สคบ.เเจง ร้านค้าต้องเเจ้ง service charge ล่วงหน้า จะจ่ายหรือไม่เป็นสิทธิของลูกค้า

สคบ.เเจง ร้านค้าต้องเเจ้ง service charge ล่วงหน้า จะจ่ายหรือไม่เป็นสิทธิของลูกค้า ขณะที่ร้านขายข้าวในสหรัฐอเมริการะบุ คนท้องถิ่นยอมจ่ายเพื่อเเลกกับการบริการที่ดีเยี่ยม 

หลังเกิดกรณีการเก็บค่า service charge ว่า บางร้านไม่ควรได้รับ service charge จนเป็นที่มาของคำถามว่า ผู้บริโภคมีสิทธิเลือกที่จะจ่ายหรือไม่จ่ายได้หรือไม่

เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เผยแพร่บทความเรื่อง ​Service charge ไม่จ่ายได้ไหมระบุว่า การรับประทานอาหารนอกบ้านเป็นกิจกรรมที่ทุกคนคงเคยทำ บางครั้งที่ไปทานอาหารในโรงแรม ในห้าง หรือตามร้านอาหารใหญ่ๆ อาจเจอของแถมเป็นค่า service charge 

แต่เดี๋ยวนี้กับร้านอาหารธรรมดาบางร้านก็คิด ซึ่งบางท่านอาจรู้สึกว่า ไม่จำเป็นต้องจ่าย เพราะไม่ได้รับบริการอะไรเป็นพิเศษจากทางร้านอาหาร แถมบางร้านเป็นแบบให้ลูกค้าบริการตัวเองอีกต่างหาก ซึ่งช่วงที่ผ่านมาก็มีประเด็นร้อนในโลกสังคมออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องนี้ เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ผู้บริโภคจำเป็นต้องจ่ายหรือไม่ วันนี้เรามาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ service charge กัน

service charge คือ ค่าบริการที่ผู้ประกอบการขายสินค้านั้นๆ คิดเพิ่มจากผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการ เป็นรายได้ที่นำมาแบ่งให้แก่พนักงานบริการในแต่ละเดือน ถือเป็นรายได้ส่วนหนึ่งของพนักงาน ทีนี้อาจมีคำถามต่อไปว่า หากพนักงานให้บริการไม่เป็นที่พอใจ ลูกค้าสามารถขอค่า service charge คืนได้ไหม จริงๆ แล้วสถานที่ที่คิด service charge แพงเกินจริง

หาเหตุผลไม่ได้ ภาครัฐมี พ.ร.บ.ว่าด้วยสินค้าและบริการ มาตรา 29 ควบคุม โดยระบุว่า ถ้าผู้ประกอบการขายจำหน่ายสินค้าในลักษณะทำให้เกิดความปั่นป่วน สร้างกลไกการตลาดบิดเบี้ยว ราคาเกินจริง โดยชี้แจงสาเหตุที่เรียกเก็บราคาสูงเกินจริงไม่ได้นั้น มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 1.4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ส่วนอัตราการเรียกเก็บ service charge ที่เหมาะสม ตามกฎหมายที่กรมการค้าภายในกำกับอยู่คือ ต้องไม่เกิน 10% เนื่องจากเป็นอัตราราคาที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่รับทราบตามสากลและยอมรับได้ ซึ่งแม้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคจะไม่ได้พูดถึงเรื่อง service charge โดยตรง แต่ก็มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมการค้าภายในคือ

ประกาศ เรื่อง การต้องแสดงราคาสินค้าหรือบริการ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ที่ระบุว่า ราคาสินค้าและบริการต้องแสดงราคาต่อหน่วย มีตัวเลขเป็นภาษาใดก็ได้ แต่ขอให้มีอารบิกอยู่ด้วย ทั้งนี้ ข้อความต้องเป็นภาษาไทย ในลักษณะที่เห็นชัดเจน เปิดเผย สามารถอ่านได้โดยง่าย เพื่อจะแสดงให้ผู้บริโภคทราบก่อนการตัดสินใจที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือใช้บริการ สิ่งนี้คือหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจในการขายสินค้า ถ้าไม่มีแสดง หรือมีแต่อ่านไม่ชัด ไม่ครบถ้วนก็มีความผิด คือโทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท

ประเด็นสำคัญคือ ร้านอาหารมีหน้าที่ต้องติดป้ายแสดงทุกอย่างให้ผู้บริโภคทราบล่วงหน้า ไม่ใช่แค่ราคา แต่หมายถึง service charge ด้วย อาจจะระบุไว้ในเมนูอาหาร หรือติดประกาศบริเวณหน้าร้านก็ได้ซึ่งยังไม่มีข้อบังคับที่ชัดเจนว่าต้องระบุไว้ในตำแหน่งใด แต่ตำแหน่งนั้นผู้บริโภคต้องสามารถมองเห็นชัดเจน หากไม่ชัดเจน ไม่ครบถ้วน นับว่ามีความผิด และผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องจ่ายเพราะร้านไม่ได้แสดงไว้

โดยสรุป หากผู้ประกอบการแสดงความชัดเจนเรื่อง service charge กับเราแล้ว เราก็ต้องชัดเจนในการตัดสินใจของตัวเองตั้งแต่เลือกเข้าร้านว่ายินดีจ่ายหรือไม่ อย่างไรก็ตาม หากผู้บริโภคพบเห็นร้านเก็บ service charge เกิน 10% หรือไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ไม่มีการชี้แจงที่สมเหตุสมผล รู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถแจ้งข้อมูลได้ที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนราคาสินค้า สายด่วน กรมการค้าภายใน 1569 หรือสายด่วน สคบ. 1166 ซึ่งนอกจากการแจ้งภาครัฐแล้ว มาตรการทางสังคม การเผยแพร่เรื่องราวหรือคำเตือนให้กับสังคมก็ถือเป็นสิ่งที่มีพลัง สร้างให้เกิดแรงกระเพื่อมไปถึงผู้ประกอบการให้ปรับตัวได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน

ทั้งนี้ทีมงาน Brand Inside ได้สอบถามไปยังเจ้าของร้านข้าวไทย ในรัฐแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา ได้ให้ข้อมูลว่า สำหรับที่ร้านทอาหารทั่วไปในสหรัฐอเมริกา รวมถึงร้านข้าวไทยด้วย มีการเก็บค่า service charge อยู่เเล้ว เเต่ลูกค้าก้มีสิทธิที่จะจ่ายหรือไม่ก็ได้ เเต่ส่วนใหญ่ลูกค้าก็จะมีความคิดที่ว่าการจ่ายค่า service charge เป็นธรรมเนียมที่ต้องจ่าย ซึ่งทางร้านเองก็มีการบริการเเละดูเเลลูกค้าอย่างดี โดยค่า service charge ที่ลูกค้าจ่ายจะถูกเเบ่งให้กับพนักงานคนละเท่าๆกัน

อ้างอิง สคบ.

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา