ไขปมดราม่าเมนู ‘ปังชา’ ร้านลูกไก่ทอง ห้ามใช้ชื่อและสูตรซ้ำกับร้าน

ไขปมดราม่าเมนู ‘ปังชา’ ร้านลูกไก่ทอง เปิดกฎหมายลิขสิทธิ์-สิทธิบัตร  ห้ามใช้ชื่อและสูตรซ้ำกับร้าน

ดราม่าร้อนแรงเมื่อเพจเฟซบุ๊กร้าน Lukkaithong – ลูกไก่ทอง Thai Royal Restaurant โพสต์ข้อความระบุว่า  แบรนด์ปังชา จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (Trademark) ” ปังชา “ภาษาไทย และ” Pang Cha “ภาษาอังกฤษ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534

‘ปังชา’ จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาได้รับการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า สิขสิทธิ์ สิทธิบัตร 

จดทะเบียนลิขสิทธิ์ และ จดทะเบียนสิทธิบัตร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

สงวนสิทธิ์ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข และ สงวนสิทธิ์ห้ามนำชื่อแบรนด์ปังชา Pang Cha ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไปใช้เป็นชื่อร้านหรือใช้เป็นชื่อสินค้าเพื่อจำหน่าย

Brand Inside เปิดข้อกฎหมายเรื่องการจดลิขสิทธิ์และการจดทะเบียนสิทธิบัตร สรุปให้เข้าใจง่าย ๆ คือ 

ชื่อแบรนด์ไม่ได้เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ แต่จะได้รับการคุ้มครองด้วยการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเท่านั้น  หลักเกณฑ์คือ งานที่มีลิขสิทธิ์จะต้องมีการสร้างสรรค์ที่เพียงพอ แต่ชื่อแบรนด์ถือว่ายังไม่เพียงพอที่จะเป็นงานที่มีลิขสิทธิ์ เพราะจากมุมมองของกฎหมาย ศาลจะตัดสินให้ชื่อแบรนด์เป็นเครื่องหมายการค้าเท่านั้น ไม่ใช่ลิขสิทธิ์

จุดประสงค์ของการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคือ เพื่อป้องกันการสับสนหลงผิดถึงแหล่งที่มาของสินค้าหรือบริการ ดังนั้น ถ้าชื่อแบรนด์ไปเหมือนคล้ายกับของคนอื่นที่จดทะเบียนไปแล้ว ก็จะถือว่าคุณได้ไปละเมิดสิทธิของคน ๆ นั้น แม้ว่า…จะมีการแก้ไขเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การปรับเปลี่ยน ตัด หรือเพิ่มตัวอักษร ก็อาจจะยังไม่เพียงพอที่จะหลีกเลี่ยงการละเมิดได้

ส่วนในเรื่องของการจดทะเบียนสิทธิบัตร นั้น สรุปคือ 

เป็นการคุ้มครองการคิดค้นสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์ (Invention) หรือ การออกแบบ ผลิตภัณฑ์ (Industrial Design) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด 

ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 

(1) สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Invention Patent) หมายถึง การให้ความคุ้มครองการคิดค้นที่ เกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบโครงสร้าง หรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การเก็บรักษา หรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์

(2) อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) หมายถึง การให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์จากความคิด สร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก โดยอาจเป็นการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงจากการประดิษฐ์ที่มีอยู่ก่อนเพียงเล็กน้อย 

(3) สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design Patent) การให้ความคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ ที่เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบของลวดลายหรือสีของ ผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้ และ แตกต่างไปจากเดิม

ในกรณีของเมนู ‘ปังชา’ ร้านลูกไก่ทอง การจดทะเบียนสิทธิบัตร หมายรวมถึง ชื่อ เมนู ‘ปังชา’ และสูตรการทำของเมนู ‘ปังชา’ 

ทั้งนี้คนทั่วไปอย่างเรา ๆ สามารถทำเมนูเกี่ยวกับน้ำแข็งไส ที่มีส่วนผสมของชาไทย หรือ ชาส้ม ได้โดยสูตรหรือส่วนผสมที่ทำจะต้องพิสูจน์ไม่ได้ไปซ้ำกับสูตรของ เมนู ‘ปังชา’ ร้านลูกไก่ทอง (จะต้องไม่เหมือนแบบ 100%) และที่สำคัญห้ามใช้ชื่อ ‘ปังชา’ ดั่งที่ร้านลูกไก่ทองได้จดทะเบียนคุ้มครองเครื่องหมายการค้า 

อ้างอิง https://www.ipthailand.go.th/images/2562/Suppress/lesson1.pdf?fbclid=IwAR3kk_I1Ob36upJEIAPxnNyQQ09y_DH_cGsJ-OKRmUr9HxTKvqu6yIKHYdc 

https://www.moj.go.th/view/62185?fbclid=IwAR21_36Ntehgr73LsCTBM7t5lRDDc5QeKODCBxKxii0dKxcSTf-GMERPQbo

https://idgthailand.com/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%94/

 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา