กลับมาอีกครั้งกับงานมีตติ้ง PINPUNG X YOU 2024 พร้อมล้วงลึก “ของดี” จากคอนเทนต์ครีเอเตอร์ และอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังของไทย ภายใต้ธีม The Boundless Show Time

จะทำอย่างไรให้ครีเอเตอร์ยังอยู่ในกระแสและได้รับความนิยมอยู่เสมอ พินปังก์ บริษัทผู้นำด้านอินฟลูเอนเซอร์ มาร์เก็ตติ้ง ของไทย จัดงานมีตติ้งปล่อยของสุดจึ้งแห่งปี Pinpung X You 2024” งานอัปเดตความรู้ในแวดวงคอนเทนต์จากแพลตฟอร์มระดับโลก และเหล่าคนดังที่จะมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์การทำคอนเทนต์อย่างไรให้ถูกใจแบรนด์และได้ใจผู้บริโภค

ภายในงานได้รับเกียรติจากพาร์ทเนอร์ ดารา นักร้อง อินฟลูเอนเซอร์ และครีเอเตอร์ มาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง อาทิ มีนพีรวิชญ์ อรรถชิตสถาพรสุดยอดพัฐสิฏ พิ่มพูนสวัสดิ์ดารัณ-เศรษฐิณิช ชนวราสุทธิศิริฝนศนันธฉัตร ธนพัฒน์พิศาลตู่-สวรินทร์ ศรีบุญมา, นัทนิสามณี เลิศวรพงศ์, พรีมพร้อมอัจฉราพร ตุ้มนิลกาลธรรมชาติธรรมชาติ โยธาจุล, เฉียงวรฉัตร ธำรงวรางกูร, ตัวแทนจาก บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด, Meta Thailand (Facebook, Instagram)YouTube Thailand, TikTok Thailand และอื่นๆ อีกมากมาย โดยในปีนี้มาในธีม The Boundless Show Time

พาพฤทธิ์ กาญจน์เกียรติกุล ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท พินปังก์ จำกัด ได้กล่าวถึงจุดประสงค์ของการจัดงานว่า งาน Pinpung X You จัดต่อเนื่องมาปีนี้เป็นปีที่ 4 เพื่อขอบคุณพันธมิตรทางธุรกิจ ลูกค้า อินฟลูเอนเซอร์ และแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ได้ร่วมงานกันมาตลอดทั้งปี พร้อมกันนี้งาน Pinpung X You อยากสร้างพื้นที่ตรงกลางเพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนที่มาร่วมงาน ได้มาพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนไอเดีย แชร์แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ใหม่ๆ ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น  และเราก็มุ่งหวังที่จะเดินหน้าเป็นผู้นำด้านการผลิตคอนเทนต์ที่มีประสิทธิภาพให้แก่ลูกค้าทุกแบรนด์ ได้ทำงานร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์ทุกสาย เพื่อส่งสารไปยังผู้บริโภคให้ได้ความรู้และเป็นประโยชน์กับผู้ติดตามมากที่สุด

สำหรับกิจกรรมเสวนาช่วงที่ 1 “ตัวแม่ปล่อยของ” โดย นัท นิสามณี เลิศวรพงศ์ ได้มาพูดคุยบอกเล่าแนวคิดและเคล็ดลับในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จว่า “ในทุกครั้งของการทำงานควรจะเต็มที่กับมันเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการจ้างงานครั้งเดียว หรือสิบครั้ง เราก็จะทำงานเต็มที่เท่ากัน เพราะทุกครั้งที่เราทำคอนเทนต์ เมื่อไหร่ก็ตามที่มียอดวิว ยอดวิวนั้นไม่ได้แปลว่ามีแต่คนดูหรือแฟนคลับที่ติดตามเราเท่านั้น แต่ในนั้นอาจจะมีแบรนด์ที่จ้างงานเรา แบรนด์ที่เป็นคู่แข่ง และมีลูกค้าแบรนด์อื่นๆ ก็ดูเราอยู่เหมือนกัน ดังนั้นทุกครั้งที่เราลงมือทำอะไรก็ตามจะเป็นโอกาสสู่งานถัดไป หมายความว่าถ้าเราทำงานนี้ดี โอกาสสู่งานถัดไปก็มีโอกาสมาก แต่ถ้าวันนี้เราทำงานลวกๆ ไม่เต็มที่ มันจะส่งผลต่อโอกาสถัดไปว่าลูกค้าอาจจะไม่จ้างเราแล้ว นอกจากนี้การทำคอนเทนต์ให้ปังต้องมาจากอินเนอร์ของครีเอเตอร์ หาความตื่นเต้นกับคอนเทนต์ที่ทำอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าจะเป็นแค่จุดเล็กๆ ก็ตาม เพื่อหลีกเลี่ยงความเบื่อหน่าย ควรบาลานซ์การทำงานและการใช้ชีวิตให้เหมาะสม ไม่ทำคอนเทนต์ที่ผิดกฏหมายและต้องไม่ทำให้ใครเดือดร้อน

ถัดมากิจกรรมเสวนาช่วงที่ 2 “ปล่อยของอย่างไรให้ถูกใจ Brand ได้ใจ Consumer” ต้องทำคอนเทนต์แบบไหนจะตอบโจทย์กับทุกฝ่าย สิริปราณ ไชยกุล ผู้บริหารจากบริษัท พินปังก์ จำกัด กล่าวว่า ในฐานะที่เราเป็นตัวกลางระหว่างอินฟลูเอนเซอร์และแบรนด์นั้น สิ่งที่เราจะมองเป็นอันดับแรกจากอินฟลูเอนเซอร์คือเพอร์ฟอร์แมนซ์ของช่องมีความเชื่อมโยงกับแบรนด์มากแค่ไหน ผู้ติดตามช่องเหมาะสมกับแบรนด์หรือไม่ และคุณภาพของช่องดีหรือเปล่า เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าคอนเทนต์ที่เราจะผลิตออกมาสู่ผู้บริโภคนั้นมีคุณภาพ และตรงกับสิ่งที่แบรนด์อยากจะสื่อสารออกไปมากที่สุด นอกจากนี้หากพิจารณาจากอินฟลูเอนเซอร์ มาร์เก็ตติ้ง เทรนด์ ที่มาแรงในปัจจุบันแล้ว เราก็มองหาอินฟลูเอนเซอร์ที่สามารถทำ Affiliate Marketing หรือ Live Commerce ให้กับทางแบรนด์ได้ด้วย เพราะทางแบรนด์ไม่ได้มองเพียงแค่ยอดเอนเกจเมนต์เพียงอย่างเดียว แต่ยังมองถึงการทำยอดขายจากโอกาสนี้ ไม่เพียงเท่านั้น AI จะเข้ามามีบทบาทในการทำคอนเทนต์มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งช่วยยกระดับการทำคอนเทนต์ด้วยอินฟลูเอนเซอร์เสมือนจริง (Virtual Influencer) การใช้ Generative AI ในการช่วยสร้างสรรค์งาน อีกทั้งยังช่วยลดเวลาและขั้นตอนเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงเอไอจะช่วยวิเคราะห์ข้อมูลพร้อมจับคู่ระหว่างอินฟลูเอนเซอร์และแบรนด์ได้อย่างเหมาะสมที่สุด และเทรนด์วีดีโอสั้น (Short VDO) ที่ต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว ก็ยังเติบโตต่อไปได้อีกจากที่แบรนด์ส่วนใหญ่หันมาทำคอนเทนต์ที่เป็นวีดีโอสั้นเพิ่มมากขึ้นถึง 60% ในทุกแคมเปญ ดังนั้นนอกจากคงความเป็นตัวของตัวเองเพื่อผู้ติดตามที่ชื่นชอบเราแล้ว ก็อยากให้อินฟลูเอนเซอร์พัฒนาคอนเทนต์ไปตามเทรนด์ด้วยเช่นกัน

กิจกรรมช่วงเสวนาสุดท้าย “ตัวช่วยอินฟลูปล่อยของ 2024” ที่ตัวแทนแต่ละแพลตฟอร์มต่างก็มาร่วมอัปเดตข้อมูลฟีเจอร์ใหม่ๆ ไขข้อข้องใจต่างๆ เริ่มที่ ฐรินทร์ญา ศุภทรัพย์ Strategic Partner Manager, YouTube Thailand กล่าวว่า YouTube Thailand ให้ความสำคัญกับคอนเทนต์และคอมมูนิตี้เป็นหลัก จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันยูทูปมีชุมชนย่อยๆ แตกออกมามากมาย เพราะคนรุ่นใหม่ชอบที่จะดูคอนเทนต์ที่ตัวเองชอบมากกว่าที่คนอื่นพูดถึง โดยคอนเทนต์ไม่จำเป็นต้องเป็นกระแสใหญ่สำหรับคนทั้งประเทศ แต่เป็นคอนเทนต์ที่ใช่สำหรับคนดูและเหมาะกับตัวของชุมชนนั้นๆ ซึ่งจะเห็นได้จากช่องใหญ่ๆ ในปัจจุบันไม่ได้มาจากบริษัท ค่ายเพลง หรือค่ายหนัง แต่ยังสามารถมาจากครีเอเตอร์ทุกคนได้ และยูทูปเป็นแพลตฟอร์มที่มีทั้งรูปแบบวีดีโอยาว, วีดีโอสั้น และ Live streaming ที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกรูปแบบ ซึ่งครีเอเตอร์ไม่จำเป็นต้องทำคอนเทนต์จำกัดเพียงแค่รูปแบบเดียว การพิจารณาดาต้าที่ระบบมีให้จะสามารถช่วยตอบได้ว่าคอนเทนต์แบบนี้คนดูยังชอบหรือเปล่า หรือเราต้องปรับเปลี่ยนและพัฒนาคอนเทนต์แบบใหม่ เพราะอัลกอริทึ่มนั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร ไม่ได้มีการปิดกั้นการมองเห็นแบบที่ทุกคนเข้าใจผิดกัน แต่ดาต้าและระบบของแพลตฟอร์มจะยึดคนดูเป็นหลัก คนดูชอบอะไรแพลตฟอร์มจะส่งไปให้ โดยระบบจะมองความเกี่ยวข้องกับความชอบของคนดู ณ ปัจจุบัน ว่าเป็นอย่างไร ในส่วนเครื่องมือที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับครีเอเตอร์ และ YouTube Shopping สิ่งเหล่านี้เริ่มเห็นแล้วในต่างประเทศ และกำลังพัฒนาให้เกิดขึ้นในประเทศไทย

ฝั่งตัวแทนจาก TikTok Thailand วชิราภรณ์ โอฬาร เผยว่า คอนเทนต์ในแพลตฟอร์มของเราจะไม่ได้เป็นเพียงแค่ Entertainment content อีกแล้ว แต่กระแสของ Shoppertainment มาแรงมากๆ การช้อปปิ้งผ่านติ๊กต๊อก การทำคอนเทนต์ติดตะกร้า การไลฟ์ขายของ มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมากว่า 40% และคาดการณ์ว่าจะเติบโตต่อเนื่องในไตรมาส 3 และ 4 นอกจากนี้มักมีความเข้าใจผิดว่าการติดตะกร้านั้นทำให้ยอดเอนเกจเมนต์ลดลงแต่ความจริงแล้วไม่ได้เป็นแบบนั้น อยากให้พิจารณาอยู่สองกรณีคือหนึ่งคอนเทนต์ที่เราทำนั้น สคริปต์ที่เราพูดนั้น สอดคล้องกับสินค้าในตะกร้าหรือไม่ หากไม่สอดคล้องกันก็มีโอกาสที่ทำให้คลิปของเราถูกลบตะกร้าออกไป หรือกรณีที่สองร้านค้ามีการเปลี่ยนแปลงตะกร้าสินค้าเลยทำให้สินค้าในคลิปหายไป อาจจะต้องไปเช็คจากตัวคลิปที่เราปล่อยไปอีกครั้ง จากอินไซด์ในส่วนนี้ก็อยากให้ครีเอเตอร์ได้มองเห็นถึงโอกาสในแพลตฟอร์มของเรามากขึ้น

ด้าน ก้องกิจ ฉันทวิจัยกุล Client Partner, Meta Thailand เล่าว่า ในปัจจุบัน Meta มีผู้ใช้ 70 ล้านคนในประเทศไทย บน Facebook, Instagram และ Messenger และยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับเทรนด์ในปีนี้นั้นก็จะคล้ายกับแพลตฟอร์มอื่นๆ ที่มี AI มาช่วยทำงานและประมวลผลข้อมูลมากขึ้น และช่วยเสิร์ฟ Right Content to Right Person โดย 30% ของโพสต์บน Facebook และ 50% ของเนื้อหาบน Instagram ถูกแนะนำโดย AI นอกจากนี้ผู้ใช้และเวลาการดูวีดีโอบน Instagram เพิ่มขึ้นถึง 40% ดังนั้นเนื้อหาที่มีโอกาสจะเป็นไวรัลได้ง่ายและเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้นจะเป็นในรูปแบบวีดีโอ Reels ซึ่งจะช่วยขยายฐานผู้ติดตามและเชื่อมต่อกับคอมมูนิตี้ได้ง่ายขึ้น โดยสามหลักการสำคัญในการทำ Reels คือ ทำให้เนื้อหาน่าสนใจ เข้าใจง่าย และเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา