ปรากฏการณ์ OR กับนักลงทุนไทย | BI Opinion

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้เผยว่า หุ้น OR ได้ทำให้มียอดการเปิดบัญชีหุ้นใหม่ในเดือน ม.. 64 เพียงหนึ่งเดือนสูงถึง 2 แสนบัญชี หากพิจารณาย้อนหลังไป 1 ปี ก่อนช่วงโควิด-19 แพร่ระบาด จะเห็นได้ว่า มีการเปิดบัญชี เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์เพียงปีละประมาณ 2-3 แสนบัญชีเท่านั้น และในปี 63 ที่มีวิกฤตโควิด-19 ก็ได้มียอดการเปิดบัญชีหุ้นใหม่เพิ่มประมาณ 7 แสนกว่าบัญชี

ดังนั้นจึงถือได้ว่า ทั้งวิกฤตโควิด-19 และการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ของหุ้น OR ได้เป็นปัจจัยให้จำนวนนักลงทุนเพิ่มขึ้น โดยการเสนอขาย IPO ของหุ้น OR ให้กับผู้จองซื้อรายย่อยเป็นการเปิดให้จองซื้อผ่านธนาคารพาณิชย์และจัดสรรแบบวิธี Small Lot First เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับการกระจายหุ้นอย่างทั่วถึง   ยิ่งทำให้ผู้จองซื้อแห่เปิดบัญชีซื้อขายหุ้น เพื่อรองรับหุ้นที่ได้รับการจัดสรรไว้ ซึ่งจากตัวเลข ณ วันที่ 9 .. 2564 OR มีจำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อยสูงถึง 525,054 ราย จึงน่าจะเป็นปรากฏการณ์ทำสถิติการเป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีจำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อยสูงสุดไปแล้ว

ptt station

และด้วยการเสนอขายหุ้นได้เปิดให้จองซื้อผ่านธนาคารพาณิชย์ทำให้ประชาชนทั่วไปได้จองหุ้นผ่านธนาคารกรุงเทพและขอเอาหุ้นเข้าฝากที่หลักทรัพย์บัวหลวงมีเข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งแน่นอนว่า มีทั้งผู้ที่มีบัญชีซื้อขายหุ้นแล้วและผู้ที่ยังไม่มีบัญชีซื้อขายหุ้น ซึ่งคงเป็นกลุ่มนักลงทุนหน้าใหม่ ซึ่งกลุ่มหลังนี่ทำให้เกิดมหกรรมแห่เปิดบัญชีซื้อขายกันอย่างหนัก ทำให้มียอดการเปิดบัญชีหุ้นใหม่เพิ่มขึ้นอย่างที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าว เริ่มตั้งแต่ในเดือนม..ลากมาถึงก.. โดยที่หลักทรัพย์บัวหลวงเราได้มีจำนวนผู้เปิดบัญชีในช่วงสองเดือนนี้แทบจะเท่ากับจำนวนบัญชีใหม่ที่เราเปิดในปีที่แล้วทั้งปี กระบวนการทำงานปกติไม่ได้มีไว้รองรับการเพิ่มขึ้นของบัญชีในขนาดนี้ ทำให้การเปิดบัญชีกินเวลามากกว่าปกติแต่ทุกคนก็ร่วมกันทำงานหนักจนผ่านพ้นกันมาได้ จึงนับเป็นปรากฏการณ์ที่สองที่ได้เห็นการเพิ่มขึ้นของบัญชีในขนาดนี้

และด้วยการที่จำนวนผู้จองซื้อส่วนมหึมาน่าจะเป็นนักลงทุนหน้าใหม่ที่ยังไม่มีบัญชีซื้อขายหุ้นทำให้เราคิดว่าเมื่อหุ้นเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ผู้จองซื้อรายย่อยหน้าใหม่ที่ได้รับจัดสรรหุ้นคงรีบขายทำกำไรเลิกลงทุนกันไปเพราะนักลงทุนส่วนนี้อาจยังไม่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการลงทุนมากนักและอาจกังวลกับความเสี่ยง

แต่จากข้อมูลที่เราวิเคราะห์มาภายใน 1 เดือนหลังจาก OR เข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดฯ พบว่ามีนักลงทุนเพียงส่วนน้อยที่ขายหุ้น OR ออกและไม่ได้ซื้อขายหุ้นอะไรต่ออีกเลย อีกส่วนจะเป็นนักลงทุนที่อาจขายทำกำไรกับหุ้นตัวนี้และกลับมาซื้อใหม่หรือไม่ก็เปลี่ยนตัวไปลงทุนในหุ้นตัวอื่นแทน และที่เหลือเป็นนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่ที่ถือ OR กันต่อเนื่องแถมเกือบครึ่งของกลุ่มนี้ก็ลงทุนซื้อหุ้น OR และหุ้นตัวอื่นเพิ่มเติมเสียด้วย

ทั้งหมด เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ ซึ่งบ่งบอกถึงการที่นักลงทุนอาจมีความมั่นใจต่อหุ้น OR และมุ่งมั่นที่จะลงทุนหรือมีส่วนร่วมเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการที่มีความมั่นคงและเติบโตในระยะยาว ตลอดจนอาจเล็งเห็นประโยชน์ของการลงทุนไว้ เพื่อสร้างผลตอบแทนนอกเหนือจากช่องทางอื่นด้วย

PTT Station ปตท. ปั๊มน้ำมัน
ภาพจาก Shutterstock

ท่ามกลางสภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ทำให้คนต้องแสวงหาแหล่งลงทุนที่สร้างผลตอบแทน ผนวกกับการกระจายหุ้น IPO OR ให้กับนักลงทุนรายย่อยอย่างทั่วถึงในครั้งนี้ ถือเป็นกรณีศึกษาสำคัญที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้รู้จักกับการลงทุนในตลาดทุนที่สามารถสร้างทั้งผลตอบแทนและเห็นถึงความเสี่ยงจากการลงทุนด้วยเช่นกัน ซึ่งเราหวังว่าท่านเหล่านี้จะสามารถใช้ตลาดทุนเป็นแหล่งการลงทุน เพื่อออมเงินในระยะยาว และช่วยกระจายความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องของการลงทุนในตลาดทุนไปได้อีกในวงกว้าง

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา