหนดไว้  และเจ้าหน้าที่ในเกมที่มีกว่า 1,000 คน จะยังเหมือนเดิมไหม

จะปล่อยให้คนเข้ามาดูหรือจะถ่ายทอดผ่านทีวีเท่านั้น ตั๋วอีกนับล้านใบที่ขายไปแล้วจะจัดการยังไง จะคืนเงินทั้งหมดเลยไหม วัคซีนจะผลิตได้หรือยัง นักกีฬาที่ยังหนุ่มสาวและสุขภาพดีจะเป็นผู้ได้รับวัคซีนรายแรกๆ เลยไหม เรื่องเหล่านี้ยังเป็นคำถามที่ต้องหาคำตอบต่อไป ภายใต้การจัดงานโอลิมปิกที่จะเริ่มใหม่ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2021 ภายใต้ความปกติรูปแบบใหม่ (New normal) ที่ต้องใช้ชีวิตกันต่อไป ขณะที่วัคซีนป้องกันโควิด-19 ยังไม่สามารถผลิตได้

ที่มา – Japan Today (1), (2)

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
สนใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การทูต การเมือง ประชาธิปไตย เสรีภาพ ความยุติธรรมและความเท่าเทียม ชอบอ่าน ชอบเขียน ชอบสืบค้นข้อมูล ชอบทำคอนเทนต์