กำเนิดของ “ภาษาใหม่” คำตอบสู่ “การปฏิวัติ” การเป็นผู้นำ

ภาพจาก Shutterstock

จะอยู่ (ให้) รอดได้อย่างไรกับโลกยุคนี้? เราจะต้านทานแรงพายุ Digital Disruption ที่โหมกระหน่ำได้อย่างไร? เป็นคำถามกระตุกต่อมความเป็น “ผู้นำ” ขององค์กรให้หาคำตอบมองหาทางรอดให้กับธุรกิจ หลักการ วิธีการ กลยุทธ์ทางการตลาด ยังจะเป็นอาวุธสำคัญที่นำองค์กรฝ่าคลื่นพายุดิจิทัลที่พัดกระหน่ำได้อยู่หรือไม่ หรือมีทางออกใหม่ๆ ที่หลายองค์กรยังมองไม่เห็น!!!

อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (South East Asia Center) ศูนย์พัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารระดับสูง เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจว่า จากการทำงานร่วมกับ CEO หรือผู้บริหารระดับสูงของหลายองค์กร ทำให้เห็นว่า หลายองค์กรทยอยปรับตัวและยืดหยุ่นตามสถานการณ์ของยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน แต่อีกหลายองค์กรก็ยังคงจับจุดไม่ได้ว่า จะต้องเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงให้ทันโลกนี้ได้อย่างไร? และเมื่อตั้งคำถามเจาะลึกลงไปจะพบว่า เหตุที่ทำให้หลายองค์กรยังเริ่มต้นไม่ได้ หรือเดินผิดทาง เพราะยัง “ติดกับดักตัวเอง” ยึดติดความสำเร็จหรือแนวทางเดิมๆ จนไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ทันท่วงที

3 ความเสี่ยงทำโลก (ธุรกิจ) วิกฤติ

  • ความเสี่ยงแรก “Fast-Moving World” เราต้องยอมรับให้ได้ว่า “โลกหมุนรอบตัวเอง 24 ชั่วโมง แต่โลกธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ วินาที” ในประเด็นนี้ ชี้ให้เห็นว่า ความเร็วของการเปลี่ยนแปลงไม่ได้คงที่หรือมีช่วงเวลาให้ได้ตั้งหลักเหมือนโลกยุคก่อน หากแต่เราต้องพร้อมและตื่นตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วอย่างยิ่งยวดและคาดไม่ถึง ผู้นำและบุคลากรในองค์กรต้องไม่ชะล่าใจ ต้องเร่งแก้ไข และ Reskill เพื่อพลิกเกมธุรกิจให้ทันท่วงที
  • ความเสี่ยงประการที่สอง “ย่ำอยู่กับที่ มีแต่จะพาล่มจม” ต้องเข้าใจและตระหนักรู้ให้ได้ว่า สมรภูมิธุรกิจ ในยุค Disruption มีความท้าทาย หรือมีหนทางใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ การติดกับความคิดหรือความสำเร็จเดิมไม่ใช่ทางออกหรือเส้นทางแห่งความยั่งยืนทางธุรกิจ เพราะฉะนั้นผู้นำองค์กรจะต้องมีความสามารถหาคำตอบเมื่อเจอกับความท้าทายใหม่ๆ  หรือแม้แต่กระทั่งคำถามหรือปัญหาเดิมที่เคยเกิดขึ้นและย้อนกลับมาอีกครั้ง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการแก้ไขแบบเดิม แต่ผู้นำที่ดีต้องแสดงศักยภาพในการออกแบบคำตอบใหม่ๆ ได้
  • ความเสี่ยงประการที่สาม หยุดหลอกตัวเองว่าเปลี่ยนทันยุค Disruption หากการเปลี่ยนนั้นทำแค่ฉาบฉวย การเปลี่ยนทันยุค Disruption ที่แท้จริงไม่ใช่ปรับแค่ทีละ 1 องศา แต่การเปลี่ยนหรือตั้งรับทันจริงๆ คือ องค์กรนั้นต้องเปลี่ยนทั้ง 360 องศา คือ ปรับกระบวนทัพใหม่หมด ทั้งองค์กร บุคลากร และวิธีคิด เพราะแค่การปรับวิธีการหรือโครงสร้างองค์กรไม่ได้เกิดประโยชน์อันใด ต้องคิดอยู่เสมอว่า แม้องค์กรเราจะวิ่งได้เร็วหรือปรับตัวทันแล้ว แต่ก็มีองค์กรอื่นที่จะวิ่งตามได้ทันอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นเราต้องเร่งสร้างความก้าวล้ำแบบ Stay ahead of the game

“ภาษาใหม่” คือ ทางออก ที่ “ผู้นำ” องค์กรสายพันธุ์ใหม่ต้องรู้

สิ่งสำคัญกว่าความไว คือ ต้องเข้าใจ “ภาษาใหม่” ที่พร้อมสยบคลื่นสึนามิที่ถาโถมเข้าใส่ธุรกิจในยุค Disruption สิ่งนั้นก็คือ “THE NEW LANGUAGE OF LEADERSHIP” ที่ไม่ใช่เรื่องของเครื่องมือทางการตลาดหรือการขาย หากแต่เป็นแนวทางความคิดหรือทัศนคติของผู้นำองค์กร ในรูปแบบของ How-to ที่ทำให้อ่านทุกเกมได้ขาดและเหนือชั้นที่สุด โดยได้รับการพิสูจน์จากผู้นำองค์กรระดับโลกแล้วว่า นำมาใช้ได้เห็นผลจริง!!  

ด้วยคีย์เวิร์ดที่สำคัญที่สุด นั่นคือ “Ability to understand” กับการที่ผู้นำต้องมีทักษะที่จะทำ “ความเข้าใจ” แบบหยั่งรู้ถึงความรู้สึกอย่างถ่องแท้ และมี “Ability to speak” หรือความสามารถที่พูดออกไปได้อย่างแท้จริง

อาจกล่าวได้ว่าคือความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้จากการทำความเข้าใจสื่อออกไป หรือนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างตอบโจทย์ ซึ่งทั้ง 2 คีย์เวิร์ดนี้สามารถเปลี่ยนองค์กรที่กำลังเผชิญปัญหา พลิกองค์กรสู่การเติบโตอย่างก้าวกระโดดและความก้าวล้ำแบบ Stay ahead of the game ได้  

คัมภีร์รอดของผู้นำ

หนึ่งบทพิสูจน์ของการใช้ “ภาษาใหม่” ที่สัมฤทธิ์ผล และเห็นเป็นรูปธรรมในระดับโลก จากผลงานของ ไมเคิล เวนทูร่า ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของบริษัท ซับ โรซ่า (Sub Rosa) ที่ปรึกษาด้านการสร้างและบริหาร แบรนด์ให้กับธุรกิจและองค์กรชั้นนำของโลก ผู้ทำหน้าที่วางแผนกลยุทธ์และแผนการปฏิบัติงานเพื่อช่วยให้ผู้นำและองค์กรมีวิวัฒนาการเชิงกลยุทธ์และการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการพัฒนาเชิงลึกถึงการเปลี่ยนแปลงขององค์กร และสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับลูกค้าผ่านประสบการณ์ร่วมกันในรูปแบบต่างๆ จนเป็นบทพิสูจน์ที่ได้รับการยอมรับ

โดยล่าสุด เขาได้รวบรวมประสบการณ์ในการสร้างและบริหารแบรนด์ให้กับองค์กรระดับโลก ที่ใช้ “ภาษาใหม่” เป็นอาวุธสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน สู่คัมภีร์ใหม่ของ “ผู้นำ” กับ หนังสือ “Applied Empathy: The New Language of Leadership” หรือ “ภาษาใหม่ของการเป็นผู้นำ” ที่จะเข้ามาทลายกำแพงเหล็กที่กั้นความคิดของผู้นำให้รู้ทันความเปลี่ยนแปลงของลูกค้าและสถานการณ์โลกในยุค Disruption ด้วยคำว่า “การเข้าใจแบบหยั่งรู้ถึงความรู้สึกของผู้อื่น” (Empathy) คือ การเข้าใจที่เข้าถึงความหมาย ที่ลูกค้าต้องการสื่อสารอย่างแท้จริง การมองโลกผ่านเลนส์ของคนอื่น เพื่อทำให้เราเข้าใจคนอื่น เข้าใจสถานการณ์และเป็นผู้นำที่ดีขึ้น แก้ปัญหาได้ดีขึ้น และทำให้ “ปัญหาที่ซับซ้อนกลายเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น ทีมงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เกิดความคล่องตัว และอิสระในการเปลี่ยนแปลงองค์กรได้เร็วขึ้น” เป็นคัมภีร์ของการสร้างรากฐานการเป็นผู้นำและการตอบสนองต่อการสื่อสารกับคนในองค์กรและลูกค้า โดยเน้นเรื่องการยอมรับและเข้าใจมุมมองคนอื่น ละเอียดอ่อนต่อความรู้สึก ฟังผู้อื่นมากขึ้นกว่าตัวเอง ปรับเปลี่ยนวิธีการสื่อสาร และการปฏิบัติให้มีความสอดคล้องกันทั้งองค์กร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ปลายทาง คือ ความสำเร็จอย่างยั่งยืนขององค์กร

“ภาษาใหม่” กับปรากฏการณ์ขับเคลื่อนโลก

ตัวอย่างองค์กรชั้นนำระดับโลก ที่สะท้อนให้เห็นถึงบทพิสูจน์แห่งความสำเร็จอันแรงกล้าของ “ภาษาใหม่” อย่าง THE NEW LANGUAGE OF LEADERSHIP” ในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จ ภายใต้มุมมองอันเฉียบแหลมของ ไมเคิล เวนทูร่า ไม่ว่าจะเป็น

ภาพจาก Shutterstock

Delta Airlines – เดลต้า แอร์ไลน์

ที่ปรับภาพของการเป็นสปอนเซอร์ขององค์กรด้วยสะท้อนเสียงจากพนักงานภายในสู่ประชาชนภายนอก ซึ่งเดลต้าเชื่อมั่นว่าต้องการเป็นผู้ช่วยให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบายทุกการเดินทาง จึงได้จัดทำรายการพิเศษในรูปแบบวิดีโอคอนเทนต์ร่วมกับ TED.com ที่สอดคล้องกับความมุ่งมั่นขององค์กรไว้ฉายบนเครื่องบิน อีกทั้งยังจัดกิจกรรมเสวนาพิเศษ เพื่อให้เดลต้า มีภาพลักษณ์ของการเป็นแบรนด์ของคนฉลาดหรือคนรุ่นใหม่

ภาพจาก Shutterstock

The White House – เดอะ ไวท์ เฮาส์

นอกจากผลงานกับภาคเอกชนแล้ว ไมเคิล เวนทูร่า ยังได้สร้างผลงานให้กับทำเนียบขาวของสหรัฐอเมริกา กับการสร้างแรงกระเพื่อมให้กับแคมเปญด้านวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ ที่ริเริ่มโดย อดีตประธานาธิบดี บารัค โอบาม่า อย่าง “Every Kid in a Park” ที่เปิดโอกาสให้เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สามารถเข้าชมและเรียนรู้เกี่ยวกับพื้นที่ป่าและแหล่งน้ำของรัฐบาล เพื่อเป็นการจุดชนวนความหลงใหล ในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และจุดประกายความมุ่งมั่นที่จะรักษาสถานที่สำคัญเหล่านี้ให้อยู่ไปอีก ตราบนานเท่านาน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายโดยตรง คือ เด็ก หากแต่ไมเคิลมองเห็นว่า เรื่องราวเหล่านี้จะสร้าง impact ได้มากกว่านั้น ต้องขยายการรับรู้และสร้างการมีส่วนร่วมไปยังกลุ่มบุคลากรด้านการศึกษา ครอบครัวของเยาวชน อีกด้วย  โดยจัดทำระบบข้อมูล กลยุทธ์การรณรงค์ การทำเว็บไซต์ใหม่ รวมถึงวิดีโอในรูปแบบ VR ที่ดำเนินเรื่องโดยมีสตรีหมายเลขหนึ่ง “มิเชล โอบาม่า”

ภาพจาก Shutterstock

New Balance – นิว บาลานซ์

รองเท้า นิว บาลานซ์ กับโจทย์แรกแค่เพียงต้องการสร้างแบรนด์และดีไซน์ช้อปที่ Jacob Javits Center ในนิวยอร์ก หากแต่ไมเคิล มองเห็นความต้องการของแบรนด์ในมุมที่ลุ่มลึกยิ่งขึ้น ด้วยการสร้างแคมเปญ เพื่อโปรโมต นิว บาลานซ์ ให้เป็น top of mind ของนิวยอร์กเกอร์เรื่องการวิ่ง ในรูปแบบแคมเปญระยะยาว ซึ่งเน้นการสร้าง Running Community ให้กับนักวิ่ง และสร้างความเคลื่อนไหวของแบรนด์ผ่านช่องทางดิจิทัล  

ภาพจาก Shutterstock

NIKE – ไนกี้

ไนกี้ กับการนำเสนอรองเท้าวิ่งในตระกูล “Hyperfeel” ซึ่งกลุ่มเป้าหมายไม่ใช่แค่เพียงกลุ่มนักวิ่งอาชีพเท่านั้น หากแต่สามารถนำไปใส่ออกกำลัง วิ่ง เล่นเวท ฯลฯ  ไมเคิลจึงได้แนะนำให้ไนกี้จัดกิจกรรมพิเศษบนพื้นที่ ที่ออกแบบเป็นเขาวงกต โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนต้องถอดรองเท้าและสวมชุดหูฟัง เพื่อให้ระบบตรวจสอบคลื่นสมองที่มีความสัมพันธ์กับพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันไปในภาวะที่มืดสนิท ทั้งพื้นดิน พื้นหญ้า ยางมะตอย พื้นทรายที่เปียกน้ำ และอื่นๆ ทุกย่างก้าวที่เหยียบย่ำลงไป จะถูกเก็บข้อมูลในรูปแบบเรียลไทม์อีกด้วย  ซึ่งนอกจากไนกี้จะสามารถสร้างประสบการณ์ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้แล้ว ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะของรองเท้ารุ่นนี้ที่อัดแน่นด้วยเทคโนโลยี และความโดดเด่นในการออกแบบให้มีลักษณะสวมใส่กระชับเหมือนใส่ถุงเท้า ทำให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานได้มากที่สุด

ภาพจาก Shutterstock

GE – จีอี

เจเนอรัล อิเล็กทริก (GE) จากการเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมการผลิตระดับโลก (World’s biggest manufacturing company) สู่การเพิ่มบทบาทในฐานะผู้เล่นในสนามของนวัตกรรมและสร้างสรรค์กลุ่มคนที่มีศักยภาพใหม่ๆ (Innovations and Talent Recruitment)  GE มองเห็นพลวัตของกลุ่มเมกเกอร์ (Maker) โดยได้จัดกิจกรรมต่างๆ ที่เจาะกลุ่มไปยังกลุ่มคนเหล่านี้ อาทิ กิจกรรมเยี่ยมชมโรงงาน กิจกรรมชุมนุมทางความคิด การทำ Collaboration ต่างๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ มุมมอง ความคิด และไอเดีย ระหว่างกันแล้ว ยังเป็นการเพิ่มช่องทางให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ได้รู้จักและใกล้ชิดกับ GE มากยิ่งขึ้น กลายเป็นสังคมเมกเกอร์ที่มีความแข็งแกร่งและขยายวงกว้างมากขึ้น เป็นต้น

แล้วองค์กรไทยจะไปได้ไกลเท่า 5 ตัวอย่างนี้หรือไม่ อยู่ที่การเปิดใจ และรู้จักนำ “ภาษาใหม่” มาเป็นใบเบิกทางสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน

เตรียมพบกับ ปรากฏการณ์ครั้งใหม่ ที่จะติดอาวุธให้กับองค์กรของไทย ให้สามารถยืนหยัดทางธุรกิจและใช้ชีวิตให้รอดในสมรภูมิ Disruption ครั้งแรกกับการเปิดเผยเรื่องราวของ “ภาษาใหม่” และการปรากฏตัวอย่างเป็นทางการของ ไมเคิล เวนทูร่า ในประเทศไทย ในงาน “The New Language of Leadership” ซึ่งจัดโดย SEAC วันจันทร์ที่ 24 กันยายนนี้ ณ ศูนย์พัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารระดับสูง (SEAC) อาคารเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ (FYI Center) ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.seasiacenter.com/thenewlanguageofleadership/

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา