ผลสำรวจปีที่ผ่านมา พบว่า พนักงานร้านอาหารราว 15% ลาออกจากงานและอีก 33% ก็วางแผนเตรียมจะลาออกเหมือนกัน
อย่างที่รู้กันดีว่าช่วงโควิดระบาดถือเป็นช่วงที่อุตสาหกรรมร้านอาหารเกิดวิกฤตอย่างหนักหน่วง ทั้งปัญหาถูกล็อคดาวน์จนทำมาหากินไม่ได้ ทั้งการปิดร้านอาหารยาวนานไปจนถึงการจำกัดที่นั่งสำหรับให้ทานอาหารในร้าน ล้วนส่งผลกระทบต่อรายได้ของธุรกิจทั้งสิ้น ขณะเดียวกันอัตราการลาออกของคนทำงานในร้านอาหารก็สูงกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย
ผลสำรวจจากพนักงานร้านอาหารราว 4,700 คนพบว่า ระดับการลาออกของพนักงานสูงกว่าช่วงก่อนโควิดระบาดด้วยซ้ำ การลาออกสำหรับพนักงานรายชั่วโมงสูงถึง 144% โดยเฉพาะกับร้านอาหารประเภท quick service restaurant ร้านอาหารที่ต้องบริการอย่างเร่งด่วนหรือร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด เมื่อเทียบกับปี 2019 หรือช่วงก่อนโควิดระบาดอยู่ที่ 135% อัตราการลาออกเพิ่มขึ้นเกือบ 10%
ขณะที่ร้านอาหารที่เป็นแบบ full service restaurant หรือร้านอาหารที่ให้บริการแบบเต็มรูปแบบนั้นมีอัตราการลาออกอยู่ที่ 106% ขณะที่ปี 2019 อยู่ที่ 102%
ผลสำรวจจาก Black Box Intelligence พบว่า พนักงานส่วนใหญ่ให้เหตุผลชัดเจนสำหรับการลาออกจากร้านอาหาร โดยกว่าครึ่งหรือในอัตรา 62% ลาออกเพราะทนรับมือกับอารมณ์ของลูกค้าไม่ไหว ขณะที่ 49% รายงานว่าได้รับการข่มเหงจากผู้จัดการ ข้อมูลยังระบุอีกว่า พนักงานลาออกจากอุตสาหกรรมร้านอาหารราว 15% ส่วนอีก 33% มีความคาดหวังว่าจะลาออกเหมือนกัน
ผลสำรวจพบว่า พนักงานที่ทำงานรายชั่วโมงเกือบ 14,000 ชั่วโมงจากวางแผนจะลาออกทั้งจากร้านอาหารและโรงแรมภายในปลายปี 58% การลาออกดังกล่าวอาจสั่นคลอนความหวังที่จะทำให้ธุรกิจฟื้นตัวได้ อัตราการลาออกดังกล่าวถือเป็นจำนวนที่สูงที่สุดที่เคยมีมาตลอดปี ขณะที่เจ้าของธุรกิจระบุว่า พวกเขาไม่รู้ว่าบางรายที่ลาออกอาจเป็นเพราะว่าไม่อยากทำงาน ขณะที่พนักงานระบุว่า พวกเขาอยากได้ผลตอบแทนและผลประโยชน์ที่ดีขึ้น ในขณะที่สถานการณ์ธุรกิจอุตสาหกรรมกำลังย่ำแย่ ความต้องการทั้งสองฝ่ายจึงไม่สอดคล้องกัน
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา