Pandora ออกคอลเลคชั่นเครื่องประดับใหม่ ใช้ทองคำและเงินรีไซเคิล 100% เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

เพชร เงิน และทองในคอลเลกชั่นเครื่องประดับใหม่จาก Pandora ผู้ผลิตเครื่องประดับรายใหญ่ที่สุดของโลก มีลักษณะทางกายภาพที่เหมือนกับหินและโลหะจากเหมือง แต่เพชรนั้นปลูกในห้องแล็บที่ใช้พลังงานหมุนเวียน ส่วนทองคำและเงินทำขึ้นจากการรีไซเคิลทั้งหมด

การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายของบริษัท ในการเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำ “การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของบริษัทของเรา ก๊าซส่วนใหญ่จะถูกปล่อยภายใต้หลังคาของโรงงานการผลิตของเรา” Alexander Lacik ซีอีโอของบริษัทในโคเปนเฮเกนกล่าว 

ตัวอย่างเช่น ในแต่ละปีบริษัทซื้อเงินหลายร้อยตัน และทีมงานรู้ดีว่าการใช้เงินรีไซเคิลมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการขุดแร่เงินใหม่ ในส่วนการผลิตนั้น บริษัทได้จัดหาโลหะรีไซเคิลแล้ว แต่ส่วนประกอบอื่นๆอีกประมาณ 30% มาจากซัพพลายเออร์

ในปี 2020 บริษัทให้คำมั่นว่าจะเปลี่ยนไปใช้เงินและทองรีไซเคิลสำหรับเครื่องประดับทั้งหมด เเละภายในปี 2025 บริษัทตั้งเป้าที่จะเป็นแบรนด์แรกที่ใช้โลหะรีไซเคิล 100%

การเปลี่ยนแปลง “ไม่ใช่เรื่องง่าย” Lacik กล่าว ” เพราะคุณต้องคำนึงถึงห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมด” ผู้กลั่นแร่เงินจำเป็นต้องลงทุนในอุปกรณ์ใหม่และต้องมั่นใจว่าการลงทุนนั้นคุ้มค่า 

แพนดอร่าต้องการใบรับรองว่าเงินนั้นถูกนำไปรีไซเคิลจริงๆ ซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนจำเป็นต้องปรับกระบวนการของตนเองเพื่อรวมวัสดุรีไซเคิล และความต้องการของเงินรีไซเคิลจำเป็นต้องเพิ่มขึ้น (ทองคำนั้นนำกลับมาใช้ใหม่ได้มากกว่าเนื่องจากมีมูลค่ามากกว่า) 

ตอนนี้เงินรีไซเคิลส่วนใหญ่มาจากการผลิตสารเคมีและอิเล็กทรอนิกส์ แต่อีกมากอาจมาจากการเก็บเกี่ยวชิ้นส่วนจากอุปกรณ์เก่า ปัจจุบันในแต่ละปีโลหะมีค่าหลายพันล้านเหรียญถูกทิ้งลงในโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ และขยะอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ 

บริษัทต้องการที่จะช่วยผลักดันอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับ ให้ใช้ “เพชร” ที่ปลูกในห้องแล็บ (Pandora ประกาศในปี 2564 ว่าจะเลิกใช้เพชรที่ขุดได้อีกต่อไป หากเพชรถูกเจียระไน และขัดเงาด้วยพลังงานหมุนเวียน คาร์บอนฟุตพริ้นท์จะมีขนาดเล็กกว่าเพชรที่ขุดได้ 95%)

“ผลลัพธ์สุดท้ายเหมือนกันทุกประการ แต่เส้นทางที่จะไปถึงที่นั่นแตกต่างกัน” Lacik กล่าว เส้นทางของเพชรที่ขุดได้คือ 2 ล้านปีภายใต้แรงกดดันและความร้อน 

ส่วนเส้นทางสำหรับเพชรที่สร้างจากห้องแล็บคือสองถึงสามสัปดาห์” เพชรในห้องเเล็บจะสร้างขึ้นจากอะตอมของคาร์บอน เเละอนุภาคของอะตอมจะเกาะติดกันและก่อตัวเป็นหิน จากนั้นหินจะถูกตัดและขัดแบบเดียวกับเพชรที่ขุดได้

หากอุตสาหกรรมเพชรทั้งหมดเลิกทำเหมือง แพนดอร่าคำนวณว่าสังคมจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 6 ล้านตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับการแปลงรถยนต์ทุกคันในนิวยอร์กซิตี้ให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า

แน่นอนอุตสาหกรรมไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงในเร็วๆ นี้ เรื่องราวทางการตลาดที่ทรงพลังที่เชื่อมโยงเพชรกับแนวคิดเรื่องความรักนิรันดร์ หมายความว่ายังมีความต้องการหิน “ของจริง” อยู่

อ้างอิง https://www.fastcompany.com/90779168/new-pandora-jewelry-recycled-gold-silver-lab-grown-diamonds

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา