เรียกว่าสร้างปรากฎการณ์กับการเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่สะเทือนไปทั้งย่านถนนวิทยุและพระราม 4 กับโครงการ One Bangkok ของ Fraser Property ในเครือเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ที่ใช้เม็ดเงินลงทุนกว่า 1.2 แสนล้านบาท บนเนื้อที่ 108 ไร่ แต่จริงๆ แล้วในโครงการนี้มีอะไรบ้าง Brand Inside จะเล่าให้ฟัง
One Bangkok แบ่งออกเป็น 6 โซนหลัก ได้แก่
- One Bangkok Retail (ค้าปลีก)
- Hospitality (โรงแรม)
- Workplace (ออฟฟิศ)
- Residences (ที่อยู่อาศัย)
- Forum (ฮอลล์จัดแสดง)
- Art Loop (พื้นที่ศิลปะ)
โดยแต่ละโซนยังมีการแบ่งพื้นที่และมีไฮไลท์แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะโซนค้าปลีกที่มีห้างมากถึง 3 ห้างในต่างคอนเซปต์
1) One Bangkok Retail (ค้าปลีก) : แบ่งออกเป็น 3 ห้างหลัก ได้แก่
– Parade (เปิดแล้ว) ห้าง 9 ชั้น (85,000 ตร.ม.) ริมถนนพระราม 4 มีร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต และแบรนด์แมสๆ หลากหลาย อาทิ King Power, Big C, Mitsukoshi Nihombashi, One Ultra Screen ฯลฯ ว่าง่ายๆ คือ เน้นของกิน ของช้อป ของใช้แมสๆ ในชีวิตประจำวัน
– The Storeys (เปิดแล้ว) ห้าง 5 ชั้น (35,000 ตร.ม.) ริมถนนวิทยุ เน้นร้านค้าแฟชันและไลฟ์สไตล์แบรนด์ คอนเซปต์สโตร์ ร้านอาหาร บาร์ และร้านแฮงเอาท์ เรียกง่ายๆ คือ เน้นแฟชัน ร้านอาหารและบาร์เก๋ๆ
– POST 1928 (ยังไม่เปิด) ห้างลักซัวรี่ 5 ชั้น (40,000 ตร.ม.) บน Shopping Street สายแรกของกรุงเทพฯ จะรวบรวมแบรนด์ลักซัวรีระดับโลกในรูปแบบร้าน Standalone เน้นสินค้าลักซัวรี
ไฮไลท์ของ Parade และ The Storeys คือ รวมร้านอาหารมากถึง 250 ร้าน มีร้านมาเปิดในไทยครั้งแรก อาทิ Wolfgang’s Steakhouse, Pura Brasa, Ant Hole, Oya, Aware Coffee, Hattendo, Tempura Tendon Hannosuke Tokyo
และร้านที่ไม่เคยเปิดสาขาในศูนย์การค้ามาก่อน อาทิ โกปี้เสี้ยะไถ่กี่, โฮเตอิ, เกมเปอร์, ฟิลล์เล็กส์, เวจจี้ เฟิร์ส คาเฟ่, ครัวอัปษร, กินโรล เป็นต้น
2) Hospitality (โรงแรม) : ประกอบด้วย 3 โรงแรม
- โรงแรมริทซ์-คาร์ลตัน กรุงเทพฯ (6 ดาว) เปิดให้บริการ พ.ย. 2567
- โรงแรมแอนดาซ วัน แบงค็อก เปิดให้บริการปี 2568
- โรงแรมเฟรเซอร์ สวีทส์ กรุงเทพ คาดเปิดให้บริการปี 2569
3) Workplace (ออฟฟิศ) : ในเฟสแรกประกอบด้วย Tower 3 (ยอดจอง 30%), Tower 4 (ยอดจอง 80%) และ Tower 5 (เปิดจองแล้ว) โดยมีหลายบริษัทชั้นนำที่ย้ายเข้ามาแล้ว อาทิ ไลน์แมน วงใน, BMW, EY ฯลฯ
4) Residences at One Bangkok (ที่อยู่อาศัย) : ที่พักอาศัยริมถนนวิทยุ เปิดให้เข้าชมปลายปี 2567
5) Forum (ฮอลล์จัดแสดง) : สถานที่จัดแสดงคอนเสิร์ต ไลฟ์โชว์ นิทรรศการแบบในร่ม ความจุ 6,000 ที่นั่ง พร้อมบันไดยักษ์สำหรับเดินพรมแดง
6) Art Loop (พื้นที่ศิลปะ) : เส้นทางแห่งศิลปะและวัฒนธรรมความยาว 2 กิโลเมตรครอบคลุมทั่วโครงการ และมี One Bangkok Public Art Collection ผลงานศิลปะสาธารณะจากศิลปินระดับโลกและท้องถิ่น ที่มีไฮไลท์คือประติมากรรมจาก Anish Kapoor และ Tony Cragg ด้วย
เรียกว่าครบทั้งห้าง โรงแรม ออฟฟิศ ที่พักอาศัย ฮอลล์จัดแสดง และพื้นที่ศิลปะ และในกลุ่มห้างสรรพสินค้าก็ยังครบทั้งห้างของกินของใช้ ห้างไลฟ์สไตล์และแฟชัน และห้างลักซัวรีที่มาพร้อมถนนสายแฟชันแห่งแรกของไทย
ส่วนกลุ่มลูกค้าแน่นอนว่าต้องมีกลุ่มพนักงานออฟฟิศภายในโครงการเดียวกัน ไปจนถึงคนที่ใช้ชีวิตในย่านใกล้เคียงถนนวิทยุและถนนพระราม 4 รวมถึงดึงดูดลูกค้านอกย่านเพราะสามารถเชื่อมต่อกับ MRT สถานีลุมพินีเข้าสู่โครงการได้เลย
ข่าวเกี่ยวข้อง
- 25 ตุลาคม 2567 One Bangkok เปิดตัวอย่างเป็นทางการ งานสุดยิ่งใหญ่ที่ทุกคนห้ามพลาด!
- มาแน่ ‘One Bangkok’ เปิดจริง 25 ตุลาคมนี้ รวมสตรีทฟู้ด-ร้านใหม่-ร้านแรกในไทยหลายร้าน
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา