ตลาดโปรตีนทางเลือกคึกคักขึ้นเรื่อยๆ สตาร์ทอัพมากหน้าหลายตาผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาเสนอไอเดียโปรตีนแบบใหม่ไม่ว่าจะเป็น เนื้อจากพืช เนื้อเพาะเล็บ เนื้อจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ อาหารทะเลจากพืช อาหารทะเลเพาะแล็บ แต่ไอเดียล้ำๆ ที่มีให้เห็นล่าสุดก็คือ mycelium-based หรือโปรตีนจากรา
ส่วนใหญ่แล้วผู้เล่นในตลาดโปรตีนทางเลือกมากเลือกที่จะผลิตเนื้อแปรรูป เช่น เบอร์เกอร์ ไส้กรอก หรือเนื้อบด ข้นมาจากพืชอย่างถั่วลันเตา ถั่วเหลือง หรือข้าวสาลี
แต่สตาร์ทอัพสัญชาติอเมริกาอย่าง Atlast Food และ Meati Foods ไปไกลกว่านั้น เพราะพวกเขาโฟกัสไปที่การผลิตเนื้อทั้งก้อน (เช่น เนื้อสเต็กทั้งก้อน หรือ อกไก่) จาก Mycelium หรือเส้นใยรา ซึ่งนี่คือตลาดที่มีขนาดใหญ่มากแต่ยังไม่มีใครกล้าเข้าไปเล่นมากนัก
The secret is OUT.
Banh Meati has been a special at Salt Bistro in CO, as we test peoples' appetites for our Fungi-Based Steak! It's been getting gold ⭐'s, so we are letting the secret slip ?
Order Meati now before it runs out! ➡️ https://t.co/fnLgVSmTms pic.twitter.com/oazELpxmxy
— meati foods (@meatifoods) June 16, 2020
Stephen Lomnes ประธานของ Atlast Food กล่าวว่า “สิ่งที่สำคัญก็คือเราย้ำกับนักลงทุนของเราว่าพวกเราเข้าไปเล่นในเซกเมนต์ที่ถูกมองข้ามอย่างมากในตลาดโปรตีนทางเลือก นั่นคือการขายเนื้อทั้งก้อนซึ่งมีสัดส่วนเป็น 80% ของตลาดเนื้อทั้งหมด”
โปรตีนจากรา จะไปได้ไกลแค่ไหน?
การที่สตาร์ทอัพทั้ง 2 เพิ่งจะระดมทุนก้อนใหญ่ได้ก็ถือเป็นเรื่องดีสำหรับวงการโปรตีนทางเลือก และยังชี้ให้เห็นว่าในอนาคต การบริโภคเนื้อจากรามีความเป็นไปได้
ล่าสุด Atlast Food เพิ่งจะระดมทุนไปได้ถึง 40 ล้านดอลลาร์ (1.34 พันล้านบาท) ในรอบ Series A เมื่อต้นปี และมีแผนจะนำเงินจำนวนดังกล่าวมาสร้างโรงงานผลิตในนิวยอร์กเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า B2B และเพื่อขยายไลน์การผลิตสินค้าแบรนด์ MyEats ของตัวเอง
ส่วน Meati ก็เพิ่งจะระดมทุนได้ 28 ล้านดอลลาร์ (938 ล้านบาท) ในปีที่ผ่านมา โดยมีแผนจะยกระดับการผลิตให้ได้เกินล้านปอนด์ภายใน 1 ปี ข้างหน้า
อะไรคือ Mycelium กันแน่?
ถ้าพูดถึงสิ่งมีชีวิตอาณาจักรรา (fungi) สิ่งที่เราคุ้นเคยที่สุดก็น่าจะเป็นเห็ด แต่จริงๆ แล้ว Mycelium หรือราที่เป็นเส้นใยคล้ายโฟมก็คือเห็ดเช่นเดียวกัน เพียงแต่ทางบริษัทใช้วิธีเพาะที่แตกต่างออกไป ดังนั้น แทนที่เชื้อราจะเติบโตขึ้นมาเป็นรูปคล้ายโดมก็จะเติบโตเป็นลักษณะเส้นใยแทน
Eben Bayer ซีอีโอ Atalst Food ระบุว่า “เราออกแบบกระบวนการเพาะเลี้ยงเห็ดขึ้นมาใหม่โดยการสร้างถาดเพาะความยาว 100 ฟุต (30.48 เมตร) ดังนั้น เราก็จะได้ก้อนเนื้อจากราขนาด 100 ฟุต ก่อนที่เราจะตัดแบ่งออกมาให้มีลักษณะคล้ายเนื้อ เช่น เนื้อสามชั้นเป็นเส้น เป็นต้น”
เส้นใย Mycelium ที่ได้มีความหนาเพียง 30 ไมครอน ใกล้เคียงกับมัดกล้ามเนื้อในเนื้อวัว ดังนั้น จึงสามารถนำเส้นใยมาจัดเรียงให้มีช่องว่าง เนื้อสัมผัส ความแข็ง และลักษณะการจัดเรียงให้ใกล้เคียงกันได้
นอกจากนี้ เนื้อจากเส้นใยเห็ดยังมีกรดอะมิโน (หน่วยย่อยของโปรตีน) เหมือนเนื้อสัตว์ แถมยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ เหมือนพืช มันจึงเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการสูงที่สุดตัวหนึ่ง Tyler Huggins ซีอีโอ Meati ระบุ
Lomnes กล่าวว่า Atlast ใช้หัวเชื้อเห็ดนางรมซึ่งมีความปลอดภัยและปลูกในฟาร์มเห็ดแบบทั่วไป ดังนั้น โปรตีนที่ได้จึงมีโครงสร้างและโมเลกุลไม่ต่างจากเห็ดทั่วไป
Hello, Nice To Meat You! ?#plantbased #wholecuts #sustainablefood #cleanmeat #mycelium #ecovativedesign pic.twitter.com/ayRGgJBINY
— Atlast Food Co (@atlastfoodco) September 5, 2019
ถ้ามองในมุมของผู้บริโภค Mycelium หรือเส้นใยจากเห็ดเป็นสิ่งที่เรารู้จัก เข้าใจ และทานกันเป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่เหมือนการสกัดโปรตีนหรือการสร้างเนื้อจากจุลินทรีย์ที่ได้รับการตัดแต่งพันธุกรรมจึงสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคได้มากกว่า
- รู้จัก Plant-based Food ธุรกิจเนื้อไร้เนื้อที่มาแรงที่สุดในปี 2019
- ประมงเกินขนาด โลกร้อน ดันกระแส ปลาจากแล็บ และ Plant-based
- เนื้อวากิว จากเครื่องพิมพ์ 3D ไขมันแทรกลายหินอ่อน-รสละมุน
ที่มา – Food Navigator USA, TechCrunch
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา