เคยสงสัยกันมั้ยว่า ระบบการวัดสายตาเพื่อทำแว่น ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ก็ยังเหมือนเดิม โดยมีหน่วยวัดห่างกันที่ 0.25 Dioptre นั่นคือ เลนส์แว่นสายตาจะขยับทีละ 25 เช่น 100, 125, 150 ซึ่งวิธีวัดแบบนี้มีอายุกว่า 100 ปีแล้ว
ความจริงแล้วสายตาของคนเรา มีการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะสั้นหรือยาว ไม่ได้อยู่ที่ 0.25 Dioptre ดังนั้น เราอาจจะสายตาสั้น 118, 129 หรือ 140 ก็ได้ แต่ด้วยความยืดหยุ่นของสายตา ทำให้เลือกใส่เลนส์ที่ 125 หรือ 150 ได้ แต่จากผลการวิจัยจากสิงคโปร์ พบว่า 95% ของผู้สวมแว่นรับรู้ความแตกต่างได้ที่ 0.05 เป็นคำตอบว่า ทำไมจึงมีอาการตาล้า ปวดตา จากการสวมแว่นที่ไม่เหมาะสม
ดังนั้น Nikon ชื่อที่ทุกคนรู้จักดี ทั้งในฐานะกล้องถ่ายรูปและเลนส์ที่มีความแม่นยำ รวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์สำรวจอวกาศและทะเล หลายคนอาจไม่รู้ว่า Nikon เป็นแบรนด์ที่ทำเรื่องการผลิตเลนส์แว่นตา มาตั้งแต่ปี 1946 ในชื่อ Nikn Lenswear ได้พัฒนา เลนส์อายคิวราซี (EYECURASEE) และเปิดตัวใช้ในญี่ปุ่นปี 2019
และไทยจะเป็นประเทศที่ 2 ในเอเขีย ประเทศแรกในอาเซียน ที่จะนำ EYECURASEE มาใช้งานจริง
ทฤษฎี ตุลยอนุกิจ Managing Director of Indochina ของ EssilorLuxottica บอกว่า EYECURASEE มีความแม่นยำที่ระดับ 0.01 Dioptre ทำให้ผู้สวมแว่นจะได้แว่นสายตาที่ตรงกับค่าสายตาที่แท้จริงมากที่สุด ไม่ต้องเลือกค่าระหว่าง 25 ถ้าสายตาสั้น 188 ก็จะได้เลนส์ที่ใกล้เคียงกับค่าสายตามากที่สุด ไม่ต้องเลือกระหว่าง 175 กับ 200 อีกต่อไป
นอกจากนี้ในขั้นตอนการตรวจวัดค่าสายตา จะใช้เครื่อง Vision-R 800 ซึ่งเป็นเครื่องวัดสายตาแบบดิจิตอลที่มีเทคโนโลยีตรวจวัดที่ล้ำสมัยที่สุดในโลก สามารถวัดค่าสายตาของผู้สวมใส่ได้แม่นยำระดับ 0.01 Dioptre ให้ความละเอียดสูงสุดถึง 25 เท่า ตามการออกแบบที่สอดคล้องกับหลักสรีรศาสตร์ มุมมองผ่านอุปกรณ์นี้กว้างขวางกว่าโฟร็อปเตอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์วัดสายตาที่ใช้เป็นมาตรฐานทั่วไป ส่งผลให้การตรวจวัดสายตาใกล้เคียงกับการมองตามธรรมชาติ อีกทั้งการเปลี่ยนค่าต่างๆ จะเป็นไปอย่างไร้รอยต่อ ผู้ถูกตรวจจึงรู้สึกสบายกว่าเครื่องตรวจวัดสายตาทั่วไป ทำให้ได้ข้อมูลถูกต้องแม่นยำ สะดวกสบายสำหรับทั้งผู้ทำหน้าที่วัดค่าสายตาและผู้สวมใส่ ให้ประสบการณ์การวัดสายตาที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
นอกจากการวัดค่าสายตาแล้ว Nikon Lenswear ได้พัฒนาเลนส์คุณภาพหลายรุ่นที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เป้าหมายคือให้เลนส์ทุกคู่ลงตัวกับแต่ละบุคคลอย่างเหมาะสม เพื่อประสบการณ์ที่ดีสุดด้วยเทคโนโลยีอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในเลนส์โปรเกรสซีฟ ดังนี้
- NIKON OPTICAL DESIGN ENGINE – ระบบคำนวณอัจฉริยะ ช่วยปรับปรุงเลนส์ทุกชิ้นให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับความต้องการของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นค่าสายตาหรือข้อมูลจากการตรวจวัดเฉพาะบุคคล
- FRAME SHAPE OPTIMIZATION – ปรับปรุงการบิดเบือนของแสงที่ยังหลงเหลืออยู่ให้สัมพันธ์กับรูปทรงกรอบแว่น พื้นที่เลนส์ที่ใช้งานได้จริงจึงเต็มเปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ คมชัดอย่างสูงสุดในทุกกรอบแว่น
- INSIGHT TECHNOLOGY – การออกแบบร่วมกันกับผู้สวมใส่เลนส์ บนพื้นฐานของโครงสร้างพิเศษเฉพาะ 3 รูปแบบ ได้แก่ การใช้งาน ความชอบ และพฤติกรรมการมอง
- VIEWFIT TECHNOLOGY – เทคโนโลยีที่ทำให้เลนส์กับกรอบแว่นเข้ากันอย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยการคำนวณค่าพารามิเตอร์ของกรอบแว่นตา
- Wrap angle – ความโค้งแนวนอนของกรอบแว่น
- Pantoscopic tilt – มุมลาดเทหน้าแว่น
- C.V.D – ระยะห่างระหว่างผิวเลนส์ถึงกระจกตา
ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีเครื่อง Vision-R 800 ทั้งหมด 18 เครื่อง ติดตั้งในร้านแว่นตาชั้นนำในกรุงเทพและต่างจังหวัด โดยมีเป้าหมายการนำเข้าเครื่อง Vision-R 800 มายังประเทศไทยอยู่ที่ปีละ 12 เครื่อง หรือ เดือนละ 1 เครื่อง ค่าใช้จ่ายตกเครื่องละ 2 ล้านบาท ทั้งนี้เนื่องจากโรงงานผลิตเครื่องมือมีแห่งเดียวในประเทศฝรั่งเศส ซึ่ง Capacity การผลิตและยอดจองปัจจุบันซึ่งได้รับความนิยมมากในประเทศญี่ปุ่น จึงทำให้เครื่อง Vision-R 800 มีจำนวนจำกัด
“ถ้าผู้บริโภคได้ทดลองวัดสายตาด้วย Vision-R 800 และใช้เลนส์ EYECURASEE ซึ่งมีค่าใช้จ่ายมากกว่าเลนส์ทั่วไป 2,000-3,000 บาท แต่สิ่งที่ได้รับคือ ความสบาย ความคมชัด ของแว่นสายตาที่ผลิตมาเพื่อเราเองจริงๆ การลงทุนในเครื่อง Vision-R 800 ของร้านแว่นตาก็จะเป็นการสร้างความแตกต่างจากร้านแว่นอื่นๆ ที่มีกว่า 6,000 ร้าน โดยร้านแว่นตาที่มีเครื่อง Vision-R 800 สามารถดูได้ที่ https://shorturl.asia/O50Jv”
สำหรับ มูลค่าตลาดธุรกิจแว่นตาในประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 16,000-17,000 ล้านบาท โดยอัตราเติบโตในช่วงก่อนวิกฤตไวรัสโควิด-19 อยู่ที่เฉลี่ยปีละ 15% และช่วงยุคหลังโควิดอยู่ที่ 5% ซึ่งยังเป็นทิศทางที่ดี
สำหรับ Essilor และ Luxxottica คือแบรนด์ผู้ผลิตเลนส์แว่นตา และผู้ผลิตแว่นตาหลายแบรนด์ระดับโลก โดยอยู่ระหว่างการควบรวมบริษัท โดยจะใช้ชื่อบริษัท EssilorLuxottica แบรนด์ในเครือ เช่น Ray-ban, Oakley เป็นต้น
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา